ข้อมูลทางการแพทย์และสุขภาพ (43 แฟ้ม) สะท้อนสถานการณ์โรคไม่ติดต่อได้ดีเพียงใด: กรณีศึกษาการเฝ้าระวังโรคหลอดเลือดสมองใน 8 จังหวัด ประเทศไทย ปี พ.ศ. 2557

ผู้แต่ง

  • ดารินทร์ อารีย์โชคชัย ศูนย์สารสนเทศทางระบาดวิทยาและการพยากรณ์โรค สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
  • สมาน สยุมภูรุจินันท์ ศูนย์สารสนเทศทางระบาดวิทยาและการพยากรณ์โรค สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
  • สิริวัฒ แสงวันลอย ศูนย์สารสนเทศทางระบาดวิทยาและการพยากรณ์โรค สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข

คำสำคัญ:

โรคหลอดเลือดสมอง, เฝ้าระวัง, ความเป็นตัวแทน

บทคัดย่อ

โรคหลอดเลือดสมองเป็นสาเหตุการตายอันดับที่สามของ ประชากรไทย สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ได้พัฒนาระบบข้อมูลทางการแพทย์และสุขภาพ (43 แฟ้ม) ที่มีชุดข้อมูลโรคเรื้อรัง รวมทั้งโรคหลอดเลือดสมองรวมอยู่ด้วย ซึ่งสำนักระบาดวิทยาได้นำมาจัดทำเป็นข้อมูลเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาโรคไม่ติดต่อตั้งแต่ปี พ.ศ. 2555 เป็นต้นมา การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความเป็นตัวแทนของข้อมูล 43 แฟ้มต่อสถานการณ์โรคหลอดเลือดสมอง และเปรียบเทียบจำนวนผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่ได้รับรายงาน จาก 43 แฟ้มกับจำนวนผู้ป่วยที่ถูกวินิจฉัยในโรงพยาบาล โดยทำการศึกษาระบาดวิทยาเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวางใน 8 จังหวัด เปรียบเทียบสัดส่วนของตัวแปรเพศ กลุ่มอายุ และโรคร่วมระหว่างข้อมูลสองแหล่งโดยใช้ Chi-square test และหาอัตราส่วนของจำนวนผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่ได้รับรายงานจาก 43 แฟ้มต่อ จำนวนผู้ป่วยที่ถูกวินิจฉัยในโรงพยาบาล ผลการศึกษาพบว่าจำนวน ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในภาพรวมจากชุดข้อมูล 43 แฟ้ม เทียบกับจำนวนผู้ป่วยที่พบจากฐานข้อมูลของโรงพยาบาลเป็นอัตราส่วน เท่ากับ 0.48 ต่อ 1 อย่างไรก็ตามข้อมูล 43 แฟ้มมีความเป็นตัวแทน ของผู้ป่วยที่มารับการรักษาที่โรงพยาบาลในแง่การกระจายของผู้ป่วย ตามอายุและเพศ โดยมีอายุเฉลี่ยของผู้ป่วย รวมทั้งร้อยละของเพศ ชายที่ใกล้เคียงกันมากระหว่างข้อมูลจากสองแหล่ง เมื่อพิจารณาชนิดของโรคหลอดเลือดสมองและโรคร่วม พบว่า 43 แฟ้มยังไม่สามารถเป็นตัวแทนที่ดีของสถานการณ์โรคได้ เนื่องจากใน 43 แฟ้มมีสัดส่วน ของโรคหลอดเลือดสมองไม่ระบุชนิด สูงถึงร้อยละ 71.6 ขณะที่พบว่า ไม่ระบุชนิดในการสำรวจเวชระเบียนเพียงร้อยละ 40 และสัดส่วนของภาวะไขมันในเลือดสูงมีการระบุไว้น้อยมากในชุดข้อมูล 43 แฟ้ม เพียงร้อยละ 0.2 ในขณะที่การสำรวจเวชระเบียนพบว่าผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองมีภาวะไขมันในเลือดผิดปกติร่วมถึงร้อยละ 29.5 การใช้ชุดข้อมูล 43 แฟ้ม ในการเฝ้าระวังโรคหลอดเลือดสมองยังคงต้องการการพัฒนาในด้านการบันทึกข้อมูลรหัสการวินิจฉัยโรคให้ละเอียดถูกต้องและเป็นปัจจุบัน รวมทั้งการบันทึกโรคร่วมและภาวะแทรกซ้อนให้ครบถ้วน เพื่อให้ข้อมูลจาก 43 แฟ้มสามารถ สะท้อนสถานการณ์ของโรคหลอดเลือดสมองได้ดียิ่งขึ้น

References

Prasad K, Vibha D, Meenakshi. Cerebrovascular disease in South Asia-Part 1: A burning problem. JRSM Cardiovascular Disease. 2012;1(7):1-7.

World Health Organization. Global status report on non-communicable diseases 2014. [cited 2015 Oct 9]. Available from http://apps.who.int/iris/bitstream/10665/148114/1/9789241564854_eng.pdf

Bureau of Non-communicable Diseases, Department of Disease Control, Ministry of Public Health, Thailand. Annual report 2015. [cited 2015 Nov 23]. Available from http://thaincd.com/document/file/download/paper-manuaV/Annual-report-2015.pdf.

สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค. คลังข้อมูลโรคไม่ติดต่อและ การบาดเจ็บ. [สืบค้นวันที่ 23 พฤศจิกายน 2559]. เข้าถึงได้จาก http://thaincd.com/information-statistic/non-communicable-disease-data.php.

สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวง สาธารณสุข. คู่มือการปฏิบัติงานการจัดเก็บและจัดส่งข้อมูล ตามโครงสร้างมาตรฐานข้อมูลด้านสุขภาพ กระทรวง สาธารณสุข. ตุลาคม 2557 [สืบค้นวันที่ 10 สิงหาคม 2559]. เข้าถึงได้จาก http://healthcaredata.moph.go.th/main/index.php

อมรา ทองหงษ์, กมลชนก เทพสิทธา. โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง. สรุป ร้ายงานการเฝ้าระวังโรค ประจำปี 2555. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด; กรกฎาคม 2556.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-05-26

How to Cite

อารีย์โชคชัย ด., สยุมภูรุจินันท์ ส., & แสงวันลอย ส. (2024). ข้อมูลทางการแพทย์และสุขภาพ (43 แฟ้ม) สะท้อนสถานการณ์โรคไม่ติดต่อได้ดีเพียงใด: กรณีศึกษาการเฝ้าระวังโรคหลอดเลือดสมองใน 8 จังหวัด ประเทศไทย ปี พ.ศ. 2557. รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์, 47(23), 353–359. สืบค้น จาก https://he05.tci-thaijo.org/index.php/WESR/article/view/2038

ฉบับ

บท

บทความต้นฉบับ