การสอบสวนการระบาดโรคไข้หวัดใหญ่ในกลุ่มนักเรียนมัธยมศึกษาของโรงเรียนแห่งหนึ่ง จังหวัดยโสธร วันที่ 19-22 กุมภาพันธ์ 2557

ผู้แต่ง

  • ถนอม นามวงศ์ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร
  • เพ็ญศิริ วิศิษฐ์ผจญชัย สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร
  • สุกัญญา คำพัฒน์ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร
  • สุนทร วิริยพันธ์ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร
  • พิมพ์รพัช แท่งทองหลาง สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร
  • เกษรินทร์ วงเวียน สำนักงานสาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร
  • ราตรี ชายทอง สำนักงานสาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร

คำสำคัญ:

การระบาด, ไข้หวัดใหญ่ บี, ปัจจัยเสี่ยง, โรงเรียน

บทคัดย่อ

ความเป็นมา: เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2557 สำนักงานสาธารณสุข จังหวัดยโสธร ได้รับแจ้งจากทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว SRRT) อำเภอคำเขื่อนแก้วว่า มีนักเรียนในโรงเรียนแห่งหนึ่งป่วยเป็นไข้หวัดจำนวนมาก ดังนั้นทีม SRRT จังหวัดยโสธร จึงได้ลงพื้นที่เพื่อสอบสวนและควบคุมโรคในวันที่ 20-22 กุมภาพันธ์ 2557 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อยืนยันการระบาด อธิบายลักษณะการเกิดการกระจายของโรค ค้นหาสาเหตุของการระบาดและเพื่อศึกษา ปัจจัยเสี่ยงของการระบาด พร้อมทั้งให้ข้อเสนอแนะแนวทางควบคุมและป้องกันการระบาดของโรค
วิธีการศึกษา: ศึกษาระบาดวิทยาเชิงพรรณนา โดยทำการค้นหา ผู้ป่วยเพิ่มเติมในโรงเรียน โดยใช้นิยามดังนี้ บุคลากรทางการศึกษาในโรงเรียนแห่งนี้ทุกคนที่มีอาการอย่างน้อย 2 อย่าง ได้แก่ ไข้ ไอ เจ็บคอ คัดจมูก/มีน้ำมูก ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ ระหว่างวันที่ วันที่ 5 กุมภาพันธ์-9 มีนาคม 2557 และศึกษาระบาดวิทยาเชิงวิเคราะห์ โดยวิธี Retrospective cohort study และวิเคราะห์ Multiple logistic regression เพื่อควบคุมผลกระทบจากปัจจัยกวน นอกจากนั้นส่งตัวอย่างทางเดินหายใจเพื่อยืนยันทางห้องปฏิบัติการของเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ โดยวิธี RT-PCR
ผลการศึกษา: นักเรียนและบุคลากรในโรงเรียนแห่งนี้มีทั้งหมด 524 คน พบผู้ป่วยตามนิยาม 133 ราย คิดเป็นอัตราป่วยร้อยละ 25.4 อายุเฉลี่ย 15 ปี (พิสัย 12-19 ปี) เป็นเพศชายร้อยละ 41.5 อาการ แสดงทางคลินิกของผู้ป่วยที่พบมากที่สุด ได้แก่ ไอ ร้อยละ 78.4 ปวดศีษะ ร้อยละ 61.2 คัดจมูกน้ำมูกไหล ร้อยละ 59.7 เจ็บคอ ร้อยละ 56.7 จาม ร้อยละ 54.5 ปวดกล้ามเนื้อ ร้อยละ 46.3 และ ไข้ ร้อยละ 28.4 ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการพบเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ชนิด B ร้อยละ 60 การศึกษาด้านสภาพแวดล้อมพบว่า ในช่วงก่อนที่มีการระบาดของโรคสภาพอาการในขณะนั้นมี อุณหภูมิลดลงอย่างชัดเจน และค่อนข้างหนาวติดต่อกัน 3-4 วัน ผลการศึกษาระบาดวิทยาเชิงวิเคราะห์เพื่อหาปัจจัยเสี่ยง พบปัจจัย เสี่ยงได้แก่ การรับประทานอาหารร่วมกับผู้ป่วย (Adjust odds ratio [adj.OR] = 2.7, 95%CI 1.2-6.0) และการเป็นเพื่อนกลุ่มเดียวกันกับผู้ป่วย (adj.OR =2.1, 95%CI 1.1-3.9)
สรุปและวิจารณ์: การระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่ในครั้งนี้ เกิดจากเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ชนิดบี ด้วยสภาพอากาศที่หนาวเย็นติดต่อกันหลายวัน ประกอบกับพฤติกรรมของนักเรียนที่ชอบเล่นหรือคลุกคลีกับเพื่อนที่เป็นผู้ป่วย ซึ่งบางคนมีอาการไม่รุนแรงและไม่สามารถสังเกตอย่างเห็นได้ชัด เช่น บางคนไม่มีไข้เลย เป็นสาเหตุที่ทำให้โรค ไข้หวัดใหญ่มีการแพร่ระบาดไปอย่างรวดเร็ว อย่างไรก็ตาม ผลจากการลงพื้นที่สอบสวนและดำเนินมาตรการควบคุมโรคอย่างทันท่วงที่ ซึ่งจากการเฝ้าระวังผู้ป่วย หลังจากนั้น 14 วัน ทำให้ไม่มีผู้ป่วยรายใหม่ ทั้งนี้ คุณครู และเจ้าหน้าที่สาธารณสุขควรมีการแจ้งเตือนนักเรียนเพื่อเฝ้าระวังป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ ในช่วงที่มีอากาศหนาวเย็นติดต่อกัน รวมทั้ง ควรมีระบบการ คัดกรองและแยกนักเรียนที่ป่วย เพื่อลดการสัมผัสหรือคลุกคลีกับผู้อื่น

