การสอบสวนผู้ป่วยโรคเมลิออยด์ หมู่ 3 ตำบลคุระ อำเภอคุระบุรี จังหวัดพังงา เดือนเมษายน-พฤษภาคม 2558

ผู้แต่ง

  • ศุภโชค ทิพยพัฒนกุล โรงพยาบาลคุระบุรีชัยพัฒน์ จังหวัดพังงา
  • ศักด์ชาย เรืองศรี โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเตรียม สำนักงานสาธารณสุข อำเภอคุระบุรี จังหวัดพังงา
  • อุดมทรัพย์ แสงเกิด สำนักงานสาธารณสุขอำเภอคุระบุรี จังหวัดพังงา
  • อังสนา นันโท โรงพยาบาลคุระบุรีชัยพัฒน์ จังหวัดพังงา
  • โอภาส คันธานนท์ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพังงา

คำสำคัญ:

เมลิออยโดสิส, ดิน, ติดเชื้อในกระแสโลหิต, พังงา

บทคัดย่อ

ความเป็นมา: วันที่ 22 เมษายน 2558 งานระบาดวิทยา โรงพยาบาลคุระบุรีชัยพัฒน์ ได้รับแจ้งจากแผนกผู้ป่วยในว่ามีผู้ป่วยโรคเมลิออยด์เข้ารับการรักษา ทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็วได้สอบสวน โรคระหว่างวันที่ 23 เมษายน-22 พฤษภาคม 2558 วัตถุประสงค์เพื่อยืนยันการวินิจฉัยโรค ศึกษาลักษณะทางระบาดวิทยาเชิงพรรณนา หาสาเหตุ แหล่งโรค และแนวทางในการควบคุมป้องกันโรค
วิธีการศึกษา: ศึกษาระบาดวิทยาเชิงพรรณนา โดยทบทวนเวชระเบียนผู้ป่วย สัมภาษณ์ผู้ป่วยและญาติ รวมทั้งค้นหาผู้ติดเชื้อเพิ่มเติม โดยการเจาะเลือดผู้ที่อาศัยอยู่ในครอบครัวเดียวกันและเพื่อนร่วมงานผู้ป่วยส่งตรวจ Melioidosis IgM โดยวิธี Immuno- fluorescent Assay (IFA) เก็บตัวอย่างดินและน้ำในบริเวณบ้าน และสถานที่ที่ผู้ป่วยไปสัมผัส
ผลการศึกษา: พบผู้ป่วยโรคเมลิออยด์ 1 ราย อายุ 62 ปี ประกอบ อาชีพประมง ไม่มีโรคประจำตัว ผลการเพาะเชื้อจากเลือดพบเชื้อ Burkholderia pseudomallei ผู้ป่วยมีการติดเชื้อในกระแสเลือด ร่วมกับการติดเชื้อในอวัยวะอื่น ๆ มากกว่า 1 ตำแหน่ง (Disse- minated septicemic melioidosis) โดยพบการติดเชื้อระบบ ทางเดินปัสสาวะ ปอดอักเสบ และมีภาวะตับอักเสบร่วมด้วย ผล การทดสอบความไวของยาปฏิชีวนะต่อเชื้อ พบว่า Ceftazidime ยังคงมีความไวต่อเชื้อ ผู้ป่วยมีพฤติกรรมเสี่ยง คือ ไม่ชอบสวมรองเท้า เดินย่ำดินบริเวณรอบบ้านเป็นประจำ และต้องลุยโคลน หลังจากนำเรือจอดที่ท่าเรือ จากการค้นหาผู้ป่วยเพิ่มเติมไม่พบ ผู้ป่วยตามนิยามที่มีอาการเข้าได้กับโรคเมลิออยด์ ผลการตรวจ เลือดสมาชิกร่วมบ้านและผู้มีพฤติกรรมเสี่ยงร่วมกับผู้ป่วยด้วยวิธี IFA พบผู้ติดเชื้อแต่ไม่มีอาการ (subclinical infection) 1 ราย ซึ่งเป็นผู้ที่ออกเรือร่วมกับผู้ป่วย ผลการเพาะแยกเชื้อจากดิน พบ ตัวอย่างดินที่มีเชื้อ Burkholderia pseudomallei จำนวน 2 ตัวอย่าง จาก 9 ตัวอย่าง (ร้อยละ 22.2) ซึ่งเป็นดินบริเวณหน้าบ้านของผู้ป่วย และดินข้างถนนทางเข้าหมู่บ้าน ส่วนน้ำดื่ม น้ำใช้ และ น้ำจากแอ่งน้ำข้างบ้านผู้ป่วยไม่พบเชื้อ
สรุปและวิจารณ์: เนื่องจากผู้ป่วยไม่ได้เดินทางออกนอกพื้นที่มาหลายปี สาเหตุของการติดเชื้อในครั้งนี้คาดว่าน่าจะได้รับเชื้อจากดินที่ปนเปื้อนเชื้อบริเวณบ้านผู้ป่วยเองได้ให้ความรู้ผู้ป่วย ญาติ และชุมชนถึงการป้องกันโรค โดยเน้นการสวมรองเท้าทุกครั้งเมื่อออกจากบ้าน และรีบทำความสะอาดร่างกายด้วยน้ำสะอาด และฟอกสบู่ทันทีหลังสัมผัสดินโคลน แพทย์ควรนึกถึงโรคนี้เสมอในพื้นที่ที่พบผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง ภายหลังการเฝ้าระวังโรคในพื้นที่ยัง ไม่พบผู้ป่วยโรคเมลิออยด์เพิ่มเติม 

