การระบาดของโรคอาหารเป็นพิษในนักท่องเที่ยวที่เข้าพักในรีสอร์ทแห่งหนึ่ง ตำบลแกลง อำเภอเมือง จังหวัดระยอง วันที่ 7-9 กรกฎาคม 2559
คำสำคัญ:
โรคอาหารเป็นพิษ, นักท่องเที่ยว, Aeromonas spp., ระยองบทคัดย่อ
ความเป็นมา: เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 2559 งานป้องกันควบคุมโรคและระบาดวิทยา กลุ่มงานเวชกรรมสังคม โรงพยาบาลระยอง ได้รับแจ้งจากเจ้าหน้าที่ห้องอุบัติเหตุฉุกเฉินว่า มีผู้ป่วย 12 ราย เป็นกลุ่มนักท่องเที่ยวจังหวัดเลยมารับการรักษาด้วยอาการถ่ายเป็นน้ำ คลื่นไส้ อาเจียน และปวดท้อง ทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว อำเภอเมือง ลงสอบสวนโรคในพื้นที่ทันที โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อยืนยันการ วินิจฉัยและการระบาดของโรค ระบุขอบเขตของการระบาด ค้นหาเชื้อที่เป็นสาเหตุ แหล่งแพร่เชื้อ และควบคุมการระบาด
วิธีการศึกษา: ศึกษาระบาดวิทยาเชิงพรรณนา โดยเก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์ตามแบบรายงานการสอบสวนโรค ค้นหาผู้ป่วยเพิ่มเติม และตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการ โดยเก็บตัวอย่างอุจจาระ และอาเจียน อาหารและน้ำ อุปกรณ์มือผู้ประกอบการ ส่งตรวจหาเชื้อ แบคที่เรียก่อโรคทางเดินอาหาร ตรวจปริมาณคลอรีนอิสระในน้ำอุปโภค และทำการศึกษาระบาดวิทยาเชิงวิเคราะห์ โดยหาอัตราความเสี่ยงสัมพัทธ์ โดยวิธี retrospective cohort study
ผลการศึกษา: พบการระบาดของโรคอาหารเป็นพิษในนักท่องเที่ยวจากจังหวัดเลย มีผู้ป่วยเข้าตามนิยาม 13 ราย มีอัตราป่วยร้อยละ 54.16 อาการทางคลินิกที่พบ ได้แก่ ถ่ายเป็นน้ำ (ร้อยละ 60) ปวดมวนท้อง (ร้อยละ 48) คลื่นไส้ (ร้อยละ 41) และอ่อนเพลีย (ร้อยละ 40) พบผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง 3 ราย ที่มีอาการไช้ เป็นตะคริว ความดันโลหิตต่ำ การระบาดครั้งนี้เป็นการระบาดแบบแหล่งโรคร่วมแบบจุดเดียว (point common source) อาหารมื้อบ่ายต่อมื้อเย็น ในวันที่ 7 กรกฎาคม 2559 ซึ่งผู้ป่วยรับประทานร่วมกัน อาหารที่มีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคอาหารเป็นพิษมากที่สุด คือ หอยแมลงภู่นี่ง โดยผู้ที่รับประทานหอยแมลงภู่นึ่งมีโอกาสป่วยเท่ากับ 3.16 เท่า เมื่อเปรียบเทียบกับผู้ที่ไม่รับประทานหอยแมลงภู่นี่ง (P - 0.06) จากการตรวจตัวอย่างในอาหารที่เหลือพบเชื้อ Aeromonas spp, Vibrio parahemolyticus, Salmonella spp, Vibrio fluvialis, Staphylococus aureus โดยพบเชื้อ Aeromonas spp. มากที่สุด 27 ตัวอย่าง ตรวจพบเชื้อก่อโรคหลากหลายชนิดในผู้ป่วย 8 ราย จาก 13 ราย นอกจากนี้ยังพบพาหะในแม่ค้า 2 ราย ซึ่งไม่แสดง อาการ และอาหารปนเปื้อน 4 ชนิด
สรุปและวิจารณ์: การระบาดครั้งนี้น่าจะเป็นการระบาดโดยการรับประทานอาหารปนเปื้อนเชื้อก่อโรคหลายชนิด และจากสุขาภิบาล อาหารและสิ่งแวดล้อมที่ไม่ถูกสุขลักษณะ รวมถึงพฤติกรรมการรับประทานอาหารของคณะนักท่องเที่ยว โดยระยะเวลาเริ่มป่วยเข้าได้กับเชื้อ Aeromonas spp.
References
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. ชุดทดสอบคลอรีนอิสระคงเหลือในน้ำดื่ม อ 31. [สืบค้นเมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2559]. เข้าถึงได้จาก http://rldc.anamai.moph.go.th/index.php?option=com_content&view=article&id=95
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. แบบตรวจแผงลอยจำหน่ายอาหารทางแบคทีเรียและข้อกำหนดด้านสุขาภิบาลอาหาร สำหรับสถานประกอบการด้านอาหาร.
ธนิษฐา เตชะนิยม, สรียา เวชวิฐาน, นิรันดร ยิ้มจอหอ และ ชุลีพร จิระพงษา. การสอบสวนโรคอาหารเป็นพิษในการประชุม ASEAN Plus Three Field Epidemiology Training Network (ASEAN +3FETN) กระทรวงสาธารณสุข วันที่ 28 มกราคม 2556. รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำ สัปดาห์ 2556; 44: 769-76.
Vila J, Ruiz J, Gallardo F, Vargas M, Soler L, Figueras Mj, et al. Aeromonas spp. and Traveler's Diarrhea: Clinical Features and Antimicrobial Resistance. Emerging Infectious Diseases. 2003;9(5):552-5. doi.org/10.3201/eid0905.020451
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2017 รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงพิมพ์กับ WESR ถือเป็นข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ใน WESR ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่ง ส่วนใดไปเผยแพร่ กรุณาอ้างอิงบทความนั้น ๆ