การสอบสวนการบาดเจ็บรุนแรงจากแมงกะพรุนกล่องรายแรกของจังหวัดระยอง ปี พ.ศ. 2559
คำสำคัญ:
แมงกะพรุนกล่อง, พิษแมงกะพรุน, ระยองบทคัดย่อ
ความเป็นมา: วันที่ 3 กันยายน 2559 สำนักระบาดวิทยาได้รับแจ้ง พบผู้บาดเจ็บที่สงสัยว่าเกิดจากแมงกะพรุนกล่องในจังหวัดระยอง ซึ่งเป็นรายงานผู้บาดเจ็บรายแรกจากจังหวัดนี้ ทีมสอบสวนโรคจากกระทรวงสาธารณสุขร่วมกับศูนย์วิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเล และชายฝั่งอ่าวไทยฝั่งตะวันออกจึงดำเนินการสอบสวนโรคเพื่อยืนยันการวินิจฉัย และหามาตรการป้องกันการบาดเจ็บรุนแรงและเสียชีวิต
วิธีการศึกษา: ทบทวนเวชระเบียน สัมภาษณ์เจ้าหน้าที่สาธารณสุข ครอบครัวของผู้บาดเจ็บ ผู้เห็นเหตุการณ์ สืบค้นข้อมูลการบาดเจ็บจากแมงกะพรุน ระหว่างปี พ.ศ. 2557-2559 ศึกษาสภาพแวดล้อม และชนิดแมงกะพรุนในที่เกิดเหตุ สุ่มสัมภาษณ์ประชาชนเกี่ยวกับความรู้ความเข้าใจเรื่องแมงกะพรุนพิษ และทบทวนมาตรการป้องกันการบาดเจ็บจากแมงกะพรุนพิษของพื้นที่
ผลการศึกษา: พบผู้บาดเจ็บ 1 ราย เป็นเด็กหญิงชาวอิตาลีอายุ 11 ปี เมื่อวันที่ 2 กันยายน 2559 ได้สัมผัสแมงกะพรุนขณะเล่นน้ำบริเวณชายหาดของเกาะแห่งหนึ่ง มีอาการและอาการแสดงเข้าได้กับพิษจากแมงกะพรุนกล่องชนิดหนวดหลายสาย ผู้ปกครองช่วยดึงหนวดแมงกะพรุนตามร่งกายและล้างแผลด้วยน้ำจืด มีผู้นำน้ำส้มสายชู และผักบุ้งทะเลทาบริเวณแผล ผู้บาดเจ็บได้เข้ารักษาที่หน่วยบริการบริการสาธารณสุขบนเกาะ และถูกส่งต่อโรงพยาบาลเอกชนใน จังหวัดระยองในวันเดียวกัน ผู้บาดเจ็บกลับที่พักได้ในวันรุ่งขึ้น สถานที่เกิดเหตุเป็นหาดโค้งเว้า คลื่นลมสงบ ขณะเกิดเหตุผู้บาดเจ็บ เล่นน้ำสูงระดับเอว ข้อมูลระหว่างปี พ.ศ. 2557-2559 พบผู้บาดเจ็บจากแมงกะพรุนพิษ 3 ราย ซึ่งอาการไม่ชัดเจนว่าเกิดจากแมงกะพรุนชนิดใด และจากข้อมูลของศูนย์วิจัยฯ อ่าวไทยฝั่งตะวันออก เคยพบตัวอย่างแมงกะพรุนกล่องบริเวณเกาะแห่งนี้และพื้นที่ใกล้เคียงใน ปี พ.ศ. 2557 และ 2559 แต่การสำรวจจุดเกิดเหตุหลังเกิดเหตุ 1 วัน ไม่พบตัวอย่างแมงกะพรุนพิษ ประชาชนบนเกาะที่เกิดเหตุส่วนใหญ่ ยังเข้าใจไม่ถูกต้องในการช่วยเหลือผู้สัมผัสแมงกะพรุนพิษ และจากการสำรวจชายหาดที่นักท่องเที่ยวนิยมเล่นน้ำ 6 แห่ง พบป้ายให้ความรู้และเสาน้ำส้มสายชูเพียงแห่งเดียว แต่ไม่พบขวดน้ำส้มสายชู
สรุปและวิจารณ์: ควรปรับปรุงมาตรการป้องกันและเฝ้าระวัง การบาดเจ็บจากแมงกะพรุนพิษ สร้างความรู้ความเข้าใจเรื่องแมงกะพรุนพิษที่ถูกต้องแก่ประชาชนและผู้เกี่ยวข้อง จัดให้มีจุดพยาบาลน้ำส้มสายชูคู่กับป้ายให้ความรู้เรื่องการช่วยเหลือเบื้องต้น แก่ผู้สัมผัสพิษแมงกะพรุนในพื้นที่ชายทะเลที่เป็นแหล่งท่องเที่ยว ของจังหวัดระยอง
References
ลักขณา ไทยเครื่อ, พจมาน ศิริอารยาภรณ์. การรักษาและ ป้องกันการบาดเจ็บและเสียชีวิตจากแมงกะพรุน Box jellyfish กับ Portuguese man-of-war. เชียงใหม่: โรงพิมพ์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2557.
หัทยา กาญจนสมบัติ. การบาดเจ็บและเสียชีวิตจากแมงกะพรุนพิษ. สรุปรายงานการเฝ้าระวังโรค ประจำปี 2558. นนทบุรี: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย; 2559. หน้า 24-26.
วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี. เกาะเสม็ด. [เข้าถึงเมื่อ 23 พ.ย.2559]. เข้าถึงได้จาก: http://www.koh-samet.org/132/
กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช. สถิตินักท่องเที่ยว และยานพาหนะในเขตอุทยานแห่งชาติ.[เข้าถึงเมื่อ 23 พ.ย. 2559]. เข้าถึงได้จาก: http://www.dnp.go.th/NPRD/develop/Stat_Tourist.php
Thaikruea L, Siriyaporn P, Wutthanarungsa R, Smithsuwan P. Review of fatal and severe cases of box jellyfish envenomation in Thailand. Asia-Pacific Journal Public Health 2012327:NP1639-51. DOI: https://doi.org/10.1177/1010539512448210
Fenner PJ, Lippman J, Gershwin LA. Fatal and nonfatal severe jellyfish stings in Thai waters. Journal of travel medicine 2010;17 (2) :133-8.
Fenner PJ. Venomous Jellyfish of the world. SPUMS J. 2005; 35: 13118.
สถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางชายฝั่งทะเลและป่าชาย เลน กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง. คู่มือจำแนกชนิดแมงกะพรุน กล่องศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอ่าวไทยตอนล่าง; 2554.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2017 รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงพิมพ์กับ WESR ถือเป็นข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ใน WESR ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่ง ส่วนใดไปเผยแพร่ กรุณาอ้างอิงบทความนั้น ๆ