การสอบสวนการระบาดของภาวะแผลเปื่อยทางเดินอาหารทะลุ ในอำเภอบัวใหญ่ บัวลาย และสีดา จังหวัดนครราชสีมา ปี พ.ศ. 2558

ผู้แต่ง

  • ธนิต รัตนธรรมสกุล สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
  • ชาโล สาณศิลปิน สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
  • ชนาพัฒน์ ศรีนครินทร์ โรงพยาบาลบัวใหญ่ อำเภอบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา
  • เอนก มุ่งอ้อมกลาง โรงพยาบาลเทพรัตน์นครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา
  • ปณิธี ธัมมวิจยะ สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
  • จักรรัฐ พิทยาวงศ์อานนท์ สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข

คำสำคัญ:

ภาวะแผลเปื่อยทางเดินอาหารทะลุ, การระบาด, ปัจจัยเสี่ยง, ยาชุด, ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์

บทคัดย่อ

บทนำ: วันที่ 31 สิงหาคม 2558 สำนักระบาดวิทยาได้รับแจ้งว่าพบผู้ป่วยภาวะแผลเปื่อยทางเดินอาหารทะลุ 12 ราย ในเดือนที่ผ่านมา ในพื้นที่อำเภอบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา โดยสงสัยว่าอาจเกี่ยวข้องกับการใช้ยาชุด จึงดำเนินการสอบสวนเพื่อยืนยันการวินิจฉัยและการ ระบาด หาลักษณะทางระบาดวิทยาในผู้ป่วย และบ่งชี้ความแตกต่างของปัจจัยเสี่ยงในผู้ป่วยช่วงก่อนและระหว่างการระบาด
วิธีการศึกษา: ทบทวนเวชระเบียนของผู้ป่วยโรคแผลเปื่อยทางเดินทะลุในอำเภอบัวใหญ่ บัวลาย และสีดา ระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2555 ถึง 31 สิงหาคม 2558 ได้สัมภาษณ์ผู้ป่วยทุกราย รวมถึงสมาชิกในครอบครัว เกี่ยวกับประวัติการเจ็บป่วย รายละเอียดการรักษาในโรงพยาบาล และปัจจัยเสี่ยงที่อาจเป็นไปได้ โดยการสัมภาษณ์ต่อหน้า (face to face interview) ด้วยแบบสอบถามกึ่งโครงสร้าง (semi- structure questionnaire) อีกทั้งได้ค้นหาผู้ป่วยเพิ่มเติมควบคู่กับการสำรวจสิ่งแวดล้อม ซึ่งรวมถึงการสุ่มเก็บตัวอย่างยาชุดอย่างเจาะจง (purposive sampling) ข้อมูลที่ได้ถูกนำมาพรรณนาและวิเคราะห์ด้วยรูปแบบการวิจัยแบบ "case-case comparison study design"
ผลการศึกษา: พบผู้ป่วยภาวะแผลเปื่อยทางเดินอาหารทะลุในช่วงก่อนการระบาด (1 มกราคม 2555-16 กรกฎาคม 2558) จำนวน 36 ราย และในช่วงระหว่างการระบาด (17 กรกฎาคม-31 สิงหาคม 2558) 8 ราย ทั้งหมดเป็นเพศชาย อายุระหว่าง 43-83 ปี (มัธยฐานเท่ากับ 57.5 ปี) อาการและอาการแสดงที่พบบ่อย ได้แก่ ท้องอืดร้อยละ 87.5 ปวดท้องร้อยละ 75.0 และการกดเจ็บบริเวณหน้าท้องร้อยละ 87.5 หน้าท้องแข็งเกร็งร้อยละ 75.0 ตรวจพบลมรั่วใต้กระบังลมจาก ภาพถ่ายทางรังสีวิทยาร้อยละ 87.5 แผลเปื่อยทางเดินอาหารที่พบ ร้อยละ 75.0 เป็นชนิดที่ 3 ผลการตรวจหาเชื้อ Helicobacter pylori ทั้งหมดให้ผลลบผู้ป่วยมีการสูบบุหรี่คิดเป็นร้อยละ 87.5 ดื่ม แอลกอฮอล์ร้อยละ 37.5 ใช้ยาชุดแก้ปวดเมื่อยร้อยละ 75.0 ใช้ยาสมุนไพรร้อยละ 37.5 อดอาหารร้อยละ 66.7 และรับประทานอาหารรสเผ็ดจัดร้อยละ 55.6 จากการศึกษาเชิงวิเคราะห์พบว่าการใช้ยาชุดแก้ปวดเมื่อยและประวัติปวดจุกเสียดแน่นท้องของผู้ป่วยในช่วง ระหว่างการระบาดมีความแตกต่างกับผู้ป่วยในช่วงก่อนหน้าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P-value = 0.025 และ 0.026 ตามลำดับ) จากการสุ่มเก็บตัวอย่างยาชุด พบว่า 8 ใน 10 ตัวอย่าง น่าจะมีส่วนประกอบของยาต้านอาการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) หรือยาสเตียรอยด์อย่างน้อยหนึ่งชนิด
สรุปผล: การสอบสวนกรณีพบผู้ป่วยภาวะแผลเปื่อยทางเดินอาหารทะลุครั้งนี้ เข้าข่ายเป็นการระบาดของโรคผู้ป่วยส่วนใหญ่มีประวัติรับประทานยาชุด สูบบุหรี่ อดอาหาร และรับประทานอาหารรสเผ็ดจัดในช่วงระหว่างการระบาด ผู้ป่วยมีอัตราการใช้ยาชุดแก้ปวดเมื่อยสูงกว่าผู้ป่วยในช่วงก่อนเกิดการระบาด ยาชุดแก้ปวดเมื่อยในช่วงการระบาดน่าจะมีส่วนประกอบของ NSAIDs ในปริมาณมาก ควรมีการควบคุมการใช้ยาชุดแก้ปวดเมื่อย ให้ความรู้แก่ประชาชนถึงอันตรายของยาชุดอย่างต่อเนื่อง และควรมีการจัดตั้งระบบเฝ้าระวัง เพื่อให้มีการจัดเก็บข้อมูลสำหรับวิเคราะห์สาเหตุของปัญหา และพิจารณาหาแนวทางที่ถูกต้องในการป้องกันควบคุมโรคในระยะยาว

