การสอบสวนโรคมือ เท้า ปากจากเชื้อ Enterovirus 71 ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กแห่งหนึ่ง ตำบลบ้านกลาง อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ วันที่ 1-2 กันยายน 2558
คำสำคัญ:
โรคมือ เท้า ปาก, Enterovirus 71, การระบาด, ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก, เชียงใหม่บทคัดย่อ
ความเป็นมา: วันที่ 1 กันยายน 2558 โรงพยาบาลสันป่าตองได้รับแจ้งจากศูนย์พัฒนาเด็กเล็กแห่งหนึ่งว่าพบโรคมือ เท้า ปาก 2 ราย ทีมเฝ้าระวังและสอบสวนเคลื่อนที่เร็วลงสอบสวนโรคระหว่างวันที่ 1-2 กันยายน 2558 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อยืนยันการวินิจฉัยโรค และการระบาดของโรคมือเท้าปาก เพื่อหาสาเหตุของโรคและอธิบายลักษณะทางระบาดวิทยา เพื่อหาปัจจัยเสี่ยงของการระบาด และให้คำแนะนำการป้องกันควบคุมโรคเบื้องต้น
วิธีการศึกษา: ศึกษาระบาดเชิงพรรณนา โดยการค้นหาผู้ป่วยเพิ่มเติมในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โดยใช้นิยามโรคมือ เท้า ปาก และ Herpangina สำรวจสิ่งแวดล้อมของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก การตรวจทางห้องปฏิบัติการเพื่อยืนยันสาเหตุของเชื้อก่อโรคโดยวิธี RT-PCR และระบุสายพันธุ์ย่อยโดยวิธี molecular sequencing และศึกษาระบาดวิทยาเชิงวิเคราะห์ เพื่อหาพฤติกรรมที่เป็นปัจจัยสี่ยงต่อการเกิดโรคและกำจัดตัวกวนด้วยวิธี stratify analysis
ผลการศึกษา: พบเด็กที่ป่วยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กแห่งนี้ทั้งหมด 14 ราย เป็นโรคมือเท้าปาก 13 ราย เป็น Herpangina 1 ราย อัตราป่วยร้อยละ 26.92 ผู้ป่วยรายแรกเริ่มป่วยวันที่ 23 สิงหาคม 2558 และรายสุดท้ายวันที่ 31 สิงหาคม 2558 อัตราส่วนเพศชายต่อเพศหญิง เท่ากับ 1.3 : 1 พบอายุ 1 ปีมากที่สุดพิสัย 1-4 ปี เชื้อที่เป็นสาเหตุของการระบาดครั้งนี้ คือ Enterovirus 71 สายพันธุ์ย่อย B5 (11/15 ราย) ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคในครั้งนี้ คือ หยิบของเข้าปาก (RR = 3.00, 95%CI 1.32-6.80) และเล่นกับเพื่อนที่ป่วย (RR = 3.00, 95%CI 1.40-6.43) หลังจากกำจัดตัวกวนพบว่าการหยิบของเข้าปากเป็นปัจจัยเสี่ยงที่แท้จริง (adj. RR = 2.40, 95%CI 1.16-4.96) มาตรการควบคุมโรคกำหนดให้หยุดเรียนเป็นเวลา 1 สัปดาห์และเฝ้าระวังโรคต่ออีก 1 สัปดาห์ ทำความสะอาดและฆ่า เชื้อด้วยคลอรีนในห้องเรียนและของเล่นมีการคัดกรองเด็กนักเรียน ทุกคนก่อนเข้าโรงเรียนทุกคนและทุกวันอย่างต่อเนื่องเป็นเวลา 7 วัน หลังจากเฝ้าระวัง 14 วัน ต่อไม่พบผู้ป่วยเพิ่ม
สรุปและวิจารณ์ผล: พบการระบาดของโรคมือ เท้า ปาก และ Herpangina ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ โดยพบเชื้อก่อโรคที่มีความรุนแรง คือ EV71 สายพันธุ์ย่อย B5 สายพันธุ์นี้มีรายงานทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนทางสมอง และเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตได้ ดังนั้นการควบคุมโรคอย่าง เร่งด่วนและการทำลายเชื้อในสถานที่รวมทั้งของเล่นด้วยคลอรีนในและรายสุดท้ายวันที่ 31 สิงหาคม 2558 อัตราส่วนเพศชายต่อเพศ หญิง เท่ากับ 1.3 : 1 พบอายุ 1 ปีมากที่สุด