การสอบสวนการเสียชีวิตจากฟ้าผ่า อำเภอพนมไพร จังหวัดร้อยเอ็ด วันที่ 4 พฤษภาคม 2559

ผู้แต่ง

  • สุภาพร สุขเวช สำนักระบาดวิทยา
  • แสงโฉม ศิริพานิช สำนักระบาดวิทยา
  • สุภาภรณ์ มิตรภานนท์ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด
  • จินตวัฒน์ บุญกาพิมพ์ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด
  • ณัฐวุฒิ สังกระจาย โรงพยาบาลพนมไพร
  • นันทพร ดวงเจียน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนานวล

คำสำคัญ:

ฟ้าผ่า, ร้อยเอ็ด

บทคัดย่อ

ความเป็นมา: วันที่ 5 พฤษภาคม 2559 สำนักระบาดวิทยาได้รับแจ้งจากเจ้าหน้าที่ระบาดวิทยา สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด พบผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์ฟ้าผ่ากลางทุ่งนา ที่ตำบลนานวล อำเภอพนมไพร จังหวัดร้อยเอ็ด จึงทำการสอบสวนการเสียชีวิตโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระบาดวิทยาของเหตุการณ์ หาสาเหตุและปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม รวมถึงแนวทางในการป้องกัน
วิธีการศึกษา: รวบรวมข้อมูลโดยทบทวนเวชระเบียนของโรงพยาบาลพนมไพร จังหวัดร้อยเอ็ด ศึกษาข้อมูลการบาดเจ็บ 19 สาเหตุของสำนักระบาดวิทยา สัมภาษณ์ญาติผู้เสียชีวิต และสำรวจสิ่งแวดล้อมในสถานที่เกิดเหตุ
ผลการศึกษา: ผู้เสียชีวิตทั้งหมด 3 ราย เป็นชาย 2 ราย หญิง 1 ราย อายุระหว่าง 6-54 ปี ทั้งหมดอาศัยอยู่ในตำบลนานวล อำเภอพนม ไพร เกิดเหตุการณ์เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม 2559 เวลาประมาณ 16.00-16.30 น. ขณะมีฝนตกหนัก ฟ้าคะนอง ลมแรง ทุกคนจึงไปเข้า หลบฝนอยู่ในที่เพิงพักกลางทุ่งนาที่มุงหลังคาด้วยสังกะสีอยู่ใต้ต้นสะแกนา 3 ต้น และจากการสอบถามผู้เห็นเหตุการณ์ เห็นฟ้าผ่าลงมาบริเวณที่พักที่ผู้เสียชีวิตหลบฝน หลังจากฝนหยุดญาติมาพบทั้งหมด เสียชีวิต จึงนำส่งโรงพยาบาลพนมไพร จังหวัดร้อยเอ็ด แพทย์ชันสูตรผู้เสียชีวิต 3 ราย พบบาดแผลเป็นรอยไหม้ตามร่างกาย และวินิจฉัยสาเหตุการเสียชีวิต คือ Victim of lightning : at unspecified place : in leisure activity จากการสำรวจเสื้อผ้าผู้เสียชีวิต ไม่พบโลหะใดๆ ที่เป็นสื่อล่อฟ้าในบริเวณร่างกายและไม่พบอุปกรณ์อิเลคทรอนิคส์ โทรศัพท์มือถือติดตัว บริเวณที่เกิดเหตุพบอุปกรณ์การเกษตรวางไว้ใต้ที่พัก แต่ไม่มีร่องรอยความเสียหายจากฟ้าผ่า
สรุปและวิจารณ์: พบต้นสะแกนาที่ปกคลุมที่เพิงพักต้นที่สูงที่สุด มีลักษณะใบแห้งเหี่ยวทั้งต้น เมื่อเทียบกับ 2 ต้นที่ยังใบเขียวปกติ จึงสันนิษฐานว่าฟ้าผ่าลงที่ต้นสะแกนาดังกล่าว อาจเกิดกระแสไฟฟ้าแลบด้านข้างจากต้นสะแกนามายังบริเวณที่ผู้เสียชีวิตนั่งรวมกันอยู่ในที่เพิงพัก จากการทบทวนข้อมูลพื้นที่เกิดเหตุพบว่า เคยมีการเสียชีวิตจากฟ้าผ่ามาก่อนนี้ จึงได้แนะนำชาวบ้านที่อาศัยบริเวณที่เกิดเหตุให้ระมัดระวังป้องกันในขณะที่เกิดฝน หลีกเลี่ยงการหลบฝนในที่เพิงพัก กลางทุ่งนาหรือใต้ต้นไม้ใหญ่ หรือหลีกเลี่ยงการทำงานกลางทุ่งนา/ไร่/สวน ในช่วงที่มีฝนตกฟ้าคะนองโดยเฉพาะเมื่อมีการประกาศว่า อาจเกิดพายุฤดูร้อนในพื้นที่ และองค์กรส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ควรจัดระบบป้องกันอันตรายจากฟ้าผ่า เช่น ติดตั้งสายล่อฟ้าในชุมชน และบริเวณจุดเสี่ยงต่อการเกิดฟ้าผ่าในพื้นที่ และหน่วยบริการสาธารณสุขควรพัฒนาระบบการช่วยเหลือและการปฐมพยาบาลเพื่อช่วยชีวิตผู้ที่ได้รับบาดเจ็บจากฟ้าผ่าได้อย่างรวดเร็ว