References

Najm WI. Peptic ulcer disease. Prim Care. 2011; 38: 383-94.

Moller MH, Adamsen S, Thomsen RW, Moller AM, group PUPPt. Multicentre trial of a perioperative protocol to reduce mortality in patients with peptic ulcer perforation. Br J Surg. 2011;98(6):802-10.

Thorsen K, Soreide JA, Kvaloy JT, Glomsaker T, Soreide K. Epidemiology of perforated peptic ulcer: age- and gender- adjusted analysis of incidence and mortality. World J Gastroenterol. 2013;19(3):347-54.

Christensen A, Bousfield R, Christiansen J. Incidence of perforated and bleeding peptic ulcers before and after the introduction of H2-receptor antagonists. Ann Surg. 1988;207(1):4-6.

Hermansson M, Ekedahl A, Ranstam J, Zilling T. Decreasing incidence of peptic ulcer complications after the introduction of the proton pump inhibitors, a study of the Swedish population from 1974-2002. BMC Gastroenterol. 2009;9:25.

Svanes C, Lie RT, Kvale G, Svanes K, Soreide O. Incidence of perforated ulcer in western Norway, 1935-1990: cohort- or period-dependent time trends? Am J Epidemiol. 1995;141(9):836-44.

Paimela H, Oksala NK, Kivilaakso E. Surgery for peptic ulcer today. A study on the incidence, methods and mortality in surgery for peptic ulcer in Finland between 1987 and 1999. Dig Surg. 2004;21(3):185-91.

Higham J, Kang JY, Majeed A. Recent trends in admissions and mortality due to peptic ulcer in England: increasing frequency of haemorrhage among older subjects. Gut. 2002:50(4):460-4.

Crowde SE. "Peptic ulcer disease Association between Helicobacter pylori infection and duodenal ulcer." [cited 2015 Aug 27]. Available from: http://www.uptodate.com/contents/association-between-helicobacter-pylori-infection-and-duodenal-ulcer.

"antral mucosa - Humpath.com - Human pathology". [cited 2015 Aug 27]. Available from: http://web.archive.org.

Sostres C, Gargallo CJ, Lanas A. Nonsteroidal anti- inflammatory drugs and upper and lower gastrointestinal mucosal damage. Arthritis Res Ther. 2013;15 Suppl 3:53.

Steinberg KP. Stress-related mucosal disease in the critically ill patient: risk factors and strategies to prevent stress-related bleeding in the intensive care unit. Crit Care Med. 2002;30(6 Suppl):S362-4.

Fink G. Stress controversies: post-traumatic stress disorder, hippocampal volume, gastroduodenal ulceration*. J Neuroendocrinol. 2011;23(2):107-17.

Yeomans ND. The ulcer sleuths: The search for the cause of peptic ulcers. J Gastroenterol Hepatol. 2011;26 Suppl 1:35-41.

National Digestive Diseases Information Clearinghouse. "Peptic Ulcer Disease" [cited 2015 Aug 27]. Available from: http://www.niddk.nih.gov/health-information/health-topics/digestive-diseases/peptic-ulcer/Pages/overview.aspx

Ryan-Harshman M, Aldoori W. How diet and lifestyle affect duodenal ulcers. Review of the evidence. Can Fam Physician. 2004;50:727-32.

Rubin,R., Strayer, D, et al. Rubin's pathology: clinicopathologic foundations of medicine. Sixth Edition. Philadelphia: Wolters Kluwer Health/Lippincott Williams & Wilkins. p. 623.

Salih BA, Abasiyanik MF, Bayyurt N, Sander E. H pylori infection and other risk factors associated with peptic ulcers in Turkish patients: a retrospective study. World J Gastroenterol. 2007;13(23):3245-8.

Sonnenberg A, Muller-Lissner SA, Vogel E, Schmid P, Gonvers JJ, Peter P, et al. Predictors of duodenal ulcer healing and relapse. Gastroenterology. 1981;81(6):1061-7.

