การศึกษาทางระบาดวิทยาการบาดเจ็บจากการจราจรทางถนนในผู้ใช้รถจักรยานยนต์และ การทบทวนมาตรการเกี่ยวข้องเพื่อนำไปสู่ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย
คำสำคัญ:
การบาดเจ็บ, รถจักรยานยนต์, ประเทศไทย, ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายบทคัดย่อ
การเสียชีวิตจากการบาดเจ็บจากการจราจรทางถนนของ ประเทศไทยเป็นปัญหามาโดยตลอด มากกว่าสามในสี่ของการบาดเจ็บรุนแรงรวมเสียชีวิตเกิดจากรถจักรยานยนต์ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะทางระบาดวิทยาเชิงพรรณนาของผู้บาดเจ็บจากอุบัติเหตุขนส่ง ด้านบุคคล เวลา สถานที่ และเพื่อแสวงหาความรู้ใหม่เกี่ยวกับลักษณะการเกิดอุบัติเหตุของรถจักรยานยนต์ นำไปสู่ข้อเสนอแนะทางนโยบายในการป้องกันควบคุมปัญหาการบาดเจ็บจากรถจักรยานยนต์ของประเทศไทย เป็นการศึกษาจากฐานข้อมูลการเฝ้าระวังการบาดเจ็บ (IS) 33 โรงพยาบาลเครือข่าย ในปี พ.ศ. 2558 ร่วมกับการเก็บข้อมูลเพิ่มในตัวแปรที่สำคัญในผู้บาดเจ็บจากรถจักรยานยนต์ (V20-V29) ทุกราย ที่เข้ารับการรักษาที่ห้องฉุกเฉินภายใน 7 วันหลังจากการเกิดอุบัติเหตุ ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน-31 กรกฎาคม 2557 ในโรงพยาบาล 9 แห่ง วิเคราะห์ประมวลผลข้อมูล โดย epi_info 3.5.4 โดยใช้สถิติเชิงพรรณนาร่วมกับการทบทวนรวบรวมงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับมาตรการการดำเนินงาน และประมวลข้อเสนอแนะของเครือข่ายการทำงานเพื่อถนนปลอดภัย ผลการศึกษาพบว่ามีผู้บาดเจ็บรุนแรงจากอุบัติเหตุรถจักรยานยนต์ในประเทศไทย 61,893 ราย เสียชีวิต 3,526 ราย อัตราบาดเจ็บตายร้อยละ 5.7 กลุ่มอายุที่บาดเจ็บสูงสุดและเสียชีวิตสูงสุด คือ กลุ่มอายุ 15-19 ปี และผู้ขับขี่ที่อายุน้อยที่สุด 7 ปี กลไกการเกิดอุบัติเหตุสูงสุด คือ การชน ร้อยละ 56.94 และพาหนะล้ม คว่ำ ตก ร้อยละ 42.34 โดยการชนพบอัตราบาดเจ็บตายสูงสุด ร้อยละ 72.15 ผู้เสียชีวิตมีสัดส่วนการสวมหมวกนิรภัยน้อยกว่าผู้บาดเจ็บทั้งกลุ่มผู้ขับขี่และผู้โดยสาร โดยผู้เสียชีวิตที่มีการบาดเจ็บศีรษะ (S00-S09) สวมหมวกนิรภัยเพียงร้อยละ 3 โดยร้อยละ 49.36 ของผู้บาดเจ็บรุนแรงหรือเสียชีวิตมีการบาดเจ็บทางศีรษะ ผู้ขับขี่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ร้อยละ 34.16 กลุ่มอายุที่ขับขี่รถจักรยานยนต์มีอุบัติเหตุโดยมีคู่กรณีหรือชนกับคันอื่นสูงสุด คือ กลุ่มอายุ 15-19 ปี โดยหนึ่งในสี่ของผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์กลุ่มอายุนี้เคยประสบอุบัติเหตุ รถจักรยานยนต์ใน 5 ปี ที่ผ่านมา อีกทั้งเป็นกลุ่มอายุที่เคยประสบเหตุฯ สูงสุดรวมถึงเป็นกลุ่มอายุตามเกณฑ์ที่มีสัดส่วนสูงสุดที่ไม่มีใบอนุญาตขับรถ กรณีไม่มีคู่กรณี ร้อยละ 19.9 ให้ประวัติว่าเกิดจากสัตว์วิ่งตัดหน้ารถเป็นสาเหตุหลัก การบาดเจ็บส่วนใหญ่เกิดภายในระยะทางจากจุดเริ่มต้นถึงจุดหมายปลายทางที่ผู้บาดเจ็บตั้งใจจะไป คือ ในระยะ 2-5 กิโลเมตร หรือการขับขี่ภายในระยะเวลาโดยเฉลี่ย 10 นาที ความสำเร็จของการป้องกันและควบคุมการบาดเจ็บจากรถจักรยานยนต์ นอกจากนโยบายหลักที่ภาครัฐควรขับเคลื่อน ยังจำเป็นที่จะต้องให้ความสำคัญกับความหลากหลายของทิศทางการแก้ไขปัญหา และต้องปรับบทบาทให้มีส่วนร่วมโดยภาคประชาชนในแต่ละพื้นที่อย่างแท้จริง
References
สำนักพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ. รายงานการศึกษาภาระโรคและการบาดเจ็บของประชากรไทยใน พ.ศ. 2556. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข; 2558.
สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค. สรุปรายงานการเฝ้าระวัง โรคประจำปี. นนทบุรี: กรมควบคุมโรค; 2557.
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. ผลการวิเคราะห์ระบบ เฝ้าระวัง 5 กลุ่มโรค 5 มิติ. นนทบุรี: กรมควบคุมโรค; 2558.
มูลนิธิไทยโรดส์ และเครีอข่ายเฝ้าระวังและสะท้อนสถานการณ์ ความปลอดภัยทางถนน. อัตราการสวมหมวกนิรภัยของผู้ใช้ รถจักรยานยนต์ในประเทศไทย 2557. ม.ป.ท. 2558.
Hedlund J, Compton R. Graduated driver licensing research in 2004 and 2005. Journal of Safety Research 2005; 36: 4-14.
เลิศศักดิ์ นววิมาน. แนวทางไปสู่ความสำเร็จในการป้องกัน/แก้ไขปัญหาอุบัติเหตุทางถนนอย่างยั่งยืน (อินเตอร์เน็ท). [สืบค้นวันที่ 2 สิงหาคม 2559J. เข้าถึงได้จาก http://www.taia.or.th/home/media/file/73846341459827302.pdf
พุทธกาล รัชธรและคณะ. โครงการการศึกษาโครงสร้างการ บังคับใช้กฎหมายของตำรวจจราจรเพื่อป้องกันและแก้ไข ปัญหาอุบัติเหตุจราจร (รายงานฉบับสมบูรณ์). 2551 [สืบค้น วันที่ 21 มีนาคม 2559J. เข้าถึงได้จาก http://roadsafetythai.org/uploads/userfiles/ACC_51013.pdf
พงษ์สันต์ คงตรีแก้วและคณะ. ปัญหาและความต้องการในการ ฝึกอบรมของตำรวจจราจร (รายงานฉบับสมบูรณ์). 2551 [สืบค้นวันที่ 3 พฤษภาคม 25591. เข้าถึงได้จาก http://roadsafetythai.org/uploads/userfiles/ACC_51014.pdf.
ยุทธนา วรุณปิติกุลและสุพิตา เริงจิต. บันทึกโฉมหน้าอุบัติเหตุมอเตอร์ไซค์. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ; 2550.
สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข. รายงาน ข้อมูลทรัพยากรสาธารณสุขปี 2557 (อินเตอร์เน็ท). [สืบค้นวันที่ 14 มิถุนายน 2559]. เข้าถึงได้จาก http://bps.moph.go.th/newbps
วรภา เตชะสุริยวรกุล และคณะ. โครงการปฏิบัติงานวิชาการ ถอดบทเรียนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการจัดการเรื่อง ความปลอดภัยทางถนน. 2550 [สืบค้นวันที่ 2 สิงหาคม 2559]. เข้าถึงได้จาก http://roadsafetythai.org/uploads/userfiles/file_20151216024805.pdf
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2016 รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงพิมพ์กับ WESR ถือเป็นข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ใน WESR ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่ง ส่วนใดไปเผยแพร่ กรุณาอ้างอิงบทความนั้น ๆ