การสอบสวนโรคอุจจาระร่วงเฉียบพลันจากเชื้อ Shigella sonnei ในผู้ต้องขัง เรือนจำแห่งหนึ่ง อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา วันที่ 24–30 มีนาคม 2564

ผู้แต่ง

  • อดิศักดิ์ ศรีศุภรางค์กุล โรงพยาบาลปากช่องนานา จังหวัดนครราชสีมา
  • จตุพร ฤกษ์ตระกูลชัย โรงพยาบาลปากช่องนานา จังหวัดนครราชสีมา
  • ชุลีพร จิระพงษา สำนักงานคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข

คำสำคัญ:

สอบสวนโรค, โรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน, เรือนจำ, สีคิ้ว, นครราชสีมา

บทคัดย่อ

ความเป็นมา: เมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2564 เวลาประมาณ 08.30 น. งานระบาดวิทยา โรงพยาบาลปากช่องนานา ได้รับข้อมูลจากพยาบาลประจำเรือนจำแห่งหนึ่งในจังหวัดนครราชสีมาว่า มีผู้ต้องขังในเรือนจำป่วยด้วยโรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน จำนวน 24 ราย ทีม SRRT ทำการสอบสวนโรค ระหว่างวันที่ 24–30 มีนาคม 2564 เพื่อยืนยันการวินิจฉัย ยืนยันการระบาด ศึกษาขอบเขตการระบาดและการกระจายของโรค และให้ข้อเสนอแนะในการควบคุมและป้องกันการระบาด
วิธีการศึกษา: การศึกษาระบาดวิทยาเชิงพรรณนา ทำโดยการทบทวนเวชระเบียน สัมภาษณ์ผู้ป่วยที่มารับบริการและค้นหาผู้ป่วยเพิ่มเติมตามนิยาม การศึกษาระบาดวิทยาเชิงวิเคราะห์ ด้วย cohort study หาปัจจัยเสี่ยงจากมื้ออาหาร และแหล่งน้ำดื่มที่เป็นสาเหตุในแดนขัง 5 ที่มีอัตราป่วยสูงสุด การศึกษาสภาพแวดล้อมโดยการสำรวจแดนสูทกรรม ร้านสงเคราะห์ และแดน 5 ร่วมกับการสัมภาษณ์เจ้าหน้าที่เรือนจำ และผู้ต้องขัง เกี่ยวกับการจัดการอาหาร พฤติกรรมการรับประทานอาหารของผู้ต้องขัง และระบบ น้ำดื่มในเรือนจำ การศึกษาทางห้องปฏิบัติการโดยเก็บตัวอย่าง rectal swab ของผู้ป่วย ผู้ปรุงอาหาร เก็บ swab จากมือผู้ปรุงอาหาร ภาชนะ และน้ำดื่ม น้ำใช้ปรุงอาหาร มาตรวจเพาะเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส และตรวจโคลิฟอร์มแบคทีเรียด้วยชุดตรวจ SI–2
ผลการสอบสวนโรค: จากการสอบสวนเบื้องต้นพบผู้ป่วย 83 ราย อาการทางคลินิกที่พบมาก 5 อันดับแรก คือ อาการปวดท้อง อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ ถ่ายเป็นน้ำ และถ่ายเหลว อัตราป่วยสูงสุดอยู่ในแดน 5 จึงได้ออกสำรวจปัจจัยเสี่ยงในผู้ต้องขังแดน 5 ทั้งหมด 1,507 คน พบผู้ป่วย 206 คน คิดเป็นอัตราป่วยร้อยละ 13.67 อาหารที่เสี่ยงต่อการเกิดโรค คือ อาหารที่ซื้อกินเองจากร้านสงเคราะห์ การศึกษาสภาพแวดล้อมพบความเสี่ยงจากการล้างถาดอาหารแล้วไม่มีการผึ่งแห้ง และระบบน้ำดื่ม พบหลอด UV ในเครื่องกรองน้ำแดนสูทกรรมเสีย การตรวจทางห้องปฏิบัติการ พบเชื้อ Shigella sonnei (Group B) จาก rectal swab culture ผู้ป่วย 2 ราย จากทั้งหมด 17 ราย พบเชื้อ Bacillus cereus จากมือผู้ปรุงอาหารแดนสูทกรรม 1 ราย จากทั้งหมด 5 ราย และตรวจ culture จากน้ำดื่ม/น้ำสำหรับปรุงอาหาร พบเชื้อ Aeromonas และ Bacillus cereus จากน้ำดื่ม 5 ตัวอย่าง จากทั้งแดนสูทกรรม ร้านสงเคราะห์ และแหล่งน้ำดื่มในแดน 5 และตรวจ coliform test ผลพบเชื้อ โคลิฟอร์มที่มีดจากร้านสงเคราะห์ และถาดอาหารแดน 5
สรุปผลและอภิปรายผล: พบการระบาดของโรคอุจจาระร่วงเฉียบพลันในผู้ต้องขังเรือนจำแห่งหนึ่ง อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา โดยเกิดจากเชื้อ Shigella sonnei (Group B) มีปัจจัยเสี่ยงคือ อาหารซื้อจากร้านสงเคราะห์ พฤติกรรมการเก็บอาหารไว้รับประทานของผู้ต้องขัง การล้างถาดอาหารที่ไม่เหมาะสม และแหล่งน้ำกินที่ปนเปื้อนเชื้อแบคทีเรียหลายชนิด ได้สอนสุขศึกษากับผู้ต้องขัง แนะนำการทำความสะอาดภาชนะที่เหมาะสม และปรับปรุงระบบกรองน้ำที่มีมาตรฐาน โดยซ่อมแซมหลอด UV ที่เสีย

