การสอบสวนการระบาดของโรคคอบในเด็กต่างด้าวในที่พักอาศัยคนงานก่อสร้าง ก. ตำบลไทรน้อย อำเภอไทรน้อย จังหวัดนนทบุรี วันที่ 22 กรกฎาคม-9 สิงหาคม 2558

ผู้แต่ง

  • อรพิรุฬห์ สการะเศรณี โครงการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านสาขาเวชศาสตร์ป้องกัน กลุ่มวิจัยและพัฒนานักระบาดวิทยาภาคสนาม สำนักระบาดวิทยา
  • อภิชิต สถาวรวิวรรถ โครงการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านสาขาเวชศาสตร์ป้องกัน กลุ่มวิจัยและพัฒนานักระบาดวิทยาภาคสนาม สำนักระบาดวิทยา
  • ณัฐปรางค์ นิตยสุทธิ์ โครงการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านสาขาเวชศาสตร์ป้องกัน กลุ่มวิจัยและพัฒนานักระบาดวิทยาภาคสนาม สำนักระบาดวิทยา
  • พัชรา เกิดแสง สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนนทบุรี กระทรวงสาธารณสุข
  • พจมาน ศิริอารยาภรณ์ สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค

คำสำคัญ:

โรคคอตีบ, ที่พักคนงานก่อสร้าง, ไทรน้อย, นนทบุรี

บทคัดย่อ

บทนำ: เมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม 2558 สำนักระบาดวิทยาได้รับรายงาน พบผู้ป่วยยืนยันโรคคอตีบเด็กชายชาวลาว อายุ 1 ปี 9 เดือน ซึ่งอาศัยอยู่ที่พักคนงานก่อสร้าง ทำให้มีโอกาสพบโรคคอตีบในกลุ่มคนงานได้ ทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็วดำเนินการสอบสวนโรค เพื่อหาสาเหตุของการเกิดโรค อธิบายขนาดปัญหาค้นหาผู้ป่วยเพิ่มเติม และกำหนดแนวทางในการป้องกันควบคุมโรค
วิธีการศึกษา: ทบทวนเวชระเบียน และสัมภาษณ์ผู้ปกครองของผู้ป่วย ค้นหาผู้ป่วยเพิ่มเติมในผู้ที่อาศัยอยู่ในที่พักคนงานก่อสร้าง ก. และผู้ที่อาศัยในหมู่บ้านใกล้เคียงกับที่พักคนงานก่อสร้าง ก. ระหว่างวันที่ 12 มิถุนายน-1 กรกฎาคม 2558 เก็บตัวอย่างจากลำคอเพาะหาเชื้อ Corynebacterium diphtheriae ตรวจหาสารพิษจากเชื้อ และหาสายพันธุ์ รวมถึงสำรวจสิ่งแวดล้อม และความครอบคลุมของการฉีดวัคซีนป้องกันโรคคอตีบของผู้ที่อาศัยอยู่ในที่พักคนงานก่อสร้าง ก. และผู้ที่อาศัยในหมู่บ้านใกล้เคียงกับที่พักคนงานก่อสร้าง
ผลการศึกษา: พบผู้ป่วย 2 ราย ผู้ป่วยรายแรก (Index case) ยืนยันโดยการเพาะเชื้อพบ C. diphtheriae ชนิดสร้างสารพิษเป็นเด็กชาย ชาวลาว อายุ 1 ปี 9 เดือน อาศัยอยู่ในห้องแถวของบ้านพักคนงาน กับพ่อ แม่ พี่ชาย และน้าสาว ผู้ป่วยรายที่ 2 พบหลังจากค้นหาผู้ป่วยเพิ่มเติมยืนยันโดยการเพาะเชื้อพบ C. diphtheriae ชนิดไม่สร้างสารพิษ เป็นเด็กชายชาวกัมพูชาอายุ 2 ปี อาศัยอยู่ในที่พักคนงานกับพ่อและแม่ ทั้ง 2 รายไม่มีประวัติการฉีดวัคซีนป้องกันโรคคอตีบ และไม่มีประวัติการสัมผัสซึ่งกันและกัน ทั้ง 2 ครอบครัวอยู่อย่างแออัด และมีสุขลักษณะที่ไม่เหมาะสม ค้นหาผู้สัมผัสและผู้เข้าข่ายสงสัยรวม 122 คน ทั้งหมดให้ผลลบต่อการเพาะเชื้อ C. diphtheriae และได้รับยาปฏิชีวนะทั้งหมด และผลการสำรวจความครอบคลุมการฉีดวัคซีน ป้องกันโรคคอตีบของผู้ที่อาศัยอยู่ในหมู่บ้านรอบ ๆ ที่พักคนงาน พบว่าการฉีดวัคชีน DTP ของเด็กอายุน้อยกว่า 5 ปี ร้อยละ 100 และการฉีดวัคซีน dT ของผู้ที่มีอายุมากกว่า 12 ปี ร้อยละ 38.89 หลังจาก ที่ได้ทำการฉีดวัคซีนป้องกันโรคคอตีบแก่ผู้ที่อาศัยอยู่ในที่พักคนงาน ก่อสร้าง ก. ในช่วงระบาดทั้งหมด 3 ครั้ง พบความครอบคลุมของการฉีดวัคซีนป้องกันโรคคอตบ ร้อยละ 84.74
สรุปและอภิปรายผล: การเกิดการระบาดของโรคคอตีบในที่พักคนงานก่อสร้าง ก. อาจมาจากการนำเข้าเชื้อมาจากประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว โดยผ่านมากับพี่ชายของผู้ป่วย ซึ่งรูปแบบการเคลื่อนย้ายของประชากร ประกอบกับการอยู่ร่วมกันของประชากรในเชื้อชาติต่าง ๆ อาจเป็นปัจจัยของการระบาดของโรค ซึ่งอาจก่อให้เกิดปัญหาในพื้นที่อื่น ๆ ของประเทศไทย และยังต้องการ การแก้ไขปัญหาอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อการป้องกันควบคุมโรคอย่างมี ประสิทธิภาพ ซึ่งรัฐบาลอาจต้องมีการเพิ่มนโยบายการเพิ่มกำลังคน โดยเฉพาะในพื้นที่ที่มีผู้อพยพเป็นจำนวนมาก เพื่อการป้องกัน ควบคุมโรคในกลุ่มประชากรเหล่านี้ต่อไป

