การประเมินระบบเฝ้าระวังทางระบาดวิทยากลุ่มโรคไข้เลือดออกของโรงพยาบาลศูนย์ระยอง ปี พ.ศ. 2558
คำสำคัญ:
ประเมินระบบเฝ้าระวัง, ไข้เลือดออก, โรงพยาบาลศูนย์ระยอง, ระยองบทคัดย่อ
ความเป็นมา: โรคติดเชื้อเด็งกี่ ได้แก่ ไข้เด็งกี่ และไข้เลือดออกเด็งกี่ จัดเป็นโรคติดต่อที่เป็นปัญหาสำคัญทางสาธารณสุขของประเทศไทยและจังหวัดระยอง ถึงแม้ว่าที่ผ่านมา กระทรวงสาธารณสุขจะหาแนวทางยุทธศาสตร์ มาตรการ และวิธีการต่าง ๆ มาควบคุมโรค แต่ยังพบอัตราป่วยสูงทุกปี มีข้อสงสัยว่าความถูกต้อง แม่นยำของระบบเฝ้าระวังโรคไข้เลือดออกว่าถูกต้องจริงหรือไม่ จึงทำการประเมินระบบเฝ้าระวังโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อทราบประสิทธิภาพของระบบเฝ้าระวังโรคไข้เลือดออกทั้งในคุณลักษณะเชิงคุณภาพ และเชิงปริมาณ นำข้อมูลที่ได้มาวางแผนการพัฒนาระบบข้อมูลการเฝ้าระวังโรคไข้เลือดออก และนำไปกำหนดนโยบายและดำเนินการแก้ไขปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป
วิธีการศึกษา เป็นการศึกษาภาคตัดขวาง (Cross-sectional study) โดยศึกษาทั้งเชิงคุณภาพ ขั้นตอนการทำงานและเชิงปริมาณ โดยการทบทวนเวชระเบียนผู้ป่วยที่เข้านิยามการเฝ้าระวัง ที่เข้ารับการรักษาโรงพยาบาลระยอง ที่ได้รับรายงานระหว่างวันที่ 1 มกราคม-31 มีนาคม 2558
ผลการศึกษา: จังหวัดระยองมีแนวทางปฏิบัติในการเฝ้าระวังโรคและรายงานโรค ที่มีขั้นตอนชัดเจน การรับแจ้งข่าวผู้ป่วยไข้เลือดออก จะมีการแจ้งภายใน 24 ชั่วโมง การวินิจฉัยของแพทย์จะได้จากการซักประวัติอาการและการตรวจร่างกาย ร่วมกับผลการตรวจนับความ สมบูรณ์ของเม็ดเลือดเป็นหลัก ซึ่งเป็นแนวทางสำคัญ มีผู้ป่วยบางรายที่จะได้รับการตรวจ tourniquet test ส่วนผลการศึกษา คุณลักษณะเชิงปริมาณพบว่าความไว เมื่อใช้นิยามการเฝ้าระวังโรคไข้เด็งกี่ ไข้เลือดออกเด็งกี่ และไข้เลือดออกช็อกเด็งกี่ของสำนักระบาดวิทยาอยู่ในเกณฑ์ระดับสูงมาก ร้อยละ 91.17, 85.71 และ 100.00 ตามลำดับ ค่าพยากรณ์บวกของไข้เด็งกี่ ไข้เลือดออกเด็งกี่ และไข้เลือดออกช็อกเด็งกึ่ ยังอยู่ในเกณฑ์ที่ต่ำมาก ร้อยละ 22.79, 26.47 และ 19.11 ตามลำดับ
สรุปและวิจารณ์: ระบบเฝ้าระวังทางระบาดวิทยากลุ่มโรคไข้เลือดออกของโรงพยาบาลศูนย์ระยอง ปี พ.ศ. 2558 หากพิจารณาใน ภาพรวมพบว่าระบบการฝ้าระวังโรคไข้เลือดออกของจังหวัดระยองอยู่ในเกณฑ์ดี มีค่าความไวที่สูง ระบบสามารถตรวจจับ และเตือนภัย ได้เร็ว ซึ่งจะช่วยให้เกิดประสิทธิภาพสูงต่อการควบคุมโรคไข้เลือดออกได้ทันท่วงที แต่ต้องปรับปรุงเรื่องการซักประวัติและลงข้อมูลอาการ ให้ครบถ้วน เนื่องจากค่าพยากรณ์บวกที่ต่ำ
References
ธนรักษ์ ผลิพัฒน์. แนวทางการประเมินระบบเฝ้าระวังทางสาธารณสุข. พิมพ์ครั้งที่ 3. นนทบุรี : สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค; 2551.
วิทยา วัฒนเรื่องโกวิท, สมพร จันทร์แก้ว. การประเมินระบบการเฝ้าระวังของกลุ่มโรคไข้เลือดออก อำเภอเมือง จังหวัดยโสธร 2553. รายงานการการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์ 2554; S53-6.
สำนักระบาดวิทยา. นิยามโรคติดเชื้อประเทศไทย. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์; 2546.
สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. ผลการวิเคราะห์ระบบเฝ้าระวัง 5 กลุ่มโรค 5 มิติ. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคระบริษัท ซ์ จำกัด; 2558.
สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 3 จังหวัดชลบุรี กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. โครงการประสิทธิภาพทรายกำจัดลูกน้ำ ยุงลายในพื้นที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดระยอง ปี 2557. (เอกสารอัดสำเนา)
ศิริเพ็ญ กัลยาณรุจ, มุกดา หวังวีรวงศ์, วารุณี วัชรเสวี, บรรณาธิการ. แนวทางการวินิจฉัยและรักษาโรคไข้เลือดออกเด็งกี่ ฉบับเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษามหาราชินี. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์กรุงเทพเวชสาร; 2556.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2017 รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงพิมพ์กับ WESR ถือเป็นข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ใน WESR ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่ง ส่วนใดไปเผยแพร่ กรุณาอ้างอิงบทความนั้น ๆ