การสอบสวนโรคผู้ป่วยมือ เท้า ปาก เสียชีวิตและศึกษาประเมินความรู้ ทัศนคติและวิธีการปฏิบัติเกี่ยวกับการควบคุมป้องกันโรคมือเท้าปากในศูนย์เด็กเล็ก จังหวัดสุรินทร์ ปี พ.ศ. 2557

ผู้แต่ง

  • นริศ บุญธนภัทร โครงการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านเวชศาสตร์ป้องกัน แขนงระบาดวิทยา สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
  • ชุลีพร จิระพงษา ศูนย์ความร่วมมือไทย-สหรัฐอเมริกาด้านสาธารณสุข (TUC)
  • เจษฎา ธนกิจเจริญกุล โครงการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านเวชศาสตร์ป้องกัน แขนงระบาดวิทยา สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
  • วิศิษฐ์ วิญญรัตน์ สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
  • เทวพร จันนอก สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
  • จเด็ด ดียิ่ง โรงพยาบาลชุมพลบุรี จังหวัดสุรินทร์
  • จักรรัฐ พิทยาวงศ์อานนท์ สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
  • พจมาน ศิริอารยาภรณ์ สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข

คำสำคัญ:

เอนเทอโรไวรัส, โรคมือเท้าปาก, ศูนย์เด็กเล็ก, สถานรับเลี้ยงเด็ก, การสำรวจเคเอพี

บทคัดย่อ

สำนักระบาดวิทยา ได้รับรายงานจากสำนักงานสาธรณสุข จังหวัดสุรินทร์ เด็กชายอายุ 10 เดือน ป่วยเป็นโรคมือ เท้า ปาก และได้เสียชีวิตในวันที่ 10 กรกฎาคม 2557 จึงได้ออกสอบสวนโรคร่วมกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุรินทร์เพื่อยืนยันการวินิจฉัย หาสาเหตุการเสียชีวิต และเสนอแนะแนวทางการป้องกัน ทั้งนี้ได้ ทำการศึกษาและประเมินความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติเกี่ยวกับการควบคุมป้องกันโรคมือ เท้า ปากในศูนย์เด็กเล็ก (KAP) ในจังหวัดสุรินทร์ โดยศึกษาพรรณนาทบทวนเวชระเบียน สัมภาษณ์บุคลากรทางการแพทย์ที่เกี่ยวข้องและสมาชิกในครอบครัวผู้เสียชีวิต ค้นหาผู้ป่วยเพิ่มเติมในชุมชนเดียวกับผู้ป่วย โดยใช้นิยามผู้ป่วยสงสัย คือ เด็กที่มีอายุน้อยกว่าหรือเท่ากับ 5 ปี มีตุ่มอักเสบในปากหรือตุ่มแดงที่บริเวณฝ่ามือ ฝ่าเท้าหรือบริเวณก้น ตั้งแต่วันที่ 1-19 กรกฎาคม 2557 ทีมสำรวจได้ทำการตรวจเพาะ เชื้อไวรัสจากลำคอและอุจจาระของคนในบ้านผู้สัมผัสและเด็กใน ศูนย์เด็กเล็ก 2 แห่งที่อยู่ในพื้นที่ละแวกชุมชนผู้ป่วยเพื่อหาเชื้อเอน เทอโรไวรัส รวมถึงสำรวจสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ทีมสำรวจยังได้ทำการศึกษา KAP โดยใช้แบบสอบถามแบบตอบเอง ส่งให้แก่ครูในศูนย์เด็กเล็กทุกแห่ง แห่งละ 1 ชุด จากการศึกษาพบผู้ป่วยรายนี้ เข้าข่ายผู้ป่วยสงสัยเสียชีวิตจากโรคมือ เท้า ปาก โดยตรวจไม่พบ เชื้อเอนเทอโรไวรัสจากเลือด อุจจาระและน้ำไขสันหลัง พบเชื้อเอนเทอโรไวรัสในผู้สัมผัสในชุมชน 2 รายจากทั้งหมด 32 ราย และพบผู้ที่เป็นพาหะของเอนเทอโรไวรัสในศูนย์เด็กเล็ก A ร้อยละ 19 และในศูนย์เด็กเล็ก B ร้อยละ 44 จากการประเมินความรู้พบ มีความเข้าใจผิดว่าแอลกอฮอล์สามารถฆ่าเชื้อโรคมือ เท้า ปากได้ ร้อยละ 78 คัดกรองโรคมือ เท้า ปาก โดยไม่ใช้ไฟฉาย ร้อยละ 49 และไม่มีพื้นที่สำหรับแยกเด็กป่วย ร้อยละ 56

