การสอบสวนการระบาดของโรคไข้เดงกีและโรคไข้เลือดออกเดงกี ในหมู่ที่ 6 ตำบลจอมประทัด อำเภอวัดเพลง จังหวัดราชบุรี วันที่ 18-26 สิงหาคม 2558

ผู้แต่ง

  • ชวนนท์ อิ่มอาบ โรงพยาบาลวัดเพลง สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดราชบุรี
  • วัฒนชัย ปริกัมศีล โรงพยาบาลวัดเพลง สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดราชบุรี

คำสำคัญ:

ไข้เลือดออกเดงกี, ไข้เดงกี, การระบาด, ราชบุรี

บทคัดย่อ

ความเป็นมา: เมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2558 งานระบาดวิทยาของของโรงพยาบาลวัดเพลงได้รับแจ้งข้อมูลจากงานผู้ป่วยนอกของ โรงพยาบาลว่าพบผู้ป่วยโรคไข้เดงกี 2 ราย มาจากหมู่บ้านเดียวกัน งานระบาดวิทยา โรงพยาบาลวัดเพลงร่วมกับทีมสอบสวนโรค เคลื่อนที่เร็วโรงพยาบาลส่งเสริมตำบลบ้านปากสระ ดำเนินการสอบสวนโรคและควบคุมโรคระหว่างวันที่ 18-26 สิงหาคม 2558 เพื่อยืนยันการวินิจฉัยและยืนยันการระบาด เพื่อหาขอบเขตการระบาดและการกระจายของโรค และเพื่อควบคุมและป้องกันการระบาดในพื้นที่ต่อไป
วิธีการศึกษา: ศึกษาระบาดวิทยาเชิงพรรณนา โดยการสัมภาษณ์ผู้ป่วยและทบทวนเวชระเบียนของผู้ป่วย ค้นหาผู้ป่วยเพิ่มเติมในหมู่บ้าน โดยใช้นิยามที่กำหนดขึ้น ศึกษาสภาพแวดล้อมในบ้านผู้ป่วยและใกล้เคียง และในหมู่บ้าน และโรงเรียน รวมทั้งสำรวจลูกน้ำในหมู่บ้าน เก็บตัวอย่างเลือดส่งตรวจยืนยันทางห้องปฏิบัติการ
ผลการศึกษา: พบผู้ป่วยตามนิยามรวม 11 ราย ในหมู่ที่ 6 ตำบลจอมประทัด อำเภอวัดเพลง จังหวัดราชบุรีโดยเป็นไข้เดงกี 9 ราย และ ไข้เลือดออกเดงกี 2 ราย โดยผู้ป่วย 2 รายนี้ ไม่ได้เป็นผู้ป่วยรายแรกของหมู่บ้าน เมื่อศึกษาข้อมูลย้อนกลับไปสองสัปดาห์พบว่ามีผู้ป่วย อีก 3 ราย และติดตามไปอีกสองสัปดาห์พบผู้ป่วยเพิ่มขึ้นอีก 6 ราย โดยพบอาการทางคลินิกที่พบบ่อย ได้แก่ ไข้สูง รองมา คือ ปวดเมื่อยตัว เป็นเพศหญิง 9 ราย ชาย 2 ราย อัตราส่วนหญิงต่อชาย 4.5 : 1 มีอายุระหว่าง 4 ปีถึง 62 ปี มีอายุเฉลี่ยเท่ากับ 28.7 ปี อาชีพส่วนใหญ่ ได้แก่ นักเรียน 5 ราย (ร้อยละ 45.5 พบผู้ป่วยเริ่มป่วยตั้งแต่ปลายเดือนกรกฎาคม 2558 และเริ่มระบาดอย่างต่อเนื่อง ผู้ป่วยรายสุดท้าย วันที่ 26 สิงหาคม 2558 สิ่งแวดล้อมพบว่าคำดัชนีลูกน้ำยุงลายค่าดัชนีมีค่าสูงโดยเฉพาะค่า HI ผลการตรวจเลือดของผู้ป่วย 3 ราย ให้ผลบวกต่อ Dengue NS1 Antigen 1 ราย Dengue IgM 1 ราย และ Dengue IgG 1 ราย โดยวิธี Immunochromatography
สรุปและอภิปรายผล: พบการระบาดของไข้เดงกีและไข้เลือดออกเดงก็ในหมู่ 6 ตำบลจอมประทัด อำเภอวัดเพลงเนื่องจากได้รับข้อมูลราย แรกและสองล่าช้ ทำให้มีปัญหาการควบคุมโรคจึงเกิดการระบาดอย่างต่อเนื่องในละแวกชุมชนของหมู่บ้าน ดังนั้นจึงควรกระตุ้นให้ รายงานผู้ป่วยโดยใช้กลไกการรายงานเหตุการณ์โดยชาวบ้านหรืออาสาสมัครสาธารณสุขหมู่บ้าน เจ้าหน้าที่สาธารณสุขได้ประสานงานกับ องค์กรปกครองท้องถิ่นในการควบคุมโรคทำให้โรคสงบลงได้

References

สํานักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค. นิยามโรคติดเชื้อประเทศไทย ปี พ.ศ. 2546. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: องค์การรับส่งสินค้าและ พัสดุภัณฑ์; 2546.

สํานักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค. รายงานโรคในระบบเฝ้าระวังโรค DHF Total [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อวันที่ 1 กันยายน 2558]. เข้าถึงได้จาก: http://www.boe.moph.go.th/boe db/surdata/506wk/y58/d262766_3458.pdf

ศิริเพ็ญ กัลยาณรุจ, มุกดา หวังวีรวงศ์, วารุณี วัชรเสวี. แนว ทางการวินิจฉัยและรักษาโรคไข้เลือดออกเดงกี ฉบับเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษามหาราชินี. สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี กรมการแพทย์. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การ สงเคราะห์ทหารผ่านศึก; 2556.

กลุ่มงานควบคุมโรคและภัยสุขภาพ สํานักงานสาธารณสุข จังหวัดราชบุรี. รายงานสถานการณ์โรคไข้เลือดออกจังหวัดราชบุรี ประจําเดือนสิงหาคม: สํานักงานสาธารณสุขจังหวัด ราชบุรี; 2558.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-05-21

How to Cite

อิ่มอาบ ช., & ปริกัมศีล ว. (2024). การสอบสวนการระบาดของโรคไข้เดงกีและโรคไข้เลือดออกเดงกี ในหมู่ที่ 6 ตำบลจอมประทัด อำเภอวัดเพลง จังหวัดราชบุรี วันที่ 18-26 สิงหาคม 2558. รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์, 47(S1), S22-S26. สืบค้น จาก https://he05.tci-thaijo.org/index.php/WESR/article/view/1953

ฉบับ

บท

บทความต้นฉบับ