Kato I, Nomura AM, Stemmermann GN, Chyou PH. A prospective study of gastric and duodenal ulcer and its relation to smoking, alcohol, and diet. Am J Epidemiol. 1992;135(5):521-30.

Martin DF, Montgomery E, Dobek AS, Patrissi GA, Peura DA. Campylobacter pylori, NSAIDS, and smoking: risk factors for peptic ulcer disease. Am J Gastroenterol. 1989;84(10):1268-72.

Kurata JH, Nogawa AN. Meta-analysis of risk factors for peptic ulcer. Nonsteroidal antinflammatory drugs, Helicobacter pylori, and smoking. J Clin Gastroenterol. 1997;24(1):2-17.

McConnell DB, Baba GC, Deveney CW. Changes in surgical treatment of peptic ulcer disease within a veterans hospital in the 1970s and the 1980s. Arch Surg. 1989;124(10):1164-7.

Lickstein, LH, Matthews, JB. Elective surgical management of peptic ulcer disease. Probl General Surgery 1997; 14:37.

Brunicardi FC, Andersen DK, Billiar TR, Dunn DL, Hunter JG, Matthews JB, Pollock RE, eds. Schwartz's Principles of Surgery. 9th ed. New York: McGraw-Hill; 2010. [cited 2015 Aug 27] Available from: http://www.accessmedicine.com

Hernandez-Diaz S, Rodriguez LA. Steroids and risk of upper gastrointestinal complications. Am J Epidemiol. 2001;153(11):1089-93.

Kitirattrakarn B, Euasitanakorn S, Choorat P. Identification and Classification of Drugs Contained in Yachud for Pain Relief in the Lower Northeast of Thailand. Bulletin of the Department of Medical Sciences. 1995;37(4): 311-21.

Ussanawarong S. Survey of Steroid in Ya-Chud. Srinagarind Medical Journal 1994; 9(2). 29. อุดม วิศิษฎสุนทร, รัตนาวดี ณ นคร, บรรณาธิการ. คู่มือสำหรับประชาชนโรคกระดูกพรุนปวดหลัง. กรุงเทพฯ: สมาคมรูมาติสซั่มแห่ง ประเทศไทย; 2543.

Flower RJ. The development of COX2 inhibitors. Nat Rev Drug Discov. 2003;2(3):179-91.

Blot WJ, McLaughlin JK. Over the counter non-steroidal anti-inflammatory drugs and risk of gastrointestinal bleeding. J Epidemiol Biostat. 2000;5(2):137-42.

กิน'สเตียรอยด์'เกินยารักษากลายเป็นยาพิษ. สถาบันวิจัยระบบ สาธารณสุข.[เข้าถึงเมื่อ 2015 Aug 27]. เข้าถึงได้จาก http://www.hsri.or.th/people/media/care/detail/5966

"ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แบ่งเขตท้องที่อำเภอบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา ตั้งเป็นกิ่งอำเภอบัวลาย". ราชกิจจานุเบกษา 114 (พิเศษ 51 ง): 9. 25 มิถุนายน 2540.

Moller MH, Adamsen S, Thomsen RW, Moller AM, group PUPPt. Multicentre trial of a perioperative protocol to reduce mortality in patients with peptic ulcer perforation. Br J Surg. 2011;98(6):802-10.

Hemmer PH, de Schipper JS, van Etten B, Pierie JP, Bonenkamp JJ, de Graaf PW, et al. Results of surgery for perforated gastroduodenal ulcers in a Dutch population. Dig Surg. 2011;28(5-6):360-6.

Critchley AC, Phillips AW, Bawa SM, Gallagher Pv. Management of perforated peptic ulcer in a district general hospital. Ann R Coll Surg Engl. 2011;93(8):615-9.

Bae S, Shim KN, Kim N, Kang JM, Kim DS, Kim KM, et al. Incidence and short-term mortality from perforated peptic ulcer in Korea: a population-based study. J Epidemiol. 2012;22(6):508-16.

Soreide K, Thorsen K, Harrison EM, Bingener J, Moller MH, Ohene-Yeboah M, et al. Perforated peptic ulcer. Lancet. 2015;386(10000):1288-98.

Rigopoulos A, Ramboiu S, Georgescu I. A critical Evaluation of Surgical Treatment of Perforated Ulcer. Curr Health Sci J. 2011337(2):75-8.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-05-31

How to Cite

รัตนธรรมสกุล ธ., สาณศิลปิน ช., ศรีนครินทร์ ช., มุ่งอ้อมกลาง เ., ธัมมวิจยะ ป., & พิทยาวงศ์อานนท์ จ. (2024). การสอบสวนการระบาดของภาวะแผลเปื่อยทางเดินอาหารทะลุ ในอำเภอบัวใหญ่ บัวลาย และสีดา จังหวัดนครราชสีมา ปี พ.ศ. 2558. รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์, 48(5), 65–73. สืบค้น จาก https://he05.tci-thaijo.org/index.php/WESR/article/view/2193

ฉบับ

บท

บทความต้นฉบับ