การประเมินระบบเฝ้าระวังโรคไข้เลือดออกในโรงพยาบาลห้วยยอด อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง ปี พ.ศ. 2558
คำสำคัญ:
ประเมินระบบเฝ้าระวัง, ไข้เลือดออก, ห้วยยอดบทคัดย่อ
ความเป็นมา: โรคไข้เลือดออกเป็นโรคติดเชื้อไวรัสเด็งกี่ เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของจังหวัดตรังและประเทศไทย จากข้อมูลการเฝ้าระวังและควบคุมโรคของจังหวัดตรัง ปี พ.ศ. 2556-2558 พบอัตราป่วยเท่ากับ 179.71, 73.72 และ 82.39 ต่อประชากรแสนคน ตามลำดับ ในอำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง พบอัตราป่วยเท่ากับ 263.00, 78.00 และ 54.12 ต่อประชากรแสนคนตามลำดับ โดยไม่มีรายงานผู้ป่วยเสียชีวิต แม้ว่าจะมีแนวโน้มรายงานของอัตราป่วยที่ลดลง แต่จากการทบทวนเวชระเบียนพบว่ามีผู้ป่วย 340 คน ส่วนระบบรายงาน 506 พบผู้ป่วยเพียง 50 คน ซึ่งตัวเลขมีความต่างกันมาก ดังนั้นจึงมีความเหมาะสมที่ต้องทำการศึกษาระบบเฝ้าระวังโรคไข้เลือดออก ทั้งในคุณลักษณะเชิงคุณภาพและปริมาณ
วิธีการศึกษา: ศึกษาแบบภาคตัดขวาง ศึกษาคุณลักษณะเชิงคุณภาพและปริมาณในระบบเฝ้าระวัง ทำการทบทวนข้อมูลผู้ป่วยไข้เลือดออกที่มารับการรักษาที่โรงพยาบาลห้วยยอด ระหว่างวันที่ 1 มกราคม-31 ธันวาคม 2558 โดยกำหนดนิยามผู้ป่วยสงสัยผู้ป่วยเข้าข่าย และผู้ป่วยยืนยัน เพื่อใช้ในการทบทวนเวชระเบียนโดยสุ่มตัวอย่างมาศึกษา 569 ราย
ผลการศึกษา: พบว่ามีผู้ป่วยเข้าตามนิยามโรคไข้เลือดออก ไข้เด็งกี่ และไข้เลือดออกช็อก รวม 139 ราย ในจำนวนนี้มีการรายงานในระบบ รง. 506 จำนวน 50 ราย คิดเป็นความไว (Sensitivity) ร้อยละ 35.97 มีค่าพยากรณ์บวก (Predictive value positive: PVP) ร้อยละ 100 ข้อมูลการรายงานไม่สามารถเป็นตัวแทนผู้ป่วยได้ เนื่องจากมีความคลาดเคลื่อนของข้อมูลอย่างมากในด้านของเพศ อายุ และเวลาเกิดโรค มีความทันเวลาในการรายงานภายใน 3 วัน เพียงร้อยละ 64
สรุปและวิจารณ์: ระบบเฝ้าระวังไข้เลือดออกในโรงพยาบาลห้วยยอดมีความจำเป็นในการปรับปรุงการดำเนินงานด้านความไว และความทันเวลา พัฒนาขั้นตอนของงานระบาดวิทยาโดยเฉพาะการวินิจฉัยโรค เพื่อให้ระบบเฝ้าระวังโรคสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างมี ประสิทธิภาพดีขึ้น
References
สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. นิยามโรคติดเชื้อแห่งประเทศไทย. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุครุภัณฑ์ (ร.ส.พ.); 2546.
สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. ไข้เลือดออก (ออนไลน์). [เข้าถึงวันที่ 25 มีนาคม 2559]. เข้าถึงได้จาก http://www.boe.moph.go.th/fact/Dengue_Hae morrhagic_Fever.htm
สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค. DHF จากรายงานการเฝ้าระวังโรค 506 (ออนไลน์). [เข้าถึงวันที่ 25 มีนาคม 2559]. เข้าถึงได้จาก http://www.boe.moph.go.th/boedb/surdata/disease.php?ds=26
สำนักพัฒนาวิชาการแพทย์ กรมการแพทย์ กระทรวง สาธารณสุข. แนวทางการวินิจฉัยและรักษาโรคไข้เลือดออกในระดับโรงพยาบาลทั่วไป/โรงพยาบาลศูนย์. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย; 2548.
ราชวิทยาลัยอายรุแพทย์แห่งประเทศไทยและสมาคมวิชาชีพ. แนวทางการวินิจฉัยและการรักษาไข้เด็งกี่และไข้เลือดออกเด็งกี่ ในผู้ใหญ่ ปี 2556 (ออนไลน์). (เข้าถึงวันที่ 20 เมษายน 2559). เข้าถึงได้จาก http://www.rcpt.org/index.php/2012-10-03-16-53-39/category/6-2013-02-02-09-02-52.html?download=109%3Adengue-guideline-rcpt-2013
บุญใจ ศรีสถิตย์นรากูร. ระเบียบวิธีการวิจัยทางพยาบาลศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพมหานคร: ยูแอนด์ไอ อินเตอร์ มีเดีย 2553. หน้า 180-207.
ไพโรจน์ บุญลักษณ์ศิริ. ก้าวแรกกับการวิจัยและการแพทย์เชิงประจักษ์. สงขลา: ชานเมืองการพิมพ์; 2554.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2017 รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงพิมพ์กับ WESR ถือเป็นข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ใน WESR ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่ง ส่วนใดไปเผยแพร่ กรุณาอ้างอิงบทความนั้น ๆ