การเสียชีวิตสองรายซ้อนจากพิษแมงกะพรุนกล่อง จังหวัดสุราษฎร์ธานี ปี พ.ศ. 2558: ปัญหาที่ยังไม่จบ

ผู้แต่ง

  • ชาโล สาณศิลปิน โครงการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านเวชศาสตร์ป้องกันแขนงระบาดวิทยา สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค
  • หัทยา กาญจนสมบัติ สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค
  • สมานศรี คำสมาน สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 11 จังหวัดนครศรีธรรมราช
  • ฆาลิตา อานนท์ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 11 จังหวัดนครศรีธรรมราช
  • คนิสสร นาคน้อย สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุราษฎร์ธานี
  • ลักขณา ไทยเครือ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • ปณิธี ธัมมวิจยะ โครงการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านเวชศาสตร์ป้องกันแขนงระบาดวิทยา สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค

คำสำคัญ:

การได้รับสารพิษ, แมงกะพรุนกล่อง, พิษจากสัตว์ทะเล, มาตรการป้องกัน, ประเทศไทย

บทคัดย่อ

บทนำ: เมื่อเดือนกรกฎาคม-ตุลาคม 2558 ทีมเฝ้าระวังสถานการณ์ กรมควบคุมโรค ได้รับรายงานจากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุราษฎร์ธานีว่า พบผู้เสียชีวิตสงสัยบาดเจ็บจากแมงกะพรุนกล่อง จำนวน 2 ราย ทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็วจึงได้ดำเนินการ สอบสวนเหตุการณ์โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อยืนยันการวินิจฉัย ศึกษา ลักษณะทางระบาดวิทยาของการบาดเจ็บ และแนะนำมาตรการ ป้องกันควบคุมโรคที่เหมาะสม
วิธีการศึกษา: ศึกษาระบบการจัดการผู้บาดเจ็บตั้งแต่จุดเกิดเหตุ จนถึงโรงพยาบาล ทบทวนเวชระเบียน สัมภาษณ์ผู้ให้การรักษาเพื่อนผู้เสียชีวิต ผู้เห็นเหตุการณ์ ผู้ประกอบการธุรกิจโรงแรมและท่องเที่ยว ค้นหาผู้บาดเจ็บจากแมงกะพรุนกล่องเพิ่มเติมโดยจำแนกประเภทของผู้บาดเจ็บตามลักษณะบาดแผลและอาการ ศึกษาสภาพแวดล้อมที่เกิดเหตุมาตรการป้องกันในพื้นที่ ระบบป้องกันเตือนภัยต่าง ๆ รวมถึงความรู้เรื่องการปฐมพยาบาลเบื้องต้นของคนในพื้นที่
ผลการศึกษา: ผู้ป่วยพิษเสียชีวิตจากแมงกะพรุนกล่อง 2 ราย โดยรายแรกหญิงไทยอายุ 31 ปี เสียชีวิตวันที่ 31 กรกฎาคม 2558 บริเวณหาดริ้น เกาะพะงัน และรายที่สอง หญิงเยอรมัน อายุ 20 ปี เสียชีวิตวันที่ 6 ตุลาคม 2558 บริเวณหาดละไม เกาะสมุย ผู้เสียชีวิต ทั้งสองรายมีอาการปวดแผลและกรีดร้อง ขณะเล่นน้ำทะเลตอนกลางคืน หลังจากนั้นเพื่อนได้ตะโกนขอความช่วยเหลือ แต่ไม่มีผู้ใดให้ความสนใจผู้เสียชีวิตได้พยายามแกะหนวดแมงกะพรุนออกจากร่างกาย จากนั้นได้รับการช่วยฟื้นคืนชีพรวมถึงการปฐมพยาบาล ด้วยน้ำส้มสายชูอย่างไม่เหมาะสม และได้เสียชีวิตที่โรงพยาบาลในเวลาต่อมา จากการค้นหาผู้บาดเจ็บเพิ่มเติม พบผู้บาดเจ็บเข้าข่าย 2 รายและผู้บาดเจ็บสงสัย 1 ราย และผลจากการศึกษาสิ่งแวดล้อม พบว่า ไม่มีป้ายเตือนให้ความรู้เรื่องการปฐมพยาบาลบริเวณริม ชายหาดที่เกิดเหตุ และเสาปฐมพยาบาลน้ำส้มสายชูมีจำนวนไม่เพียงพอและไม่สามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจน
สรุปและอภิปรายผล: ปัจจัยที่น่าจะมีส่วนกระตุ้นให้ผู้บาดเจ็บเสียชีวิต คือ การปฐมพยาบาลเบื้องต้นที่ไม่เหมาะสม ได้แก่ การดึงหนวดของแมงกะพรุนกล่องออกและการเทนำส้มสายชูบริเวณบาดแผลอย่างไม่ทันท่วงที ดังนั้น การเพิ่มป้ายเดือนให้ความรู้การเพิ่มเสาปฐมพยาบาลน้ำส้มสายชูที่บริเวณชายหาด รวมถึงเน้นย้ำ ให้ประชาชนมีความรู้และความตระหนักในเรื่องการปฐมพยาบาล ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญในการป้องกันการเสียชีวิตจากแมงกะพรุนกล่องต่อไปในอนาคต

References

สุภาพร องสารา, ถนอมพงศ์ บัวบรรจง, ธนัญญา ไทยกลาง. ชนิดและการแพร่กระจายของแมงกะพรุนบริเวณชายฝั่งของ จ. นครศรีธรรมราช จ.สงขลา และจ.ปัตตานี. วารสารทรัพยากรทาง ทะเลและชายฝั่ง 2554; 1(2): 4-17.

