การสอบสวนการเสียชีวิตจากการติดเชื้อ Plasmidium knowlesi อำเภอเบตง จังหวัดยะลา เดือนเมษายน 2559

ผู้แต่ง

  • จิตติ จันทรมงคล โรงพยาบาลเบตง อำเภอเบตง จังหวัดยะลา
  • สมพาส แดงมณีกุล สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยะลา
  • โรม บัวทอง สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค

คำสำคัญ:

มาลาเรีย, เสียชีวิต, Plasmodium knowlesi, ยะลา, ประเทศไทย

บทคัดย่อ

ความเป็นมา: มาลาเรียที่เกิดจากเชื้อ Plasmodium knowlesi จัดเป็นเชื้ออุบัติใหม่ที่ติดต่อจากสัตว์ในป่าโดยเฉพาะลิงในป่าฝนเขตร้อนของภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ และเป็นเชื้อที่ทำให้เกิดอาการรุนแรงได้ มียุงกันปล่องเป็นแมลงนำโรค การศึกษานี้เป็นการสอบสวนผู้ป่วยเสียชีวิตรายแรกของไทยจากโรคมาลาเรีย ชนิด P. knowlesi ซึ่งผู้ป่วยไปรับเชื้อจากป่าลึกบริเวณชายแดนไทย-มาเลเซีย
วิธีการศึกษา: สัมภาษณ์ญาติและผู้ร่วมงานผู้ป่วยเกี่ยวกับอาการทาง คลินิกและประวัติการเดินทางก่อนป่วย รวมทั้งทบทวนเวชระเบียนของผู้ป่วยในโรงพยาบาล ตรวจยืนยันเชื้อก่อโรคทางห้องปฏิบัติการด้วยวิธี PCR และยืนยันสายพันธุ์ด้วยวิธี molecular sequencing รวมทั้งค้นหาผู้ป่วยในประชากรทหารที่มีประวัติเดินทางไปพักในป่า โดยการเจาะเลือดตรวจหาสารพันธุกรรมของเชื้อ P. knowlesi
ผลการศึกษา: ผู้ป่วยเป็นชายไทยอายุ 46 ปี ปฏิเสธโรคประจำตัวมีสุขภาพแข็งแรง มีอาชีพหาของป่าขายโดย 10 วันก่อนป่วยมี ประวัติเดินทางเข้าไปหาของป่าในป่าบาราฮาราบริเวณรอยต่อระหว่างประเทศไทยและมาเลเขีย มาการรักษาที่โรงพยาบาลเบตงด้วยอาการช็อกและรับไว้รักษาตัว ต่อมาไม่รู้สึกตัวมีอาการไตวาย เลือดออกในปอด และเสียชีวิตภายหลังจากรับไว้รักษาเป็นเวลา 8 วัน ผลการตรวจเลือดเบื้องต้นพบเชื้อมาลาเรีย ร้อยละ 4 ผลการตรวจหาเชื้อด้วยชุดคัดกรองพบเชื้อมาลาเรียที่ไม่ใช่ P. falciparum ผลการตรวจยืนยันทางห้องปฏิบัติการพบสารพันธุกรรมของเชื้อ Plasmodium spp. และดำเนินการจำแนกสายพันธุ์ด้วยวิธี Molecular sequencing ยืนยันเชื้อ P. knowlesi และผลการตรวจหาสารพันธุกรรมของเชื้อก่อโรคเขตร้อนให้ผลลบทั้งหมด ยกเว้น Plasmodium spp. จากการค้นหาผู้ป่วยเพิ่มเติมที่มีประวัติเข้าป่า 31 ราย ไม่มีใครป่วยและผลตรวจเลือดไม่พบสาร พันธุกรรมของเชื้อ Plasmodium spp. ทุกราย ในประเทศไทยพบ ผู้ป่วยรวม 45 รายและพบบริเวณชายแดนไทย-มาเลเซียมากที่สุด
สรุปและวิจารณ์: มาลาเรียที่เกิดจาก P. knowlesi สามารถทำให้เกิดการติดเชื้อที่มีอาการรุนแรงและเสียชีวิตในคนที่แข็งแรง ในปัจจุบันมีแหล่งที่มีการระบาดที่สำคัญอยู่ในป่าดิบชื้นของประเทศมาเลเซีย การวินิจฉัยร่วมกับการรักษาด้วยยาต้านมาลาเรียที่เหมาะสมอย่างรวดเร็วมีความสำคัญในการป้องกันภาวะเทรกซ้อน และป้องกันภาวะอวัยวะหลายอย่างล้มเหลวซึ่งนำไปสู่การเสียชีวิต ประวัติการเดินทางเข้าไปในป่ารอยต่อของประเทศไทย-มาเลเซีย ทำให้ต้องนึกถึงมาลาเรียที่เกิดจาก P. knowlesi ควรแนะการป้องกันยุงกันปล่องกัดสำหรับพักอาศัยค้างคืนในป่ามีความจำเป็น ในการป้องกันโรค

References

Balbir Singh, Cyrus Daneshvarb. Human Infections and Detection of Plasmodium knowlesi. Clinical Microbiology Reviews 2013; 26: 165-84.

Jongwutiwes S, Buppan P, Kosuvin R, Seethamchai S, Pattanawong U, Sirichaisinthop J, et al. Plasmodium knowlesi Malaria in Humans and Macaques, Thailand. Emerging Infectious Diseases 2011; 17: 1799-806.

Indra Vythilingam, Yusuf M NoorAzian, Tan Cheong Huat, Adela Ida Jiram, Yusof M Yusri, Abdul H Azahari, et al. Plasmodium knowlesi in humans, macaques and mosquitoes in peninsular Malaysia. Parasites & Vectors 2008; 1:26 doi: 10.1186/1756-3305-1-26

Cox-Singh J, Davis TM, Lee Ks, Shamsul SS, Matusop A, Ratnam S, et al. Plasmodium knowlesi malaria in humans is widely distributed and potentially life threatening. Clin Infect Dis. 2008 Jan 15;46(2):165-71. doi: 10.1086/524888.

Thomas F McCutchan, Robert C Piper, Michael T Makler. Use of Malaria Rapid Diagnostic Test to Identify Plasmodium knowlesi Infection. Emerg Infect Dis. 2008 Nov; 14(11): 1750–2.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-05-31

How to Cite

จันทรมงคล จ., แดงมณีกุล ส., & บัวทอง โ. (2024). การสอบสวนการเสียชีวิตจากการติดเชื้อ Plasmidium knowlesi อำเภอเบตง จังหวัดยะลา เดือนเมษายน 2559. รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์, 48(1), 1–7. สืบค้น จาก https://he05.tci-thaijo.org/index.php/WESR/article/view/2172

ฉบับ

บท

บทความต้นฉบับ