การดำเนินการตามรูปแบบการสร้างพื้นที่ปลอดโรคพิษสุนัขบ้า ในพื้นที่ท่องเที่ยวระหว่างชายแดนจังหวัดหนองคาย กับนครหลวงเวียงจันทน์ ปีงบประมาณ 2558

ผู้แต่ง

  • สุรชัย กิจติกาล สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดหนองคาย จังหวัดหนองคาย
  • ทภณ เตียวศิริชัยสกุล สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดหนองคาย จังหวัดหนองคาย
  • วรธิดา แสงรัตน์ สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดหนองคาย
  • Chantalay SayaWong แขนงระบาดวิทยา แผนกสาธารณสุข นครหลวงเวียงจันทน์

คำสำคัญ:

เขตพื้นที่ปลอดโรคพิษสุนัขบ้า, จังหวัดหนองคาย, นครหลวงเวียงจันทน์, สุขภาพหนึ่งเดียว

บทคัดย่อ

หนองคายเป็นจังหวัดชายแดนที่มีความสำคัญแห่งหนึ่งมีจุดเชื่อมโยงติดต่อกับประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เป็นพื้นที่ที่มีการค้าขายแลกเปลี่ยนสินค้ากับประเทศเพื่อนบ้าน เป็นเมืองท่องเที่ยวที่มีผู้นิยมเดินทางมาตลอดทั้งปี จังหวัดหนองคายและนครหลวงเวียงจันทน์มีความเห็นร่วมกันที่จะทำให้พื้นที่ดังกล่าวปลอดจากโรคพิษสุนัขบ้า ตามที่ประเทศกลุ่มอาเซียนมีเป้าหมายร่วมกันว่าจะปราศจากโรคพิษสุนัขบ้าในปี ค.ศ. 2020 (พ.ศ. 2563) จังหวัดหนองคายจึงมีโครงการที่จะดำเนินการล่วงหน้า เพื่อเป็นต้นแบบให้นครหลวงเวียงจันทน์ไปดำเนินการต่อตามนโยบายของกรมควบคุมโรค กรมปศุสัตว์ และกรมการ ปกครองส่วนท้องถิ่น มีวัตถุประสงค์เพื่อสรุปผลการดำเนินการ สร้างพื้นที่เขตปลอดโรคพิษสุนัขบ้าในพื้นที่ท่องเที่ยว 5 ชุมชน ในอำเภอเมืองหนองคาย เพื่อเป็นแนวทางในการขยายพื้นที่ให้ครอบคลุมทั้งจังหวัดและนครหลวงเวียงจันทน์ดำเนินการในช่วง เดือนกรกฎาคม-กันยายน 2558 โดยให้อาสาสมัครสาธารณสุขสำรวจประชากรสุนัขและแมว จากนั้นปศุสัตว์จังหวัดร่วมกับและท้องถิ่นจังหวัดหนองคาย ทำการให้วัคซีนในสัตว์หลังจากได้ข้อมูลจากการสำรวจแล้ว ผลการศึกษา พบว่าประชากรในชุมชน 5 แห่งของเทศบาลเมืองหนองคาย ได้ทราบประโยชน์ของโครงการนี้จากหอกระจายข่าว วิทยุชุมชน และการเยี่ยมบ้านของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน การสำรวจจำนวนสัตวํเลี้ยง พบว่ามี ประชากรสุนัข 295 ตัว เป็นสุนัขจรจัด 14 ตัว ร้อยละ 4.74 ประชากร แมว 184 ตัว ไม่มีเจ้าของ 38 ตัว ร้อยละ 20.65 ทำการฉีดวัคซีน ในสุนัข 121 ตัว ร้อยละ 41.01 แมว 7 ตัว ร้อยละ 3.08 ซึ่งต่ำกว่าเกณฑ์เป้าหมายที่องค์การอนามัยโลกได้กำหนดให้ว่าต้องมีการฉีด วัคซีนในสัตว์ให้ครอบคลุมร้อยละ 80 เพื่อเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันโรคพิษสุนัขบ้าในสัตว์ และจากการเฝ้าระวังโรคพิษสุนัขบ้าในคน และสัตว์ที่สงสัยว่าจะมีเชื้อพิษสุนัขบ้าในช่วงเวลาศึกษา ไม่พบทั้งในคนและสัตว์ อาจเนื่องมาจากระยะเวลาการเฝ้าระวังดังกล่าวนี้ อยู่ในช่วงเวลาเพียงสั้น ๆ จำเป็นต้องมีการดำเนินการต่อไป เพื่อให้ทราบผลที่แม่นยำยิ่งขึ้น

References

สำนักโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือปฏิบัติการสร้างพื้นที่ปลอดโรคพิษสุนัขบ้า. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนดีไซน์ ประเทศไทย, 2556.

สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬา จังหวัดหนองคาย. ข้อมูลสถิติ นักท่องเที่ยว [ออนไลน์] 2558. [เข้าถึงเมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2558]. เข้าถึงได้จาก http://www.mots.go.th/nongkhai/more_news.php?cid=11

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดหนองคาย กระทรวงสาธารณสุข. สรุปผลการดำเนินงานประจำปีงบประมาณ 2555. หนองคาย: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดหนองคาย; 2555.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-05-23

How to Cite

กิจติกาล ส., เตียวศิริชัยสกุล ท., แสงรัตน์ ว., & SayaWong, C. (2024). การดำเนินการตามรูปแบบการสร้างพื้นที่ปลอดโรคพิษสุนัขบ้า ในพื้นที่ท่องเที่ยวระหว่างชายแดนจังหวัดหนองคาย กับนครหลวงเวียงจันทน์ ปีงบประมาณ 2558. รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์, 47(5), 65–70. สืบค้น จาก https://he05.tci-thaijo.org/index.php/WESR/article/view/1981

ฉบับ

บท

บทความต้นฉบับ