References

บัญชา ธนบุญสมบัติ. นักวิชาการเตือนฟ้าผ่า! ไม่ได้เกิดจากโลหะ สื่อล่อฟ้า เอินเตอร์เน็ต]. ศูนย์สื่อสารวิทยาศาสตร์ไทย: สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ; 2553 [เข้าถึงเมื่อ 23 พ.ค. 2559]. เข้าถึงได้จาก: http://www.nstda.or.th/sci2pub/thaismc/factsheet/hotnews/FS-018.pdf

คเชนทร์ ปั่นสุวรรณ.การบาดเจ็บจากฟ้าผ่า (Lightning Injuries) [อินเตอร์เน็ต]. เข้าถึงเมื่อ 20 กรกฎาคม 2559]. เข้าถึงได้จาก: http://www.gmwebsite.com/upload/thaimilitarymedicine.com/file/unit13.doc

อำนวย กาจีนะ. กรมควบคุมโรคเตือนช่วงฝนฟ้าคะนองระวัง ฟ้าผ่า [อินเตอร์เน็ต]. สำนักสื่อสารความเสี่ยงฯ: กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข; 2559 [เข้าถึงเมื่อ 15 พฤษภาคม 2559] เข้าถึงได้จาก http://thaigcd.ddc.moph.go.th/uploads/pdf/ฟ้าผ่า-04-59.pdf

Nation TV. พายุฤดูร้อน เกิดถึงปลายพฤษภาคม [อินเตอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: เนชั่น บรอดแคสติ้ง คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน); 2559 [เข้าถึงเมื่อ 15 มิถุนายน 2559]. เข้าถึงได้จาก http://www.nationtv.tv/main/content/sociaV/378501090/

ศูนย์วิจัยและพัฒนาการป้องกันและจัดการภัยพิบัติ. ภัยจากพายุ ฤดูร้อน การเตรียมรับมือและการป้องกัน โ[อินเตอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์; 2555. [เข้าถึงเมื่อ 15 มิถุนายน 2559]. เข้าถึงได้จาก http://dpm.nida.ac.th/main/index.php/articles/storm/item/ภัยจากพายุฤดูร้อน-การเตรียมรับมือและการป้องกัน

อรัฐา รังผึ้ง, พิมพ์ภา เตชะกมลสุข, อนงค์ แสงจันทร์ทิพย์. การ บาดเจ็บรุนแรงจากการถูกฟ้าผ่า ข้อมูลจากระบบเฝ้าระวังการ บาดเจ็บแห่งชาติ ปี พ.ศ. 2555. รายงานการเฝ้าระวังทาง ระบาดวิทยาประจำสัปดาห์ 2555; 44: 417-20.

ปราณี วงค์จันทร์ต๊ะ. ปรากฎการณ์การเกิดฟ้าผ่าและการ ป้องกัน. วารสารการศึกษาและการพัฒนาสังคม 2556; 9: 7-14.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-05-27

How to Cite

สุขเวช ส., ศิริพานิช แ., มิตรภานนท์ ส., บุญกาพิมพ์ จ., สังกระจาย ณ., & ดวงเจียน น. (2024). การสอบสวนการเสียชีวิตจากฟ้าผ่า อำเภอพนมไพร จังหวัดร้อยเอ็ด วันที่ 4 พฤษภาคม 2559. รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์, 47(38), 593–600. สืบค้น จาก https://he05.tci-thaijo.org/index.php/WESR/article/view/2055

ฉบับ

บท

บทความต้นฉบับ