References

Manasathit S, Jongthavornsathit S, Teerawittayalert R, Tuwanon P. Guideline for the management of acute diarrhea in adults. Bangkok: The Agricultural Co-operative Federation of Thailand; 2003.

Barr W, Smith A. Acute Diarrhea in Adults. Am Fam Physician. 2014;89(3):180–9.

Division of Epidemiology, Department of Disease Control (TH). Diarrhoea in Disease Surveillance Report 506 [Internet]. 2021 [cited 2021 Oct 10]. Available from: http://doe.moph.go.th/surdata/disease.php?ds=02

The Office of Disease Prevention and Control 9 Nakhon Ratchasima. Situation of important epidemiological surveillance diseases in the regional health 9 on the 13th week of 2021 [Internet]. 2021 [cited 2021 Oct 10]. Available from: http://odpc9.ddc.moph.go.th/hot/64-situation-13.pdf

Health Administration Division, Ministry of Public Health (TH). Guideline for the development of a public health service systems for prisoners. Nonthaburi: Health Administration Division, Ministry of Public Health, Thailand; 2019.

Møller L, Stöver H, Jürgens R, Gatherer A, Nikogosian H, editors. Health in prisons, a WHO guide to the essentials in prison health. Copenhagen: WHO regional office for europe; 2007.

Greig JD, Lee MB, Harris JE. Review of enteric outbreaks in prisons: effective infection control interventions. Public Health. 2011 Apr;125(4):222-8. doi: 10.1016/j.puhe.2010.12.006.

Doung-ngern P, Thepsittha K, Iewwongcharoen I, Chaiyanuvattiwong S. Outbreak Verification Summary. Weekly Epidemiological Surveillance Report. 2011;42:106.

Medical Services Division, Department of Corrections, Ministry of Justice. Surveillance for gastrointestinal infections in prisons [Internet].2017 Jun 12 [cited 2021 Sep 15]. Available from: http://www.correct.go.th/osss/a15350_60.pdf

Kothary, Mahendra H, Babu, Uma S. Infective dose of foodborne pathogens in volunteers: A review. J Food Saf. 2001;21:49–68.

Centers for Disease Control and Prevention. Shigella-Shigellosis [Internet]. 2022 [cited 2021 Sep 12]. Available from: https://www.cdc.gov/shigella/infection-sources.html

Ranjbar R, Hosseini MJ, Kaffashian AR, Farshad S. An outbreak of shigellosis due to Shigella flexneri serotype 3a in a prison in Iran. Arch Iran Med. 2010;13:413–6. PMID: 20804308

Sengupta SR, Gadre SH, Sukhtankara AY, Bharaswadkar MS. Epidemiological and bacteriological profile of an outbreak of shigellosis amongst prisoners in Solapur. Indian J Pathol Microbiol. 1979;22:193–8. PMID: 489087

Department of Corrections, Ministry of Justice (TH). Assessment form of basic necessities for prisoners, 1st revision [Internet]. 2014 [cited 2021 Sep 12]. Available from: http://www.correct.go.th/meds/index/Download/สอ/แบบประเมิน 5 ด้าน.pdf (in Thai)

Zablocki E. Air Dry Your Dishes. WebMD [Internet]. 2001 [cited 2021 Oct 13]. Available from: https://www.webmd.com/a-to-z-guides/news/20010817/air-dry-your-dishes

Figueras Salvat MJ, Ashbolt N. Aeromonas. In: Rose JB, Jiménez–Cisneros B. Water and Sanitation for the 21st Century: Health and Microbiological Aspects of Excreta and Wastewater Management (Global Water Pathogen Project). MI: Michigan State University; 2019.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-05-12

ฉบับ

บท

บทความต้นฉบับ