ความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติตนในการควบคุมป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าของชุมชน ตำบลโคกงาม อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย ปี พ.ศ. 2558

ผู้แต่ง

  • คณายศ กริอุณะ สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดเลย
  • ศุภชาติ โอภาสวัชรานนท์ ด่านกักกันสัตว์เลย
  • วรพงศ์ สามาลา สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดเลย

คำสำคัญ:

ความรู้, ทัศนคติ, การควบคุมป้องกัน, โรคพิษสุนัขบ้า

บทคัดย่อ

ความเป็นมา: ในปี พ.ศ. 2556-2558 โรคพิษสุนัขบ้ายังคงเป็นปัญหาที่สำคัญของจังหวัดเลย พบโรคพิษสุนัขบ้าในสัตว์อยู่หลายอำเภอ โดยเฉพาะในเขตตำบลโคกงาม อำเภอด่านซ้าย และได้รับคัดเลือกให้เป็นพื้นที่ศึกษานำร่องเพื่อแก้ปัญหาโรคพิษสุนัขบ้า โดย มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติตนในการ ควบคุมป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าของชุมชน
วิธีการศึกษา: ทำการสำรวจชุมชนโดยให้อาสาสมัครสาธารณสุข สัมภาษณ์กลุ่มประชากรในชุมชนตำบลโคกงาม ระหว่างวันที่ 20 มิถุนายน-7 กรกฎาคม 2558
ผลการศึกษา: พบว่า สามารถสอบถามข้อมูลได้จำนวน 392 คน จากกลุ่มประชากร 1,200 คน (ร้อยละ 32.67) ประชาชนส่วนใหญ่ มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคพิษสุนัขบ้าในระดับดี ร้อยละ 86.97 แต่ขาดความรู้ความเข้าใจถึงสาเหตุของการเกิดโรค ร้อยละ 30.62 ด้านทัศนคติพบว่า ส่วนใหญ่เห็นด้วยกับการไปรักษาพยาบาลหากถูกสุนัขหรือแมวกัดร้อยละ 92.90 และมีการส่งสัตว์ที่สงสัยเป็นโรคพิษสุนัขบ้าไปห้องปฏิบัติการเพื่อตรวจวินิจฉัยยืนยันทุกราย แต่ไม่เห็น ด้วยกับการทำลายสัตว์มีเจ้าของที่เป็นโรคพิษสุนัขบ้าร้อยละ 28.99 ในด้านการปฏิบัติตนนั้นสาเหตุหลักของการที่ไม่นำสุนัขและแมวไปรับวัคซีน คือ จับไม่ได้ โดยเฉพาะในแมวซึ่งคิดเป็นร้อยละ 87.80
สรุปและวิจารณ์ผล: การให้ความรู้เรื่องโรคและกฎหมายที่เกี่ยวข้องแก่ประชาชนโดยอาศัยความร่วมมือจากผู้นำชุมชนและผู้นำศาสนา จะเป็นทิศทางสำคัญในการวางแผนควบคุม ป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าในพื้นที่ต่อไป 

References

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. โรคพิษสุนัขบ้า (ออนไลน์). 2558 [เข้าถึงวันที่ 31 ม.ค. 2559]. เข้าถึงได้จาก http://www.ku.ac.th/e-ทagazine/april48/know/rabies.html

สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. รายงานโรคในระบบเฝ้าระวัง 506 [ออนไลน์]. 2558 [เข้าถึงวันที่ 31 ม.ค. 2559]. เข้าถึงได้จาก http://www.boe.moph.go.th/boedb/surdata/506wk/y58/d42 3158.pdf

ธีรพงศ์ ยืนยงโอฬาร. ระบาดวิทยาโรคพิษสุนัขบ้าในสัตว์ของประเทศไทยระหว่างปี พ.ศ. 2549-2554 [ออนไลน์]. 2555 [เข้าถึงวันที่ 31 ม.ค. 2559]. เข้าถึงได้จาก http://dcontroldld.go.th/old/images/stories/document/rebiesepide mic2549-2554.pdf

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือปฏิบัติการสร้าง พื้นที่ปลอดโรคพิษสุนัขบ้า. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิค แอนด์ดีไซน์; 2556. 5. สำนักงานปศุสัตว์ จังหวัดจันทบุรี. โครงการรณรงค์ป้องกันโรค พิษสุนัขบ้า ปี พ.ศ. 2556-2558 [ออนไลน์]. 2556 [เข้าถึงวันที่ 31 ม.ค. 2559]. เข้าถึงได้จาก pvlo-ctr.dld.go.th/th/images/stories/Download/Rabies/RB13.doc

Sambo M, Lembo T, Cleaveland S, Ferguson HM, Sikana L, Simon C, et al. Knowledge, Attitudes and Practices (KAP) about Rabies Prevention and Control: A Community Survey in Tanzania. 2014 Dec 4 [cited 2016 Jan 31]. PLoS Nesl Trop Dis. 2014 Dec; 8(12): e3310.

สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค. สรุปรายงานการเฝ้าระวัง โรค ปี พ.ศ. 2548-2556. โรคพิษสุนัขบ้า. [เข้าถึงวันที่ 31 ม.ค. 2559]. เข้าถึงได้จาก http://203.157.15.110/boeeng/annual.php

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-01

How to Cite

กริอุณะ ค., โอภาสวัชรานนท์ ศ., & สามาลา ว. (2024). ความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติตนในการควบคุมป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าของชุมชน ตำบลโคกงาม อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย ปี พ.ศ. 2558. รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์, 48(23), 353–358. สืบค้น จาก https://he05.tci-thaijo.org/index.php/WESR/article/view/2249

ฉบับ

บท

บทความต้นฉบับ