การระบาดของโรคอาหารเป็นพิษในคณะแพทย์ผู้เข้าอบรม ณ โรงแรมแห่งหนึ่ง เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร วันที่ 15 - 19 กรกฎาคม 2558

ผู้แต่ง

  • นุชรัตน์ อังสนันท์ ศูนย์บริการสาธารณสุข 22 วัดปากบ่อ กรุงเทพมหานคร
  • วิลาวัณย์ เกิดสมบูรณ์ ศูนย์บริการสาธารณสุข 22 วัดปากบ่อ กรุงเทพมหานคร
  • อรุณี ปโยราศิสกุล ศูนย์บริการสาธารณสุข 52 สามเสนนอก กรุงเทพมหานคร
  • วิไลลักษณ์ วชิรปัทมา ศูนย์บริการสาธารณสุข 52 สามเสนนอก กรุงเทพมหานคร
  • ปิยะธิดา พงษ์พันนา ศูนย์บริการสาธารณสุข 52 สามเสนนอก กรุงเทพมหานคร
  • โสภณ เอี่ยมศิริถาวร สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 13 กรุงเทพฯ กรมควบคุมโรค

คำสำคัญ:

ไวรัสโนโร, การระบาด, หอยนางรม, กรุงเทพมหานคร

บทคัดย่อ

ความเป็นมา: เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2558 ศูนย์บริการสาธารณสุข 22 วัดปากบ่อ สำนักอนามัย ได้รับแจ้งจากแพทย์ที่เข้ารับการอบรมหลักสูตรระยะสั้นว่ามีผู้ป่วยโรคอาหารเป็นพิษหลายรายในกลุ่มแพทย์ผู้เข้ารับการอบรมในโรงแรมแห่งหนึ่ง ในเขตดินแดง กรุงเทพมหานคร ทีมฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว ศูนย์บริการสาธารณสุข 22 วัดปากบ่อ ศูนย์บริการสาธารณสุข 52 สามเสนนอก ร่วมกับทีมสอบสวนส่วนกลาง เข้าดำเนินการสอบสวนโรคระหว่างวันที่ 20 กรกฎาคม-2 สิงหาคม 2558 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อยืนยัน การระบาดของโรค ค้นหาแหล่งโรค สาเหตุและปัจจัยเสี่ยงของการระบาด และให้คำแนะนำในการควบคุมป้องกันโรค
วิธีการศึกษา: ทำศึกษาระบาดวิทยาเชิงพรรณนา และเชิงวิเคราะห์ โดยกำหนดนิยามผู้ป่วย หมายถึง แพทย์ผู้เข้าอบรมในโรงแรม A ทุกคน ที่มีอาการใดอาการหนึ่งดังต่อไปนี้ ถ่ายเป็นน้ำ ถ่ายมีมูกเลือด ถ่ายเหลว ปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน หรืออาหารไม่ย่อย ระหว่างวันที่ 15- 19 กรกฎาคม 2558 เก็บตัวอย่างส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ และสำรวจสุขาภิบาลอาหารและสิ่งแวดล้อมในโรงแรม
ผลการศึกษา: พบผู้ป่วยตามนิยาม 25 ราย เป็นเพศชาย 17 ราย (ร้อยละ 68) มัธยฐานของอายุ 38.6 ปี (25-66 ปี) เส้นโค้งการระบาด พบเป็นแหล่งโรคร่วม อาการที่พบมากที่สุด คือ ปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน และถ่ายเหลว ตามลำดับ ตรวจพบเชื้อไวรัสโนโรในอุจจาระ ผู้ป่วย 2 ราย พบเชื้อ Salmonella group C 1 ราย พบเชื้อ Salmonella spp. ในอุจจาระของพ่อครัว 1 ราย และพบเชื้อแบคทีเรียโคลิฟอร์มในมือผู้ประกอบอาหาร 1 ราย ผลตรวจอุจจาระของผู้ป่วย 10 รายไม่พบเชื้อแบคทีเรียก่อโรคทางเดินอาหาร พบเชื้อ Staphylococcus aureus ในน้ำแข็งบด ผลการตรวจตัวอย่างอาหารและน้ำไม่พบเชื้อแบคทีเรียก่อโรคทางเดินอาหาร จากการศึกษา เชิงวิเคราะห์พบว่าการรับประทานหอยนางรมมีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคอาหารเป็นพิษอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
สรุปและข้อเสนอแนะ: การระบาดของโรคอาหารเป็นพิษในครั้งนี้น่าจะเกิดจากการติดเชื้อไวรัสโนโร ซึ่งสอดคล้องกับชนิดของอาหารที่สงสัยเป็นสาเหตุของการป่วย คือ หอยนางรม (adjusted OR = 5.49, 95%CI 1.08-27.98), p-value= 0.04 ร่วมกับตรวจพบมีการ ปนเปื้อนของเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งบ่งบอกถึงการสุขาภิบาลอาหารที่ไม่ดี ทีมสอบสวนโรคได้รณรงค์ให้ผู้ประกอบอาหารรักษาสุขอนามัยส่วนบุคคลด้วยการล้างมือบ่อยๆ เช็ดทำความสะอาดพื้นผิวด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อและซักผ้าด้วยน้ำร้อน เพื่อช่วยป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อ ไวรัสโนโรได้

References

อภิรดี เทียมบุญเลิศ, ทวีศักดิ์ เชี่ยวชาญศิลป์, ยง ภู่วรวรรณ. ท้องเสียจากไวรัส. วารสารกุมารเวชศาสตร์ 2555;9(3):85-92.

Laboratory of Food Microbiology. The study of norovirus stability and inactivation in the environment. Tokyo: Laboratory of Food Microbiology, Tokyo University of Marine Science and Technology [Internet]; 2011 [cited 2015 July 30]. Available from: http://www2.kaiyodai.ac.jp/-kimubo/English/research/torikumi/7.html#top

สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. นิยามโรคติดเชื้อ. พิมพ์ครั้งที่ 2. นนทบุรี: องค์การรับส่งสินค้า และพัสดุภัณฑ์; 2546.

ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 11.1. เชื้อแบคทีเรียก่อโรค ทางเดินอาหาร. ภูเก็ต: ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 11.1 กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์; 2558 [เข้าถึงเมื่อ 20 สิงหาคม 2558]. เข้าถึงได้จาก: http://dmsc.moph.go.th/dmsc/

สำนักโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. การป้องกันควบคุมและรักษาโรคอุจจาระร่วง. กรุงเทพฯ: โรง พิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย; 2551.

World Health Organization. WHO "Golden Rules" for Safe Food Preparation. Washington, DC: Regional Office of the World Health Organization [Internet]; 2015 [cited 2015 September 20]. Available from: http://www.paho.org/disasters/index.php?option=com_content&view=category&layout=blog&id=814

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-05-21

How to Cite

อังสนันท์ น., เกิดสมบูรณ์ ว., ปโยราศิสกุล อ., วชิรปัทมา ว., พงษ์พันนา ป., & เอี่ยมศิริถาวร โ. (2024). การระบาดของโรคอาหารเป็นพิษในคณะแพทย์ผู้เข้าอบรม ณ โรงแรมแห่งหนึ่ง เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร วันที่ 15 - 19 กรกฎาคม 2558. รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์, 47(S1), S16-S21. สืบค้น จาก https://he05.tci-thaijo.org/index.php/WESR/article/view/1951

ฉบับ

บท

บทความต้นฉบับ