References

กรมอุตุนิยมวิทยา. [สืบค้นวันที่ 15 มีนาคม 2557]. เข้าถึงได้ จาก http://www.tmd.go.th/climate/climate.php

ศิวพล บุญรินทร์ และอรวรรณ เรื่องสนาม. การสอบสวนการ ระบาดโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ชนิดเอ (เอช 1เอ็น 1) ใน สำนักงานแห่งหนึ่งอำเภอเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด เดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ 2553. รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา ประจำสัปดาห์ 2556; 43 (ฉบับพิเศษ): S8-14.

เอกชัย ยอดขาว และคณะ. การสอบสวนการระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่ในบุคลากรทางการแพทย์โรงพยาบาลแห่งหนึ่ง จังหวัดบุรีรัมย์ เดือนสิงหาคม-ตุลาคม 2553. รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์ 2555; 43 (ฉบับพิเศษ): S23-8.

โรคไข้หวัดใหญ่ สำนักโรคติดต่ออุบัติใหม่ กรมควบคุมโรค. [สืบค้นวันที่ 17 กรกฎาคม 2558]. เข้าถึงได้จาก http://beid.ddc.moph.go.th/beid_2014/th/diseases/253

สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค. ระบบเฝ้าระวังโรคทาง ระบาดวิทยาของกลุ่มอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ (ออนไลน์) 2557. [เข้าถึงวันที่ 10 เมษายน 2557]. เข้าถึงได้จาก http://interfetpthailand.net/ili/index.php

ดารินทร์ อารีย์โชคชัย และคณะ. แนวทางการรายงานโรคที่มีความสำคัญสูงประเทศไทย เล่ม 1. กรุงเทพมหานคร: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย; 2555.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-05-28

How to Cite

นามวงศ์ ถ., วิศิษฐ์ผจญชัย เ., คำพัฒน์ ส., วิริยพันธ์ ส., แท่งทองหลาง พ., วงเวียน เ., & ชายทอง ร. (2024). การสอบสวนการระบาดโรคไข้หวัดใหญ่ในกลุ่มนักเรียนมัธยมศึกษาของโรงเรียนแห่งหนึ่ง จังหวัดยโสธร วันที่ 19-22 กุมภาพันธ์ 2557. รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์, 47(50), 785–791. สืบค้น จาก https://he05.tci-thaijo.org/index.php/WESR/article/view/2093

ฉบับ

บท

บทความต้นฉบับ