ภาวะสุขภาพเด็กอายุ 0-15 ปี ที่อาศัยอยู่ใกล้โรงไฟฟ้าชีวมวลจังหวัดร้อยเอ็ด

ผู้แต่ง

  • กรุณา สุขเกษม สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 5 จังหวัดราชบุรี
  • นวลรัตน์ โมทะนา สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลป่าแดด จังหวัดเชียงราย
  • แสงโฉม ศิริพานิช สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
  • ธวัชชัย ล้วนแก้ว สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดตรัง
  • อัญญารัตน์ ภมรมานพ สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข สำนักงานสาธารณสุขอำเภอแม่ใจ จังหวัดพะเยา
  • สุภาพร สุขเวช สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข สำนักงานสาธารณสุขอำเภอพนม จังหวัดสุราษฎร์ธานี
  • พงศ์ษธร แก้วพลิก สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านป่าตึง จังหวัดเชียงราย
  • ณัฏฐิภรณ์ เทพวิไล สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
  • ขนิษฐา คชมิตร สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด

คำสำคัญ:

โรงไฟฟ้าชีวมวล, ร้อยเอ็ด, ภาวะสุขภาพ

บทคัดย่อ

บทนำ มลพิษจากการเผาไหม้จากโรงไฟฟ้าชีวมวลที่ใช้แกลบเป็นเชื้อเพลิง ทำให้เกิดผลกระทบในด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชนในพื้นที่ใกล้เคียง ปัญหาสุขภาพที่สำคัญ คือ โรคในระบบทางเดินหายใจ ทางผิวหนัง ภูมิแพ้ ระคายเคืองตา และก่อเหตุรำคาญ ผู้ศึกษาจึงสนใจศึกษาผลกระทบด้านสุขภาพของเด็กในพื้นที่ตำบลเหนือเมือง อำเภอเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด เนื่องจากมีโรงไฟฟ้าชีวมวลถึง 3 โรงในพื้นที่ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาวะสุขภาพและผลกระทบด้านสุขภาพของเด็กอายุ 0-15 ปี ที่ อาศัยในพื้นที่ใกล้เคียงโรงไฟฟ้าชีวมวล
วิธีการศึกษา เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง จากเด็กอายุ 0-15 ปี จำนวน 235 คน ที่อาศัยในบ้านหนองนาสร้าง ตำบลเหนือเมือง อำเภอเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด ใน วันที่ 9-13 พฤษภาคม 2559 รวบรวมข้อมูลโดยการสำรวจ สัมภาษณ์ โดยแบบสัมภาษณ์ที่พัฒนาขึ้น วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ โปรแกรมสำเร็จรูป โดยใช้ค่าความถี่ ร้อยละ และหาความสัมพันธ์ของตัวแปรด้วยสถิติเชิงวิเคราะห์ binary logistic regression
ผลการศึกษา กลุ่มตัวอย่างทั้งหมดจำนวน 235 คน มีผลกระทบด้านสุขภาพ คือ มีอาการคันตามร่างกายทุกวันร้อยละ 5.60 มีอาการไข้ มีน้ำมูก และไอบ่อยที่สุดในช่วง 1 ปี ที่ผ่านมา ร้อยละ 81.7 1, 52.57 และ 23.43 ตามลำดับ อัตราการไหลของลมที่ออกจากปอดสูงสุด (peak flow rate) ต่ำกว่าเกณฑ์ร้อยละ 17.86 ความดันโลหิตสูงกว่าปกติร้อยละ 4.82 มีการเจริญเติบโตแบบสมส่วนร้อยละ 63.40 มีประวัติสัมผัสฝุ่นจากโรงสีและโรงไฟฟ้าทุกวัน ร้อยละ 53.65 มลพิษที่ได้รับมากที่สุด คือ ฝุ่นแกลบร้อยละ 96.77 เวลาที่ได้รับมลพิษมากที่สุด คือ ช่วง 23.00-05.59 น. ร้อยละ 45.50 กลุ่มตัวอย่างมีบ้านห่างจากโรงไฟฟ้าน้อยกว่า หรือเท่ากับ 1 กิโลเมตร ร้อยละ 57.85 และพบว่าระยะห่างระหว่างบ้านถึงโรงไฟฟ้า มีความสัมพันธ์กับอาการต่อไปนี้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ P-value น้อยกว่า 0.05 ได้แก่ คัดจมูก มีน้ำมูก เลือดกำเดาไหล แสบคอ เสียงแหบ ไอไม่มีเสมหะ ปวดศีรษะ เวียนศีรษะ คัน ผื่นแดงตามร่างกาย แสบตา ตาแดง น้ำตาไหลมากผิดปกติ และปวดตา
สรุปและการอภิปรายผล จากผลการศึกษานี้ หน่วยงานภาครัฐในพื้นที่ควรตระหนักถึงจัดระบบการเฝ้าคุมสิ่งแวดล้อม และระบบเฝ้าระวังสุขภาพ เพื่อประเมินสถานะสุขภาพของเด็กในพื้นที่รอบโรงงานไฟฟ้าชีวมวลอย่างต่อเนื่องรวมทั้งให้ความรู้แก่ประชาชน ในพื้นที่เรื่องการป้องกันตนเองจากฝุ่นควัน

References

กองประเมินผลกระทบต่อสุขภาพกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการเฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยงจากมลพิษทางอากาศกรณีฝุ่นละอองขนาดเล็ก. นนทบุรี: 2558. [สืบคั้นวันที่ 6 ม.ค. 2560]. เข้าถึงได้จาก: http://enhealthplan.anamai.moph.go.th/download/document/211257/ฝุ่นละอองขนาดเล็ก14-1-58.pdf

กองโภชนาการ กรมอนามัย. การประเมินการเจริญเติบโตของเด็กปฐมวัย, 2542. [สืบค้นวันที่ 16 ม.ค. 2560]. เข้าถึงได้จาก: http://k4ds.psu.ac.th/pp57/FileDownload/การประเมินการเจริญเติบโต(ภาคผนวก3).pdf

ฐิติมา สุขเลิศตระกูล. การตรวจร่างกายเด็ก. [สืบค้นวันที่ 6 ม.ค. 2560]. เข้าถึงได้จาก: http://www.cmnb.org/newborn /assessment

Chudchawa Juntarawijit. Biomass Power Plants and Health Problems Among Nearby Residents: A Case Study in Thailand. International Journal of Occupational Medicine and Environmental Health 2013; 26(5):813-21.

ศิริอร สินธุ และคณะ. ผลของการสัมผัสควันต่อสมรรถภาพปอดของประชาชน วัยผู้ใหญ่ที่อาศัยในชุมชน. วารสารสภาการ พยาบาล 2554;26(3): 93-106. 6. Schwartz J. Air Pollution and Children's Health. PEDIATRICS. 2004;113:7.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-01

How to Cite

สุขเกษม ก., โมทะนา น., ศิริพานิช แ., ล้วนแก้ว ธ., ภมรมานพ อ., สุขเวช ส., แก้วพลิก พ., เทพวิไล ณ., & คชมิตร ข. (2024). ภาวะสุขภาพเด็กอายุ 0-15 ปี ที่อาศัยอยู่ใกล้โรงไฟฟ้าชีวมวลจังหวัดร้อยเอ็ด. รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์, 48(20), 305–313. สืบค้น จาก https://he05.tci-thaijo.org/index.php/WESR/article/view/2246

ฉบับ

บท

บทความต้นฉบับ