การสอบสวนการระบาดของวัณโรคปอดในโรงงานแปรรูปไม้ยางพารา หมู่ที่ 2 ตำบลนาท่ามเหนือ อำเภอเมือง จังหวัดตรัง วันที่ 31 สิงหาคม-7 กันยายน 2558
คำสำคัญ:
การระบาด, วัณโรค, โรงงานแปรรูปไม้, แรงงานต่างด้าว, ตรังบทคัดย่อ
วันที่ 31 สิงหาคม 2558 งานระบาดวิทยา กลุ่มงานเวชกรรมสังคมโรงพยาลศูนย์ตรัง ได้รับแจ้งจากคลินิกวัณโรคโรงพยาบาลศูนย์ตรังว่า มีผู้ป่วยวัณโรคจำนวน 3 ราย เป็นพนักงานของโรงงานแปรูปไม้ยางพาราสองแห่งที่ตั้งอยู่บริเวณเดียวกัน ทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว (SRRT) อำเภอเมืองตรัง และ รพ.สต.นาท่ามเหนือ จึงได้ดำเนินการสอบสวนและควบคุมโรคระหว่างวันที่ 31 สิงหาคม-7 กันยายน 2558 มีวัตถุประสงค์ เพื่อยืนยันการวินิจฉัยและการระบาดของโรค หาความเชื่อโยงทางระบาดวิทยา ค้นหาผู้ป่วยเพิ่มเติม และกำหนดมาตรการและดำเนินการควบคุมป้องกันโรค ศึกษโดยใช้ระบาดวิทยาเชิงพรรณนา ผลการสอบสวนโรคในปี พ.ศ. 2557-2558 พบผู้ป่วยที่มีอาการเข้าได้กับวัณโรคปอด 6 ราย ซึ่งเป็นคนงานของโรงงานทั้งสองแห่ง โดยโรงงานทั้งสองแห่งมีอัตราป่วยวัณโรคสูงกว่าอัตราป่วยเฉลี่ยของอำเภอมากมาหลายปีติดต่อกัน ผู้ป่วยทุกรายเป็นแรงงานต่างด้าวชาวเมียนมาร์ มีผู้ป่วย 1 รายของปี พ.ศ. 2557 ที่ อาจติดเชื้อมาจากผู้ป่วยที่เคยป่วยเป็นวัณโรคเมื่อปี พ.ศ. 2554 ที่ทำงานในแผนกเดียวกันผู้ป่วยรายอื่นๆ ไม่มีรายใดทำงานแผนก เดียวกันหรือใกล้กัน การค้นหาผู้ป่วยเพิ่มเติมจากผู้สัมผัสใกล้ชิด ด้ววิธีตรวจเสมหะ ถ่ายภาพรังสีทรวงอก และยืนยันผลด้วยการตรวจ เลือดหระดับสาร I N-gamma พบผู้ป่วยคนไทยอีก 2 รายที่น่าจะติดเชื้อมาจากคนในครอบครัวที่เคยป่วยเป็นวัณโรค แต่ยังไม่มีอาการ สรุป พบการระบาดของวัณโรคปอดในคนงานโรงงานแปรรูปไม้ทั้งสองแห่ง ติดตามให้ผู้ป่วยทุกรายเข้ารับการรักษาที่คลินิกวัณโรค โรงพยาบาลศูนย์ตรัง โดยมีเจ้าหน้าที่ของโรงงานเป็นผู้กำกับการกินยาตามระบบ DOT ให้สุขศึกษาแก่ผู้ป่วย เจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคล และผู้บริหารของโรงงาน เสนอแนะให้โรงงานมีระบบคัดกรองผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ที่เหมาะสมด้วยการสังเกตอาการ การถ่ายภาพรังสีทรวงอกก่อนที่จะรับเข้าทำงาน (pre-employment health check และการตรวจสุขภาพตามความเสี่ยงเป็นประจำอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง (Periodic health check)
References
สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. นิยามโรคติดเชื้อประเทศไทย 2546. พิมพ์ครั้งที่ 2. นนทบุรี: องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์; 2546. หน้า 75-7.
World Health Organization. Use of tuberculosis interferon-gamma release assay (IGRAs) in low - and middle - income countries, Policy Statement [Internet]; [62 screens]. 2011 [cited 2015 September 19]. Available from: http://www.who.int/tb/features_archive/policy_statement_igra_oct2011.pdf
QIAGEN. Frequently asked questions QuantiFERON TB Gold, Health Professionals [Internet]; [28 screens]. 2013 [cited 2015 September 20]. Available from: http://usa.quantiferon.com/irm/content/pdfs/FAQ_QFT_HCP-US_EN_1113_H_LR.pdf
World Health Organization. Global tuberculosis report 2014 [Internet]; [171 screens]. 2014 [cited 2015 September 18]. Available from: http://apps.who.int/iris/bitstream/10665/137094/1/9789241564809_eng.pdf
ศูนย์ข้อมูลโรคติดเชื้อและพาหะนำโรค กระทรวงสาธารณสุข. วัณโรค (อินเตอร์เน็ต). (เข้าถึงเมื่อ 18 กันยายน 25581. เข้าถึงได้จาก: http://webdb.dmsc.moph.go.th/ifc_nih/a_nih_1_001c.asp?info_id=745
Centers for Disease Control and Prevention. Latent Tuberculosis Infection: A Guide for Primary Health Care Providers [Internet]; [40 screens]. 2012 [cited 2015 September 20]. Available from: http://www.cdc.gov/tb/publications/tbi/pdf/targetedltbi.pdf
กองระบาดวิทยา สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. คู่มือการ ดำเนินงานทางระบาดวิทยา. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์, 2542.
TB elimination, Tuberculosis information for employers in non-healthcare settings [Internet]; [2 screens]. 2012 [cited 2015 September 20]. Available from: http://www.cdc.gov/tb/publications/factsheets/general/nonhealthcare_employers.pdf
Centers of Disease Control. Guide to the Application of Genotyping to Tuberculosis Prevention and Control [Internet]. 2012 [cited 2015 September 20]. Available from: http://www.cdc.gov/tb/programs/genotyping/
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2016 รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงพิมพ์กับ WESR ถือเป็นข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ใน WESR ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่ง ส่วนใดไปเผยแพร่ กรุณาอ้างอิงบทความนั้น ๆ