การประเมินระบบเฝ้าระวังโรคเลปโตสไปโรสิสของโรงพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข จังหวัดพังงา ปี พ.ศ. 2558

ผู้แต่ง

  • ประกิจ สาระเทพ สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดพังงา
  • วรยศ ผลแก้ว สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดพังงา

คำสำคัญ:

การประเมินระบบเฝ้าระวัง, โรคเลปโตสไปโรสิส, โรงพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข, พังงา

บทคัดย่อ

ความเป็นมา: ปี พ.ศ. 2558 จังหวัดพังงา พบรายงานผู้ป่วยโรคเลปโตสไปโรสิส จากรายงาน 506 รวม 29 ราย ในขณะที่มีผู้ป่วยที่ถูกวินิจฉัยว่าเป็นโรดเลปโตสไปโรสิส (ICD-10: A27 ในฐานข้อมูลของโรงพยาบาลมีมากถึง 109 ราย ประกอบกับปี พ.ศ. 2558 มีผู้ป่วยที่สงสัยโรคเลปโตสไปโรสิสเสียชีวิต 3 ราย สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพังงจึงได้ทำการประเมินระบบเฝ้าระวังโรคเลปโตสไปโรสิสขึ้น เพื่อศึกษาขั้นตอนการรายงานโรค คุณลักษณะเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพของระบบเฝ้าระวัง
วิธีการศึกษา: ศึกษาภาคตัดขวาง โดยศึกษาคุณลักษณะของระบบเฝ้าระวังในเชิงปริมาณ ได้แก่ ความไว ค่าพยากรณ์บวก ความถูกต้อง ความเป็นตัวแทน และความทันเวลา และคุณลักษณะเชิงคุณภาพ ได้แก่ การยอมรับ ความยากง่าย ความยืดหยุ่น ความอยู่ตัวของระบบเฝ้าระวัง และการใช้ประโยชน์จากระบบเฝ้าระวัง โดยทบทวนเวชระเบียนปี พ.ศ. 2558 ที่มีรหัส ICD10: A27 จำนวน 109 รายและของผู้ป่วยโรคที่มีอาการใกล้เคียงอีก 15,836 ราย ในทุกโรงพยาบาลรัฐของจังหวัดพังงา
ผลการศึกษา: ผลการทบทวนเวชระเบียนที่มีอาการเข้าได้กับโรคเลปโตสไปโรสิส 15,836 เวชระเบียนพบผู้ป่วยที่มีอาการเข้าได้ตามนิยามเฝ้าระวังของโรคเลปโตสไปโรสิส 77 ราย และในจำนวนนี้รายงานเข้าระบบเฝ้าระวังเพียง 29 ราย คำนวณค่าความไวของระบบเฝ้าระวัง ร้อยละ 31.17 และค่าพยากรณ์ผลบวก ร้อยละ 82.76 ความครบถ้วน และความถูกต้องของข้อมูลอยู่ในเกณฑ์ดี มีความเป็นความเป็นตัวแทนของข้อมูลในตัวแปรเพศ กลุ่มอายุ อาชีพ และเดือนที่เริ่มป่วย ความทันเวลาร้อยละ 100 คุณลักษณะเชิงคุณภาพ พบว่าระบบมีความง่าย ยืดหยุ่น และความมั่นคงสูง แต่ความยอมรับและการนำไปใช้ประโยชน์ต่ำ
สรุปและวิจารณ์ผล: ระบบเฝ้าระวังโรคเลปโตสไปโรสิสของจังหวัดพังงามีประสิทธิภาพในการดำเนินการ แต่ไม่ได้ใช้ข้อมูลให้เกิดประโยชน์เท่าที่ควรค่าความไวข้อมูลอยู่ในเกณฑ์ระดับต่ำ และค่าพยากรณ์ผลบวกอยู่ในเกณฑ์ระดับสูง ความทันเวลาอยู่ในระดับสูง และสามารถเป็นตัวแทนของผู้ป่วยที่แท้จริงได้ โอกาสพัฒนา คือ การนำนิยามโรคติดเชื้อ พ.ศ. 2546 ของโรคเลปโตสไปโรสิสลงสู่ผู้ปฏิบัติ โดยการจัดทำมาตรฐานการวินิจฉัยโรคเลปโตสไปโรสิส สำหรับบุคลากรทางการแพทย์ให้สอดคล้องตามนิยามโรคติดเชื้อ

References

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือวิชาการโรคเลปโตสไปโรสิส. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์สำนักงาน กิจการโรงพิมพ์ องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก: 2548.

สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. ระบบเฝ้าระวังโรคติดต่อแห่งชาติ (รายงาน 506) โรคเลปโตสไปโรสิส (ออนไลน์). 2559 สืบค้นวันที่ 6 มีนาคม 2559]. เข้าถึงไ ด้จ าก http://www.boe.moph.go.th/boedb/surdata/index.php

สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. นิยามโรคติดเชื้อแห่งประเทศไทย. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุครุภัณฑ์ (ร.ส.พ.); 2546. หน้า 136-7.

สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. เอกสารประกอบการบรรยาย หลักสูตรระบาดวิทยาและการ บริหารจัดการทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว สำหรับแพทย์ หัวหน้าทีมและผู้สอบสวนหลัก ปีงบประมาณ 2559. หน้า 43- 57. (เอกสารอัดสำเนา)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-05-30

ฉบับ

บท

บทความต้นฉบับ