การระบาดของโรคอาหารเป็นพิษสาเหตุจากเชื้ออหิวาร์เทียมในอาหารกุ้งนึ่งเกลือ ในอำเภอแก้งคร้อ จังหวัดชัยภูมิ วันที่ 25-27 พฤศจิกายน 2557
คำสำคัญ:
อาหารเป็นพิษ, เชื้ออหิวาร์เทียม, กุ้งนึ่งเกลือ, ชัยภูมิ, ประเทศไทยบทคัดย่อ
ความเป็นมา: เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2557 สำนักระบาดวิทยาได้รับแจ้งจากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชัยภูมิว่า พบกลุ่มก้อนผู้ป่วยโรคอาหารเป็นพิษ เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลแก้งคร้อ จังหวัดชัยภูมิ ทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็วร่วมกันดำเนินการสอบสวนและควบคุมโรค โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อยืนยันการวินิจฉัย ค้นหาสาเหตุ แหล่งที่มา และวางแนวทางในการควบคุมและป้องกันโรค
วิธีการศึกษา: ทำการศึกษาระบาดวิทยาเชิงพรรณนา เก็บข้อมูล ทั่วไป อาการ อาการแสดง การรับประทานน้ำและอาหาร โดยใช้แบบสัมภาษณ์เชิงโครงสร้าง ทำกรศึกษาแบบ case-control study เพื่อหาปัจจัยเสี่ยง ทำการศึกษาสิ่งแวดล้อม พร้อมกับเก็บตัวอย่างจากผู้ประกอบอาหาร อาหาร วัตถุดิบ และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องส่งตรวจเพาะเชื้อ และตรวจ Pulse Field Gel Electrophoresis (PFGE) เพื่อหาความเชื่อมโยงระหว่างผู้ป่วย อาหาร และผู้ประกอบอาหาร
ผลการศึกษา: พบผู้ป่วย 99 ราย (อัตราป่วย 13.5 ต่อประชากร หมื่นคน) อาการสำคัญ คือ ถ่ายเหลว (ร้อยละ 95) และปวดท้อง (ร้อยละ 80) ค่ามัธยฐานระยะฟักตัวของโรคเท่ากับ 7 ชม. (พิสัย 1-36 ชม.) ผลการศึกษาระบาดวิทยาเชิงวิเคราะห์พบปัจจัยที่เสี่ยงต่อการเกิดโรค คือ การรับประทานกุ้งนึ่งเกลือ (Adjusted OR = 37.83, 95%CI = 14.48-98.86 และพบความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณกุ้งนึ่งเกลือที่รับประทานกับการเกิดโรค (p-value<0.001)
สรุปและอภิปรายผล: จากผลการสอบสวนการระบาดในครั้งนี้เกิดจากเชื้อ Vibrio parahaemolyticus ที่ปนเปื้อนกุ้งนึ่งเกลือ โดย PFGE มีเชื่อมโยงระหว่างผู้ป่วยและอาหาร การทำอาหารที่สุกไม่เพียงพอ และการใช้อุปกรณ์ระหว่างอาหารดิบและสุกเป็นปัจจัยให้เกิดการระบาด เพื่อการป้องกันโรคที่เหมาะสมในอนาคตควรมีการเน้นย้ำให้ประชาชนและผู้ประกอบอาหารทำสุกให้เพียงพอ และทำสุกซ้ำก่อนการรับประทานทุกครั้ง
References
สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. สรุปรายงานการเฝ้าระวังโรคประจำปี 2556. กรุงเทพฯ: ชุมนุม สหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย; 2557.
จิรนันท์ ใจบุญ, จิดาภา อยู่พันธ์ และสันติสิทธิ์ เขียวเงิน. การ ระบาดของโรคอาหารเป็นพิษในโรงเรียนอนุบาลแห่งหนึ่ง ใน อำเภอบางมูลนาก เดือนตุลาคม 2550. รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์ 2551; 39(9): 148-50.
พงศักดิ์ เสือมาก, สัญญา ปันพรม, จิราภา แย้มแสง และ อมรรัตน์ หีมทอง. การสอบสวนโรคออาหารเป็นพิษจากเชื้อ Vibrio parahaemolyticus วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุราษฎร์ธานี เดือนสิงหาคม 2550. รายงานการเฝ้าระวังทาง ระบาดวิทยาประจำสัปดาห์ 2552; 25: 413-7.
อุไร ภูนวกุล, รัฏาวัลย์ เจียรนัยวงษ์กุล. การสอบสวนการระบาดของโรคอาหารเป็นพิษจากเชื้อ Vibrio parahae- molyticus ในบุคลากรที่เข้าร่วมประชุมจัดทำแผนยุทธศาสตร์ของโรงพยาบาล. วารสารศูนย์การศึกษาแพทยศาสตร์คลินิก โรงพยาบาลพระปกเกล้า 2555; 29: 72-81.
สุรินทร์ สืบอึ้ง และอัญชลี มงกุฎทอง. รายงานการสอบสวนโรค อาหารเป็นพิษในพนักงานโรงงานภายหลังรับประทานอาหารในงานเลี้ยงประจำปี อ.ศรีมหาโพธิ์ จ.ปราจีนบุรี ระหว่างวันที่ 17 - 19 ธันวาคม 2550. รายงานการเฝ้าระวังทางระบาด วิทยาประจำสัปดาห์ 2551; 39(3S): S61-3.
Center for Disease Control and Prevention. Vibrio illness (Vibriosis) [Internet]. Georgia: Center for Disease Control and Prevention. [updated 2013 Oct 21; cited 2015 Jun 1]. Available from: http://www.cdc.gov/vibrio/vibriop.html.
Heyman David, Control of communicable diseases manual. 18th edition. Washington DC. American Public Health Association; 2004: 123-5, 508-12.
ชัยวุฒิ สุดทองคง, ธิดาพร ฉวีภักดิ์, ลิลา เรือนแป้น. ปรสิต และปริมาณแบคทีเรีย Vibrio spp. ในกุ้งขาวแวนนาไม, Penaeus vannamei ที่เลี้ยงในบ่อดิน. การประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 45: สาขาประมง; 30 มกราคม - 2 กุมภาพันธ์ 2550; กรุงเทพฯ, ประเทศไทย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์; 2550. หน้า 280-92.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2016 รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงพิมพ์กับ WESR ถือเป็นข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ใน WESR ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่ง ส่วนใดไปเผยแพร่ กรุณาอ้างอิงบทความนั้น ๆ