References

สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. การตรวจวิเคราะห์เชื้อคอตีบทาง ห้องปฏิบัติการ. [สืบค้นวันที่ 25 กันยายน 2558]. เข้าถึงได้จาก http://dmsc-library.moph.go.th/ebooks/files/showimgpic%20(15).pdf

Centers for Disease Control and Prevention. Epidemiology and Prevention of Vaccine Preventable Disease. 13th Edition. Diphtheria. 2015 [cited 2015 September 25]. Available from: http://www.cdc.gov/vaccines/pubs/pinkbook/downloads/dip.pdf

Sabrina Weiss, Androulla Efstratiou. Corynebacterium diphtheriae (Diphtheria). [cited 201 5 September 25]. Available from: http://www.antimicrobe.org/b99.asp

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. รายงานระบบเฝ้าระวังโรค (รายงาน 506). [สืบค้นวันที่ 25 กันยายน 2558]. เข้าถึงได้จาก http://www.boe.moph.go.th

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการดำเนินงาน เมื่อพบผู้ป่วยสงสัยโรคคอตีบและการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค. ปรับแก้ไข ตุลาคม 2556.

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. ตำราวัคซีนการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค ปี 2556. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา; 2556.

Arthur M. Galazka, Susan E. Robertson. Diphtheria: Changing patterns in the developing world and the industrialized world. Eur J Epidemiol. 1995;11(1):107-17.

J&C Expat service. Diphtheria Breaks Out In Laos. [cited 2015 September 25]. Available from: http://jclao.com/diphtheria-breaks-out-in-laos/2015

Centers for Disease Control. Diphtheria, tetanus, and pertussis: recommendations for vaccine use and other preventive measures: recommendations of the Immunization Practices Advisory Committee (ACIP). MMWR 1991:40(No. RR-10). [cited 2015 August 1]. Available from: http://www.cdc.gov/mmwr/preview/mmwrhtml/00041645.htm

Washoe County Health District. Pertussis Alert In Washoe Countylj. Epi-News 2013; 33(17): 1-3.

Center for disease Control and Prevention. Use of Diphtheria Antitoxin ( DAT) for Suspected Diphtheria Case. 2014 [cited 2015 August 1]. Available from: https://www.cdc.gov/diphtheria/downloads/protocol.pdf

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-05-26

How to Cite

สการะเศรณี อ., สถาวรวิวรรถ อ., นิตยสุทธิ์ ณ., เกิดแสง พ., & ศิริอารยาภรณ์ พ. (2024). การสอบสวนการระบาดของโรคคอบในเด็กต่างด้าวในที่พักอาศัยคนงานก่อสร้าง ก. ตำบลไทรน้อย อำเภอไทรน้อย จังหวัดนนทบุรี วันที่ 22 กรกฎาคม-9 สิงหาคม 2558. รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์, 47(31), 481–489. สืบค้น จาก https://he05.tci-thaijo.org/index.php/WESR/article/view/2047

ฉบับ

บท

บทความต้นฉบับ