กระบวนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคปลาดิบโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน ตำบลชีทวน อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี
คำสำคัญ:
ปลาดิบ, กระบวนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคปลาดิบ, อุบลราชธานีบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการบริโภคปลาดิบ และศึกษากระบวนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคปลาดิบของประชาชน ตำบลชีทวน อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี กลุ่มตัวอย่างได้จากการสุ่มอย่างง่าย และสุ่มแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ เป็นแบบสัมภาษณ์ที่ผู้วิจัยสร้างเอง และการตรวจหาไข่พยาธิใบไม้ตับ (Opisthorchis viverrini) ด้วยวิธี Modified Kato thick smear วิเคราะห์ข้อมูล โดยการแจกแจงความถี่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมติฐานด้วยสถิติ paired t-test ผลการศึกษาพบพฤติกรรมการบริโภคปลาสุก ๆ ดิบ ๆ พบการบริโภคปลาน้ำจืดดิบร้อยละ 97.46 โดยเรียงลำดับอาหารแต่ละประเภทดังนี้ ปลาร้าดิบ (ร้อยละ 100) ลาบปลาดิบ (ร้อยละ 93.93) ส้มปลาน้อย (ร้อยละ 90.46) ก้อยปลาดิบ (ร้อยละ 84.93) ปลาส้ม ดิบ (ร้อยละ 84.68) และส้มไข่ปลา (ร้อยละ 77.45) ส่วนใหญ่บริโภคในวัยผู้ใหญ่และวัยผู้สูงอายุ ส่วนความเชื่อเกี่ยวกับการบริโภคปลาดิบหรือสุก ๆ ดิบ ๆ ของชาวบ้าน มีความถูกต้องอยู่ในระดับปานกลาง และเชื่อว่าการลาบปลา ก้อยปลา จากปลาสด ๆ โดยไม่ปรุงให้สุก รสชาติจะอร่อยกว่าการปรุงให้สุก การรวนเนื้อ ปลาด้วยน้ำร้อน 2 ครั้ง สามารถทำลายไข่พยาธิได้ การสร้างกระบวนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินปลาดิบ โดยการจัดมหกรรมประกวดอาหารปลาปลอดภัย จัดกระบวนการเรียนรู้ในกลุ่มเด็กนักเรียนและเยาวชน กิจกรรมงานบุญปลอดปลาดิบ กิจกรรม แหล่งน้ำสะอาดปลาปลอดภัย จัดกระบวนการเรียนรู้ในกลุ่มแม่บ้าน ร้านขายส้มตำ และในกลุ่มเสี่ยงกิจกรรมตรวจหาไข่พยาธิในอุจจาระ และการประเมินผลพฤติกรรมการบริโภคปลาดิบของกลุ่มตัวอย่าง พบว่าความถี่ในการบริโภคปลาดิบในอาหารทุกประเภทลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (P-value<0.00) และมีความเชื่อเกี่ยวกับการบริโภคปลาดิบถูกต้องมากขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (P-value <0.00 และความชุกของพยาธิใบไม้ตับก่อน และหลังดำเนินการเท่ากับ 17.8 และ 1.37 ตามลำดับ
References
IARC. Infection with liver flukes (Opisthorchis viverrini, Opisthorchis felineus and Clonorchis sinensis). IARC Monog Eval Carcinog Risks Hum 1994; 61: 121-75.
Vatanasapt V, Sripa B, Sithithaworn P, Mairiang P. Liver flukes and liver cancer. Cancer Surv. 1999.
Yeo CJ, Pitt HA, Cameron JL. Cholangiocarcinoma. Surg Clin North Am. 1990; 70: 1429-47.
บรรจบ ศรีภา, พวงรัตน์ ยงวนิชย์, ชวลิต ไพโรจน์กุล. สาเหตุ และกลไกการเกิดโรคมะเร็งท่อน้ำดี: ปฐมบทความสัมพันธ์กับ พยาธิใบไม้ตับ. ศรีนครินทร์เวชสาร 2548; 20; 122-34.
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุบลราชธานี. สรุปรายงานการ ตรวจพยาธิใบไม้ตับของจังหวัดอุบลราชธานี ปี 2557. (เอกสาร อัดสำเนา)
สมนึก ชีวาเกียรติยิ่งยง, พงษ์ลัดดา พันธุ์สืบ, ทิพวัลย์ ไชยวงศ์, สัณหวัช ไขยวงศ์. ความเชื่อด้านสุขภาพ และการดูแลตนเองเพื่อ ป้องกันมะเร็งตับและโรคมะเร็งท่อน้าดีของผู้ป่วยกลุ่มอาการ อาหารไม่ย่อย ในอำเภอดอกคาใต้ จังหวัดพะเยา. วารสาร นเรศวรพะเยา 2553. [สืบค้นเมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2558]. เข้าถึง ได้จาก http://journal.up.ac.th/files/journal_issue_list/1143 6.pdf
วนิดา โชควาณิชย์พงษ์ และคณะ. พฤติกรรมและทัศนคติการ บริโภคปลาดิบและการเกิดมะเร็งท่อน้ำดีของประชากรในจังหวัดอุดรธานี. ขอนแก่น: คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 2552.
พิชา สุวรรณหาทร. การศึกษาประสิทธิภาพการป้องกันและ ควบคุมโรคพยาธิใบไม้ในตับ โดยติดตามการบันทึกพฤติกรรมการ บริโภคปลาดิบอย่างต่อเนื่องด้วยตนเอง. กรุงเทพฯ: วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า, 2555.
Cohen JM, Uphoff Norman T. Participation's Place In Rural Development: Seeking clarity through specificity. World Development 1980; 8: 213-35.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2016 รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงพิมพ์กับ WESR ถือเป็นข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ใน WESR ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่ง ส่วนใดไปเผยแพร่ กรุณาอ้างอิงบทความนั้น ๆ