โรคลีเจียนแนร์ในนักท่องเที่ยว : การสอบสวนสิ่งแวดล้อมในโรงแรมที่นักท่องเที่ยวพัก ในกรุงเทพมหานคร เดือนมกราคม 2566

ผู้แต่ง

  • รณิดา เตชะสุวรรณา สถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข

คำสำคัญ:

ลีเจียนแนร์, นักท่องเที่ยว, สอบสวน, สิ่งแวดล้อม, กรุงเทพมหานคร

บทคัดย่อ

ความเป็นมา: กรมควบคุมโรคได้รับรายงานนักท่องเที่ยวชาวสวีเดนป่วยเป็นโรคลีเจียนแนร์หลังเดินทางมาท่องเที่ยวในประเทศไทย ซึ่งการพบโรคนี้ในนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติมีความสำคัญในเชิงเศรษฐกิจของประเทศไทย เพราะเกิดผลลบต่อความเชื่อมั่นในความปลอดภัยต่อสุขภาพของประชากรของประเทศนั้น ๆ และอาจมีการแจ้งเตือนไม่ให้นักท่องเที่ยวเดินทางมาในประเทศไทยได้ วัตถุประสงค์ของการสอบสวนโรคในสิ่งแวดล้อมครั้งนี้ เพื่อยืนยันการติดเชื้อลีเจียนเนลลาในนักท่องเที่ยวรายนี้ ค้นหาเชื้อลีเจียน-เนลลาในแหล่งน้ำที่โรงแรมที่ได้รับรายงานว่านักท่องเที่ยวรายนี้เดินทางมาพัก ให้คำแนะนำการกำกับดูแลระบบน้ำ น้ำหล่อเย็น และหอผึ่งเย็นแก่ทางโรงแรม และเพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างการติดเชื้อของผู้ป่วยรายนี้กับแหล่งน้ำจากทางโรงแรม

วิธีการศึกษา: ยืนยันการวินิจฉัยติดเชื้อลีเจียนเนลลาในนักท่องเที่ยวรายที่ได้รับรายงานโดยอาศัยประวัติที่ได้รับ คือ อาการและอาการแสดงร่วมกับผลตรวจทางห้องปฏิบัติการ และศึกษาข้อมูลพื้นฐานทั่วไปของโรงแรม ตรวจสภาพสิ่งแวดล้อมที่มีโอกาสก่อให้เกิดความเสี่ยงในการติดเชื้อลีเจียนเนลลา ได้แก่ ระบบน้ำ น้ำหล่อเย็น หอผึ่งเย็น สุ่มเก็บตัวอย่างน้ำส่งตรวจตามแนวทางการสอบสวนสิ่งแวดล้อมในโรงแรมจากโรคลีเจียนแนร์ และทบทวนความเป็นไปได้ที่นักท่องเที่ยวรายนี้จะติดเชื้อลีเจียนเนลลาจากสิ่งแวดล้อมของโรงแรมจริง

ผลการศึกษา: นักท่องเที่ยวติดเชื้อลีเจียนเนลลาจริง สำหรับคุณภาพน้ำในโรงแรม พบว่าคุณภาพน้ำในโรงแรมหลายแหล่ง ยังไม่ได้มาตรฐาน เช่น ปริมาณคลอรีนอิสระคงเหลือไม่เพียงพอ รวมถึงมีการพบเชื้อลีเจียนเนลลาในน้ำจากแหล่งน้ำของทางโรงแรมที่ปริมาณ 5,000 CFU/L (มาตรฐานยุโรปควรน้อยกว่า 1,000 CFU/L) จึงมีความเป็นไปได้ที่นักท่องเที่ยวป่วยเป็นโรคลีเจียนแนร์จากสิ่งแวดล้อมในโรงแรมแห่งนี้

สรุปและวิจารณ์: เมื่อดูจากประวัตินักท่องเที่ยวรายนี้ มีประวัติ การเจ็บป่วยหลังจากสัมผัสแหล่งน้ำที่โรงแรม 1–3 วัน สอดคล้องกับระยะฟักตัวของโรคลีเจียนแนร์ (2–14 วัน) ร่วมกับพบเชื้อลีเจียนเนลลาจากแหล่งน้ำของทางโรงแรม จึงมีความเป็นไปได้ว่านักท่องเที่ยวรายนี้อาจติดเชื้อลีเจียนแนร์จากน้ำในโรงแรม