พิสัย 1-4 ปี เชื้อที่เป็นสาเหตุของการระบาดครั้งนี้คือ Enterovirus 71 สายพันธุ์ย่อย B5 (11/15 ราย) ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคในครั้งนี้ คือ หยิบของเข้า ปาก (RR = 3.00, 95%CI 1.32-6.80) และเล่นกับเพื่อนที่ป่วย (RR = 3.00, 95%CI 1.40-6.43) หลังจากกำจัดตัวกวนพบว่าการหยิบ ของเข้าปากเป็นปัจจัยเสี่ยงที่แท้จริง (adj. RR = 2.40, 95%CI 1.16-4.96) มาตรการควบคุมโรคกำหนดให้หยุดเรียนเป็นเวลา 1 สัปดาห์และเฝ้าระวังโรคต่ออีก 1 สัปดาห์ ทำความสะอาดและฆ่าเชื้อด้วยคลอรีนในห้องเรียนและของเล่น มีการคัดกรองเด็กนักเรียนทุกคนก่อนเข้าโรงเรียนทุกคนและทุกวันอย่างต่อเนื่องเป็นเวลา 7 วัน หลังจากเฝ้าระวัง 14 วัน ต่อไม่พบผู้ป่วยเพิ่ม
สรุปและวิจารณ์ผล: พบการระบาดของโรคมือ เท้า ปาก และ Herpangina ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ โดยพบเชื้อก่อโรคที่มีความรุนแรง คือ EV71 สายพันธุ์ย่อย B5 สายพันธุ์นี้มีรายงานทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนทางสมอง และเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตได้ ดังนั้นการควบคุมโรคอย่างเร่งด่วนและการทำลายเชื้อในสถานที่รวมทั้งของเล่นด้วยคลอรีนในโรงเรียนจึงเป็นสิ่งจำเป็นในการป้องกันการระบาดในวงกว้างและไม่ให้มีผู้ป่วยเสียชีวิตต่อไป นอกจากนี้แพทย์ของโรงพยาบาลในพื้นที่ต้องได้รับการแจ้งเตือนเกี่ยวกับการพบเชื้อที่มีความรุนแรงในพื้นที่
References
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. ใน: ดาริกา กิ่งเนตร, บรรณาธิการ. แนวทางการป้องกันควบคุมโรคติดต่ออุบัติใหม่ สำหรับบุคคลากรสาธารณสุข. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด; 2551.
Rome Buathong, Hanshoaworakul W, Sutdan D, lamsirithaworn S, Pongsuwanna Y, Puthawathana P, et al. Cluster of Fatal Cardiopulmonary Failure among Children Caused by an Emerging Strain of Enterovirus 71, Nakhorn Ratchasima Province, Thailand, 2006. OSIR Journal 2008:1(1):1-3.
พัชรินทร์ ตันติวรวิทย์, โรม บัวทอง, ไผท สิงห์คำ, วิศวะ ปานศรี พงศ์, ธนพล หวังธีระประเสริฐ, นวลปราง ประทุมศรี และคณะ. การสอบสวนผู้ป่วยเด็กสมองอักเสบเสียชีวิตจากเชื้อเอนเตอโรไวรัส 71 จังหวัดลพบุรี ประเทศไทย เดือนสิงหาคม-กันยายน 2554. รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์ 2556; 44: 289-97.
Hamaguchi T, Fujisawa H, Sakai K, Okino S, Kurosaki N, Nishimura Y, Shimizu H, Yamada M. Acute encephalitis caused by intrafamilial transmission of enterovirus 71 in adult. Emerging infectious diseases. 2008 May;14(5): 828.
Chua KB1, Kasri AR. Hand foot and mouth disease due to enterovirus 71 in Malaysia. VIROLOGICA SINICA 2011;26(4):221-8.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2017 รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงพิมพ์กับ WESR ถือเป็นข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ใน WESR ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่ง ส่วนใดไปเผยแพร่ กรุณาอ้างอิงบทความนั้น ๆ