References

Heymann DL, Editor. Control of Communicable Diseases Manual 19th Edition. American Association of Public Health. 2008.

Chang LY, Tsao KC, Hsia SH, Shih SR, Huang CG, Chan WK, et al. Transmission and Clinical Features of Enterovirus 71 Infections in Household Contact in Taiwan. JAMA. 2004; 291(2): 222-7.

Chen KT, et al. Epidemiologic features of hand-foot- mouth disease and herpangina caused by enterovirus71 in Taiwan, 1998-2005. Pediatrics, 2007; 120(2):e244-52.

สมคิด คงอยู่. สถานการณโรคมือ เท้า ปาก ประเทศไทย ในรอบ 10 ปี (พ.ศ. 2546-2556) และการพยากรณ์โรคในปี 2557. เอกสารสำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค; 2557.

กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย มาตรฐานการศึกษา (ขั้นพัฒนา) ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กของ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและแบบกรอกผลการประเมิน มาตรฐานการศึกษา; 2556.

John W. Best, Research in Education. Englewood Cliffs New Jersy: Prent6 ice Hall Inc.; 1970. p 204-8.

สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค. แนวทางเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมการระบาดของโรคมือ เท้า ปาก สำหรับศูนย์เด็กเล็ก สถานรับเลี้ยงเด็กและสถานศึกษา. นนทบุรี: กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข; 2554.

พัชรินทร์ ตันติวรวิทย์และคณะ. การสอบสวนผู้ป่วยเด็กสมอง อักเสบเสียชีวิตจากเชื้อเอนเตอโรไวรัส 71 จังหวัดลพบุรี ประเทศไทย เดือนสิงหาคม - กันยายน 2554. รายงานการเฝ้า ระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์ 2551; 44: 289-97.

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือการป้องกันควบคุม โรคติดต่ออุบัติใหม่. กรุงเทพมหานคร; 2551: 319 หน้า.

Amy C. Chang. Enterovirus Knowledge and Hand washing Practices among Nurses in a Hospital in Taipei, Taiwan. Taiwan Epidemiology Bulletin 2011; 27: 81-91.

Viet Nam Red Cross. Viet Nam: Hand, foot and mouth disease. Emergency appeal operation; 2012. 20 p.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-05-23

How to Cite

บุญธนภัทร น., จิระพงษา ช., ธนกิจเจริญกุล เ., วิญญรัตน์ ว., จันนอก เ., ดียิ่ง จ., พิทยาวงศ์อานนท์ จ., & ศิริอารยาภรณ์ พ. (2024). การสอบสวนโรคผู้ป่วยมือ เท้า ปาก เสียชีวิตและศึกษาประเมินความรู้ ทัศนคติและวิธีการปฏิบัติเกี่ยวกับการควบคุมป้องกันโรคมือเท้าปากในศูนย์เด็กเล็ก จังหวัดสุรินทร์ ปี พ.ศ. 2557. รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์, 47(4), 49–56. สืบค้น จาก https://he05.tci-thaijo.org/index.php/WESR/article/view/1980

ฉบับ

บท

บทความต้นฉบับ