การประเมินระบบเฝ้าระวังการบาดเจ็บ (IS) และระบบเฝ้าระวังการบาดเจ็บ 19 สาเหตุ จากแฟ้มมาตรฐานข้อมูลด้านสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข
คำสำคัญ:
การประเมิน, ระบบเฝ้าระวังการบาดเจ็บ, แฟ้มมาตรฐานข้อมูลด้านสุขภาพบทคัดย่อ
ความเป็นมา: สำนักระบาดวิทยาได้ดำเนินการประเมินระบบเฝ้าระวังการบาดเจ็บ (Is) และระบบเฝ้าระวังการบาดเจ็บ 19 สาเหตุ จากแฟ้มมาตรฐานข้อมูลด้านสุขภาพ เพื่อให้ทราบคุณภาพของข้อมูล การใช้ประโยชน์ของข้อมูล ปัญหา อุปสรรคการดำเนินงาน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินคุณภาพข้อมูลระบบเฝ้าระวังการ บาดเจ็บระดับจังหวัด (โรงพยาบาลศูนย์) และระบบเฝ้าระวังการบาดเจ็บ 19 สาเหตุ ระดับโรงพยาบาลชุมชน ทั้งด้านความครอบคลุม การรายงาน ความครบถ้วน ถูกต้อง รายตัวแปร และทันเวลา เพื่อจะได้นำข้อมูลที่ได้มาปรับปรุงแก้ไขให้มีประสิทธิภาพต่อไป
วิธีการศึกษา: การประเมินระบบเฝ้าระวังการบาดเจ็บ (IS) ของโรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราชใช้ข้อมูลย้อนหลังระหว่างวันที่ 9 พฤศจิกายน 2557-8 กุมภาพันธ์ 2558 และระบบเฝ้าระวังการบาดเจ็บ 19 สาเหตุ จากแฟ้มมาตรฐานข้อมูลด้านสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข ของโรงพยาบาลชุมชน 3 แห่ง ใช้ข้อมูลย้อนหลังระหว่าง วันที่ 1 ตุลาคม-31 ธันวาคม 2557
ผลการศึกษา: ระบบเฝ้าระวังการบาดเจ็บโรงพยาบาลมหาราช นครศรีธรรมราช มีความครอบคลุมของรายงานผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตมากกว่าในฐานข้อมูลโรงพยาบาล เนื่องจากกรณีที่ผู้ป่วยเป็นโรคทางอายุกรรมร่วมกับการบาดเจ็บ ในฐานข้อมูลของโรงพยาบาลรายงาน เฉพาะโรคทางอายุรกรรมไม่รายงานการบาดเจ็บที่เป็นโรคร่วม ความทันเวลาการบันทึกข้อมูลลงโปรแกรม IS ร้อยละ 98.8 ความครบถ้วนของการกรอกแบบบันทึก เร ร้อยละ 96.1-100 ความถูกต้องของการ กรอกแบบบันทึก IS ตรวจสอบ 22 ตัวแปร ถูกต้องระหว่างร้อยละ 88.9-100 ความครบถ้วนการให้รหัส ICD-10 ร้อยละ 94.5-100 ความถูกต้องการให้รหัสร้อยละ 91.2-100 ความครบถ้วนการบันทึกข้อมูลลงโปรแกรมร้อยละ 96.7-100 ความถูกต้องของการ key in ถูกต้องร้อยละ 94-100 ระบบเฝ้าระวังการบาดเจ็บ 19 สาเหตุ จากโรงพยาบาล 3 แห่ง ความครอบคลุมของรายงานแฟ้มข้อมูลการ วินิจฉัยโรค (Diag) ของโรงพยาบาล ร้อยละ 85.5 แฟ้มอุบัติเหตุ (Accident) ร้อยละ 45.6 ความครอบคลุมของรายงาน แฟ้ม Diag ที่ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด ร้อยละ 64 แฟ้ม Accident ร้อยละ 31.6 ความทันเวลาในการส่งข้อมูลเดือนพฤศจิกายนและธันวาคม โรงพยาบาลส่งข้อมูลทันเวลาร้อยละ 66.66
References
สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. เกณฑ์มาตรฐานของโรงพยาบาลที่เป็นแหล่งข้อมูล (sentinel sites) และโรงพยาบาลตัวอย่าง (mode!) ของระบบเฝ้าระวังการบาดเจ็บระดับจังหวัด. (เอกสารอัดสำเนา)
ธนรักษ์ ผลิพัฒน์. แนวทางการประเมินระบบเฝ้าระวังทางสาธารณสุข. พิมพ์ครั้ง 3 นนทบุรี: สำนักระบาดวิทยา กรม ควบคุมโรค; 2551.
สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข และโรงพยาบาลเครือข่ายเฝ้าระวังการบาดเจ็บระดับจังหวัด. คู่มือ การใช้แบบบันทึกข้อมูลเฝ้าระวังการบาดเจ็บระดับจังหวัด. นนทบุรี: สำนักระบาดวิทยา; 2551.
สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข และโรงพยาบาลเครือข่ายเฝ้าระวังการบาดเจ็บระดับจังหวัด. คู่มือ การประเมินระบบเฝ้าระวังการบาดเจ็บระดับชาติ 2558. นนทบุรี: สำนักระบาดวิทยา; 2557.
สำนักระบาดวิทยา. รายงานผลการนิเทศงานระบบเฝ้าระวังการบาดเจ็บโรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช วันที่ 12 - 13 มิถุนายน 2557. (เอกสารอัดสำเนา)
สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวง สาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือการปฏิบัติงานการจัดเก็บและจัดส่งข้อมูลตามโครงสร้างมาตรฐานข้อมูลด้านสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข Version 2.1 (มกราคม 2559) ปีงบประมาณ 2559. พิมพ์ครั้งที่ 1 กุมภาพันธ์ 2559. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วน เอสพี ก้อปปี้ปริ้น; 2559.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2016 รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงพิมพ์กับ WESR ถือเป็นข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ใน WESR ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่ง ส่วนใดไปเผยแพร่ กรุณาอ้างอิงบทความนั้น ๆ