พจมาน ศิริอารยาภรณ์, ลักขณา ไทยเครือ. การรักษาและ ป้องกันการบาดเจ็บและเสียชีวิตจากแมงกะพรุน Box jellyfish กับ Portuguese man-of-war; 2557.

สถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเลชายฝั่งทะเลและป่าชายเลน กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง. คู่มือจำแนกชนิดแมงกะพรุนกล่องศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอ่าวไทยตอนล่าง; 2554.

สำนักงานสาธารณสุขสุราษฎร์ธานี [อินเตอร์เน็ท. สุราษฎร์ธานี: แผนพัฒนาจังหวัดสุราษฎร์ธานี. [สืบค้นวันที่ 30 ตุลาคม 2558]. เข้าถึงได้จาก 123.242.172.2/home/document/cha_1(57-60).doc

สำนักงานสาธารณสุขสุราษฎร์ธานี [อินเตอร์เน็ท. สุราษฎร์ธานี: หน่วยงานสาธารณสุขภาครัฐ จังหวัดสุราษฎร์ธานี. [สืบค้นวันที่ 30 ตุลาคม 2558]. เข้าถึงได้จาก http://www.stpho.go.th /healthroom/PDF/name.pdf

กรมการท่องเที่ยว. ระบบข้อมูลแหล่งท่องเที่ยว [อินเตอร์เน็ท]. กรุงเทพฯ: สถิตินักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ. [สืบค้นวันที่ 30 ตุลาคม 2558]. เข้าถึงได้จาก http://61.19.236.136:8090/dotr/statistic.php?year=2014&tourist_group=foreigners&province=สุราษฎร์ธานี®ion=&cluster

ส่วนพัฒนาความร่วมมือภาคเอกชนและกิจการพิเศษ สำนักพัฒนาและส่งเสริมการบริหารราชการจังหวัด สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย [อินเตอร์เน็ท]. กรุงเทพฯ: โครงการประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน อำเภอเกาะพะงัน จังหวัดสุราษฎร์ธานี. [สืบค้นวันที่ 30 ตุลาคม 2558]. เข้าถึงได้จาก www.jpp.moigo.th/media/files/25_08_2558_1.doc

At Siam Tour [อินเตอร์เน็ท]. กรุงเทพฯ: ข้อมูลทั่วไปของเกาะพะงัน. [สืบคันวันที่ 30 ตุลาคม 2558]. เข้าถึงได้จาก http://www.atsiam.com/articles/article_detail.asp?AR_ID=46

บริษัท เว็บสวัสดี จำกัด (มหาชน) [อินเตอร์เน็ท]. กรุงเทพฯ: ชายหาดและเกาะต่าง ๆ ในเกาะสมุย. [สืบค้นวันที่ 30 ตุลาคม 2558]. เข้าถึงได้จาก http://www.sawadee.co.th/samui/beaches-islands.html

Jouiaei M, Casewell NR, Yanagihara AA, Nouwens A, Cribb BW, Whitehead D, et al. Firing the sting: chemically induced discharge of cnidae reveals novel proteins and peptides from box jellyfish (Chironex fleckeri) venom. Toxins (Basel) 2015 Mar 18;7(3):936- 50. doi: 10.3390/toxins7030936

ไพลิน ผู้พัฒน์, สุขุม พิริยะพรพิพัฒน์, ธานี เข้งนุเคราะ, พิบูลย์ รองศิริคง, หัทยา กาญจนสมบัติ, โสภณ เอี่ยมศิริถาวร. การ สอบสวนผู้ป่วยเข้าข่ายถูกพิษแมงกะพรุนกล่องเกาะกูด จังหวัดตราด เดือนธันวาคม 2555. รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์ 2558; 46: 769-77.

ธนวดี จันทร์เทียน. รายงานผลการสอบสวนการบาดเจ็บเบื้องต้น ผู้ป่วยสงสัยพิษจากแมงกะพรุนกล่องเสียชีวิต อ.เกาะพะงัน จ.สุราษฎร์ธานี. บันทึกข้อความส่วนราชการ กลุ่มพัฒนานัก- ระบาดวิทยาภาคสนามและเครือข่าย สำนักระบาดวิทยา ที่ สธ 0420.1.1/9683 10 กันยายน 2557.

Bart J Currie, Susan P Jacups. Prospective study of Chironex fleckeri and other box jellyfish stings in the "Top End" of Australia's Northern Territory. Med J Aust 2005; 183 (11): 631-6.

วีรวัฒน์ ยอแสงรัตน์. ความชุกของผู้ป่วยจากการสัมผัสแมงกะพรุนพิษที่ได้รับการรักษาในโรงพยาบาลกระบี่ ปี พ.ศ. 2553-2556 และองค์ความรู้ใหม่เพื่อลดความรุนแรงของการ บาดเจ็บและเสียชีวิตจากแมงกะพรุนพิษ. วารสารควบคุมโรค 2558; 41(1): 23-8.

Thaikruea L, Siriariyaporn P. Severe Dermatonecrotic Toxin and Wound Complications Associated With Box Jellyfish Stings 2008-2013. Journal of Wound, Ostomy and Continence Nursing Issue 2015; 42(6):599-604.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-01

How to Cite

สาณศิลปิน ช., กาญจนสมบัติ ห., คำสมาน ส., อานนท์ ฆ., นาคน้อย ค., ไทยเครือ ล., & ธัมมวิจยะ ป. (2024). การเสียชีวิตสองรายซ้อนจากพิษแมงกะพรุนกล่อง จังหวัดสุราษฎร์ธานี ปี พ.ศ. 2558: ปัญหาที่ยังไม่จบ. รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์, 48(7), 97–104. สืบค้น จาก https://he05.tci-thaijo.org/index.php/WESR/article/view/2199

ฉบับ

บท

บทความต้นฉบับ