References

Mahidol Oxford Tropical Medicine Research Unit. Quick Summary Document for Ministry of Public Health Thailand, September 2013 [Online]. 2013 [cited 2015 May 5]. Available from: http://www.melioidosis.info/download/20130922143216melioidosissummaryformoph20130907.pdf

สำนักโรคติดต่ออุบัติใหม่ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือการป้องกันควบคุมโรคติดต่ออุบัติใหม่สำหรับบุคลากร สาธารณสุขทางการแพทย์และสาธารณสุข ปี 2554. ในโรคเมลลิออยโดสิส. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: สำนักงาน กิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก; 2554. หน้า 373-84. 3.

จินตาหรา มังคะละ. โรคเมลิออยโดสิสของระบบกล้ามเนื้อ กระดูกและข้อ. วารสารโรคข้อและรูมาติสซั่ม 2552; 4: 137-68.

วรรณพร วุฒิเอกอนันต์ และสุรศักดิ์ วงศ์รัตนชีวิน. การตรวจ วินิจฉัยโรคเมลิออยโดสิสทางห้องปฏิบัติการ (ออนไลน์). [ค้นหาเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2558]. เข้าถึงได้จาก: http://www.md.kku.ac.th/melioid2/labdiagnosis.pdf

Ploenchan Chetchotisakd. Evidence Based Therapy on Melioidosis. Srinagarind Med J 2010; 25 (Suppl): 63-7.

นริศร นางาม, พิทักษ์ น้อยเมล์, พันเพชร น้อยเมล์, ชมพูนุท หมื่นละไพร.ความชุกของการพบเชื้อ Burkholderia pseudomallei ในดินภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เปรียบเทียบ กับภาคเหนือและภาคใต้ของประเทศไทย. วารสารวิทยาลัย หนองคาย มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2542; 2(1): 10-8.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-01

How to Cite

ทิพยพัฒนกุล ศ., เรืองศรี ศ., แสงเกิด อ., นันโท อ., & คันธานนท์ โ. (2024). การสอบสวนผู้ป่วยโรคเมลิออยด์ หมู่ 3 ตำบลคุระ อำเภอคุระบุรี จังหวัดพังงา เดือนเมษายน-พฤษภาคม 2558. รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์, 48(11), 161–168. สืบค้น จาก https://he05.tci-thaijo.org/index.php/WESR/article/view/2215

ฉบับ

บท

บทความต้นฉบับ