การเสริมสร้างความเข้มแข็งของระบบเฝ้าระวังควบคุมโรคระบาดสัตว์/สัตว์สู่คนโดยชุมชน/ ท้องถิ่นด้วยระบบดิจิทัล ภายใต้เครือข่ายสุขภาพหนึ่งเดียว จังหวัดเชียงใหม่ ปี พ.ศ. 2558
คำสำคัญ:
การเฝ้าระวัง, ควบคุม, โรคสัตว์สู่คน, ชุมชน, ท้องถิ่น, ระบบดิจิทัลบทคัดย่อ
ความเป็นมา: การศึกษาการเสริมสร้างความเข้มแข็งของระบบเฝ้า ระวังโรคระบาดสัตว์โรคจากสัตว์สู่คน โดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของระบบเฝ้าระวังโรคระบาดสัตว์โรคจากสัตว์สู่คน ความปลอดภัยในอาหารและสิ่งบอกเหตุทางสิ่งแวดล้อมโดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเป็นเครื่องมือช่วยเพิ่มศักยภาพสามารถรู้เร็ว ตอบสนองได้ฉับพลัน และควบคุมสถานการณ์ได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
วิธีการศึกษา: องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ร่วมเป็นเจ้าของ ระบบฯและเพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของอาสาผ่อดีดี ชุมชนผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ตลอดจนประชาชนทั่วไป ให้มีส่วนร่วมรายงานเหตุผิดปกติ และสัมภาษณ์ผู้บริหารขององค์กรที่เกี่ยวข้อง รวบรวมข้อมูลย้อนหลังจากการรายงานเหตุฯโดยใช้โปรแกรมผ่อดีดีที่ได้รับการพัฒนาผ่านสมาร์ทโฟน ใช้แบบสัมภาษณ์ และแบบสอบถาม ในการเสวนากลุ่มย่อย การสัมภาษณ์เชิงคุณภาพและการสังเกต ตั้งแต่เดือนมกราคม-กรกฎาคม 2558
ผลการศึกษา: ปัจจัยที่เสริมสร้างความเข้มแข็งของระบบเฝ้าระวังฯ มีสองปัจจัย คือ อาสาผ่อดีดีมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคสัตว์สู่คน ที่ส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตของคนในชุมชน มีบทบาทและให้ความสำคัญต่อการแจ้งเตือนเหตุผิดปกติ ตลอดจนพัฒนาศักยภาพในการสื่อสารสถานการณ์ต่างๆ ปัจจัยต่อมา คือ การสนับสนุนของ อปท. เสริมสร้างความเข้มแข็งของเครือข่ายอาสาเฝ้าระวังและการรายงาน โดยรายงานประจำวันช่วงระหว่างเดือนมกราคม-กรกฎาคม 2558 ผ่านเข้าระบบผ่อดีดีโดยอาสาฯ ร้อยละ 77.43 แต่เป็นรายงานเหตุผิดปกติร้อยละ 1.98 ทั้งนี้อาสาฯ ยังมีส่วนร่วมในการแจ้งข่าวสารกับคนในหมู่บ้านด้วย ระบบการตอบสนองที่เหมาะสม และมีประสิทธิภาพนำไปสู่การนำเสนอการเฝ้าระวังรูปแบบใหม่ โดยเน้นการมีส่วนร่วมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
สรุปและวิจารณ์: ทุกกลุ่มตัวอย่างที่ศึกษามีความคาดหวังในระบบการเฝ้าระวังโรคฯ ดังกล่าว ให้มีความยั่งยืนต่อเนื่องและมีการขยายครอบคลุมพื้นที่ทั่วจังหวัด โดยการสนับสนุนของ อปท. ทั้งในด้านงบประมาณ วัสดุ อุปกรณ์ และบุคลากรในการรายงานเหตุผิดปกติ โดยเฉพาะอาสาผ่อดีดี ตลอดจนพัฒนาอาสาฯ ให้มีศักยภาพด้านวัสดุอุปกรณ์ในการแก้ปัญหาเบื้องต้น เพื่อความรวดเร็วในการตอบสนอง และควบคุมเหตุการณ์ได้อยู่ในวงจำกัด สามารถลดความสูญเสียทางคุณภาพชีวิตและเศรษฐกิจ และยอมรับว่าโครงการผ่อดีดีเป็นประโยชน์กับประชาชนทุกกลุ่มอาชีพอย่าง ชัดเจนโดยเฉพาะหมู่บ้านที่อยู่ห่างไกล เป็นแนวความคิดสุขภาพหนึ่งเดียวในการทำงานร่วมกันระหว่างสหสาขาวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง อันจะส่งเสริมให้เกิดการทำงานอย่างเป็นเอกภาพ เพื่อประโยชน์ สาธารณะและสุขภาพที่ดีของทุกชีวิต มุ่งสนับสนุนให้เกิดความยั่งยืน ความมั่นคงทางอาหาร และคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของเกษตรกร
References
กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช. แผนปฏิบัติการ เตรียมความพร้อม ป้องกัน และแก้ไขปัญหาโรคติดต่ออุบัติใหม่ ภายใต้แผนยุทธศาสตร์เตรียมความพร้อมป้องกัน และแก้ไข ปัญหา โรคติดต่ออุบัติใหม่แห่งชาติ (พ.ศ. 2556-2559) (ออนไลน์). 2548 [สืบค้นวันที่ 8 สิงหาคม 2558]. เข้าถึงได้จาก http://www.dp.go.th/wildlife/meging%20Disease/d ocument/Plan56-59.pdf
มนัส สุวรรณ.ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์และ มนุษยศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: โครงการตำรามหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2549.
เทพศักดิ์ บุณยรัตพันธุ์. การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพในการ บริหารการจัดการสมัยใหม่ (ออนไลน์). 2553 [สืบค้นวันที่ 5 สิงหาคม 2558]. เข้าถึงได้จาก http://www.drmanage.com/index.php?lay=show&ac=article&ld=538654690
สมพร พรวิเศษศิริกุล, เทิดศักดิ์ ญาโน, สุวิทย์ โชตินันท์, มนัส สุวรรณ, มาลี สิทธิเกรียงไกร, สุวิชัย โรจนเสถียร. รูปแบบการทำงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและบทบาทการมีส่วนร่วมของเครือข่ายระดับหมู่บ้าน ในการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุม โรคไข้หวัดนกระหว่างพื้นที่ระบาดครั้งเดียวกับพื้นที่ระบาดช้ำหลายครั้ง ในภาคเหนือของประเทศไทย. สัตวแพทย์มหานครสาร 2555; 7(1): 1-12.
Phornwisetsirikun S. Integration of monitoring and controlling of avian influenza: A comparison between single outbreak and re-outbreak areas in Northern Thailand [The Degree of Doctor of Philosophy in Veterinary Science]. Chiang Mai, Chiang Mai University; 2013.
อนันท์ งามสะอาด. การบริหารงานแบบบูรณาการ: ร่วมคิดร่วม ทำร่วมพัฒนา (ออนไลน์). 2554 [สืบค้นวันที่ 8 สิงหาคม 2558]. เข้าถึงได้จาก http://waramedhi.blogspot.com/2011/06/contens-1-11-12-13-2-21-leadership-22.html
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2016 รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงพิมพ์กับ WESR ถือเป็นข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ใน WESR ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่ง ส่วนใดไปเผยแพร่ กรุณาอ้างอิงบทความนั้น ๆ