References

European Centre for Disease Prevention and Control. Techinical document: European Legionnaires’ Disease Surveillance Network (ELDSNet) [Internet]. 2017 [cited 2023 Feb 12]. Available from: https://www.ecdc.europa.eu/sites/default/files/documents/ELDSNET_2017-revised_guidelines_2017-web_0.pdf

Buathong R, Prasarnthong R. The Guidelines for Environmental Investigation of Travel–associated Legionnaires' Disease. Weekly Epidemiological Surveillance Report [Internet]. 2007 [cited 2023 Feb 12]. Available from: https://wesr-doe.moph.go.th/wesr_new/file/y50/F50521.pdf (in Thai)

Pierre DM, Baron J, Yu VL, Stout JE. Diagnostic testing for legionnaires’ disease. Ann Clin Microbiol Antimicrob. 2017;16:59. doi.org/10.1186/s12941-017-0229-6

Centers for Disease Control and Prevention. Legionnaires disease diagnosis, treatment, and prevention [Internet]. 2021 [cited 2023 Feb 27]. Available from: https://www.cdc.gov/legionella/clinicians/diagnostic-testing.html

Wong AY, Johnsson AT, Iversen A, Athlin S, Özenci V. Evaluation of four lateral flow assays for the detection of legionella urinary antigen. Microorganisms. 2021;9(3):493.

Ito A, Yamamoto Y, Ishii Y, Okazaki A, Ishiura Y, Kawagishi Y, et al. Evaluation of a novel urinary antigen test kit for diagnosing legionella pneumonia. International Journal of Infectious Diseases. 2021; 103:42–7.

Shimada T, Noguchi Y, Jackson JL, Miyashita J, Hayashino Y, Kamiya T, Yamazaki S, Matsumura T, Fukuhara S. Systematic review and metaanalysis urinary antigen tests for Legionellosis. Chest. 2009; 136:1576–85.

Lindsay DS, Abraham WH, Findlay W, Christie P, Johnston F, Edwards GF. Laboratory diagnosis of legionnaires’ disease due to Legionella pneumophila serogroup 1: comparison of phenotypic and genotypic methods. J Med Microbiol. 2004;53(Pt 3):183–7.

Centers for Disease Control and Prevention. Legionnaires disease: Clinical features [Internet]. 2021 [cited 2023 Feb 27]. Available from: https://www.cdc.gov/legionella/clinicians/clinical-features.html

ARM & HAMMER. How to Achieve a Balanced Pool Water pH & Why it Matters [Internet]. [cited 2023 Mar 23]. Available from: https://www.armandhammer.com/en/articles/raise-or-lower-pool-ph-to-proper-level/

Centers for Disease Control and Prevention. Water treatment and testing [Internet]. 2022 [cited 2023 Feb 27]. Available from: https://www.cdc.gov/healthywater/swimming/residential/disinfection-testing.html

Erdoğan H. Legionnaires' disease. Mediterranean Journal of Infection Microbes and Antimicrobials. 2018;7:2.

Department of Labor Logo United States department of Labor. Legionellosis (Legionnaires' Disease and Pontiac Fever) [Internet]. [cited 2023 Mar 1]. Available from: https://www.osha.gov/legionnaires-disease/outbreak-response

World health organization. Legionella and the prevention of legionellosis [Internet]. 2007 [cited 2023 Mar 1]. Available from: https://apps.who.int/iris/bitstream/handle/10665/43233/9241562978_eng.pdf?sequence=1

Department of Health, Ministry of Public Health, Thailand. Notification of the Department of Health on the act to control Legionella in the cooling system [Internet]. 2006 [cited 2023 Mar 6]. Available from: https://library.msu.ac.th/greenoffice/file/category/law/4/4.16 ข้อปฏิบัติการควบคุมเชื้อลีจิโอเนลลาในหอผึ่งเย็นขออาคารในประเทศไทย.pdf (in Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-05-26