การสอบสวนการระบาดของโรคสุกใสในโรงเรียนพระปริยัติธรรม เขตบางนา กรุงเทพมหานคร วันที่ 29 เมษายน-1 สิงหาคม 2559

ผู้แต่ง

  • ปวีณา อังคณานุกิจ ศูนย์บริการสาธารณสุข 6 สโมสรวัฒนธรรมหญิง สํานักอนามัยกรุงเทพมหานคร
  • สุภาพ พิทักษ์ กลุ่มงานระบาดวิทยา กองควบคุมโรคติดต่อ สํานักอนามัยกรุงเทพมหานคร

คำสำคัญ:

สุกใส, การระบาด, สามเณร, กรุงเทพมหานคร

บทคัดย่อ

ความเป็นมา: ทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว ศูนย์บริกาiสาธารณสุข 8 บุญรอด รุ่งเรือง และกองควบคุมโรคติดต่อ สำนักอนามัยกรุงเทพมหานคร ได้รับแจ้งว่ามีการระบาดของสุกใสของกลุ่มสามเณรในโรงเรียนพระปริยัติธรรมวัด ก เขตบางนา กรุงเทพมหานคร ในช่วงเดือนพฤษภาคม 2559 จึงได้ทำการ สอบสวนโรคเพื่อยืนยันการวินิจฉัยยืนยันการระบาด ระบุปัจจัยเสี่ยง พร้อมทั้งหามาตรการป้องกันและควบคุมโรคที่จำเพาะต่อไป
วิธีการศึกษา: ศึกษาลักษณะทางระบาดวิทยาเชิงพรรณนา โดยนิยามผู้ป่วย หมายถึง บุคคลที่อยู่ในโรงเรียนแห่งนี้ ที่มีตุ่มแดง หรือตุ่มพองใส หรือตกสะเก็ดหลายแห่ง และหลายระยะในเวลาเดียวกัน ระหว่างวันที่ 29 เมษายน-1 สิงหาคม 2559 ตรวจยืนยันทางห้องปฏิบัติการ โดยวิธี IgM-ELISA Test 6 ราย และ Tzanck smear test 6 ราย สัมภาษณ์ผู้ป่วยเพื่อทำการศึกษาเชิงวิเคราะห์ Case control study เพื่อหาปัจจัยเสี่ยง และกำจัดตัวกวน ด้วยวิธี multiple logistic regression สำรวจสิ่งแวดล้อมและดำเนินการ ควบคุมโรคในผู้ป่วยผู้สัมผัสและสิ่งแวดล้อม
ผลการสอบสวน: พบผู้ป่วยที่มีอาการเข้าได้กับนิยามโรคสุกใสรวม 78 ราย อัตราป่วยร้อยละ 26.5 อายุเฉลี่ย 13 ปี (พิสัย 12-17 ปี) เป็นผู้ป่วยยืนยันจาก ELISA-gM 5 ราย ร้อยละ 83.3 และตรวจ Tzanck Smear wu multinucleated giant cell 1 ราย ร้อยละ 16.7 ผู้ป่วย ส่วนใหญ่มีอาการตุ่มน้ำใส ร้อยละ 98.7 และผื่นตกสะเก็ด ร้อยละ 53.8 ลักษณะการระบาดจากแหล่งโรคแพร่กระจาย ปัจจัยเสี่ยงหลังจากกำจัดตัวกวน คือ การเข้าร่วมกิจกรรมกันกับผู้ที่มีอาการป่วย (adjusted odds ratio = 8.29, 95% CI 1.03-66.57)
สรุปและวิจารณ์ผล: การรณรงค์ให้เสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรคสุกใส ช่วยในการป้องกันการระบาดครั้งนี้และในอนาคต แต่ควรปฏิบัติควบคู่กับมาตรการควบคุมป้องกันโรคด้วยการให้สุขศึกษา การค้นหาผู้ป่วยในระยะแรกและแยกผู้ป่วยอย่างรวดเร็วเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการควบคุมโรค ติดตามเฝ้าระวังการระบาดของโรค เป็นเวลา 42 วัน ไม่พบผู้ป่วยเพิ่มเติม

References

สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. นิยามโรคติดเชื้อประเทศไทย 2546. พิมพ์ครั้งที่ 2. นนทบุรี: องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์; 2546.

สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์- การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือการเก็บตัวอย่างส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ. พิมพ์ครั้งที่ 2. นนทบุรี: กระทรวง สาธารณสุข; 2546.

สราวุธ หิริ, ศิรินทร์ ศรีสุพรรณ, นันทนา จินา, จอมขวัญ แก้ว บำรุง, รัตนา ชูจิต, ศจี เรืองศรี และคณะ. รายงานการสอบสวน การระบาดของโรคสุกใสในโรงเรียนประถมศึกษาแห่งหนึ่ง ตำบลนาเตย อำเภอท้ายเหมือง จังหวัดพังงา วันที่ 10-15 กันยายน 2551. รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำ สัปดาห์ 2552; 40: 513-9.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-05-28

How to Cite

อังคณานุกิจ ป., & พิทักษ์ ส. (2024). การสอบสวนการระบาดของโรคสุกใสในโรงเรียนพระปริยัติธรรม เขตบางนา กรุงเทพมหานคร วันที่ 29 เมษายน-1 สิงหาคม 2559. รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์, 47(51), 801–807. สืบค้น จาก https://he05.tci-thaijo.org/index.php/WESR/article/view/2094

ฉบับ

บท

บทความต้นฉบับ