การสอบสวนการระบาดของโรคมือ เท้า ปาก จากอุปกรณ์ดนตรีในโรงเรียนแห่งหนึ่ง เขตบางแค กรุงเทพมหานคร เดือนมิถุนายน 2559
คำสำคัญ:
โรคมือ เท้า ปาก, สอบสวนโรคกรุงเทพมหานครบทคัดย่อ
ความเป็นมา: สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค ได้รับแจ้งว่ามีการระบาดของโรคมือ เท้า ปากในกลุ่มนักเรียนชั้นอนุบาลของโรงเรียนระดับประถมศึกษาแห่งหนึ่ง เขตบางแค กรุงเทพมหานคร จึงได้ดำเนินการสอบสวนโรคโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อยืนยันการวินิจฉัย ยืนยันการระบาด ค้นหาปัจจัยเสี่ยงต่อการระบาดและ ดำเนินการควบคุมโรค
วิธีการศึกษา: ศึกษาระบาดวิทยาเชิงพรรณนาโดยการทบทวนสถานการณ์โรคมือ เท้า ปากในเขตบางแค กรุงเทพมหานคร ทบทวนประวัติการรักษาในสถานบริการสาธารณสุข สัมภาษณ์ครูประจำชั้น และค้นหาผู้ป่วยเพิ่มเติมในโรงเรียน ศึกษาระบาดวิทยาเชิงวิเคราะห์แบบ Case-control study ร่วมกับการตรวจทาง ห้องปฏิบัติการและการสำรวจสภาพสิ่งแวดล้อมภายในโรงเรียน
ผลการศึกษา: พบผู้ป่วยโรคมือ เท้า ปาก ทั้งหมด 63 ราย อายุ ระหว่าง 3-6 ปี อัตราส่วนเพศชายต่อหญิง 1.25 : 1 มากกว่าครึ่ง เป็นชั้นเตรียมอนุบาล รองลงไปเป็นชั้นอนุบาล 1 และชั้นอนุบาล 2 ตามลำดับ อาการทางคลินิกที่พบมากสุด คือ มีผื่น/ตุ่ม/แผลในปาก ร้อยละ 83.33 รองลงมา ได้แก่ มีผื่น/ตุ่ม ที่มือ ร้อยละ 51.67 และมีไข้ ร้อยละ 48.33 ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการพบสารพันธุกรรมของไวรัสคอกซากีเอ 16 จำนวน 10 ราย และไวรัสเอนเทอโร 71 จำนวน 3 ราย การศึกษาเชิงวิเคราะห์ พบว่าปัจจัยเสี่ยงต่อการระบาด คือ การเล่นกับผู้ป่วยโรคมือ เท้า ปาก (Adjusted OR = 11.38, 95%CI = 3.52, 36.76) การมีพี่หรือน้องในครอบครัวป่วยโรคมือ เท้า ปาก (Adjusted OR = 11.25, 95%CI - 2.29, 55.33) และการสัมผัสอุปกรณ์ดนตรี (ไม้ตีกลอง) (Adjusted OR 10.39,95%CI 3.74,28.84)
สรุปและวิจารณ์: ลักษณะการระบาดครั้งนี้เป็นแบบแหล่งโรคแพร่กระจาย (Propagated source) ซึ่งปัจจัยเสี่ยงเรื่องการเล่นกับผู้ป่วยฯและการมีพี่หรือน้องในครอบครัวป่วยฯเป็นปัจจัยที่สนับสนุนองค์ความรู้ทางระบาดวิทยาของโรคมือ เท้า ปาก ส่วน การใช้ไม้ตีกลองเป็นปัจจัยที่ไม่คาดคิดมาก่อนในการควบคุมป้องกันโรคนอกจากจะใช้การคัดกรองและแยกผู้ป่วยซึ่งเป็นมาตรการทั่วไป แล้วควรที่จะมีการสอบสวนหาต้นเหตุเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการควบคุมโรค โดยเฉพาะในโรงเรียนขนาดใหญ่ที่มีปัจจัยต่าง ๆ มากกว่าและชับซ้อนกว่าโรงเรียนขนาดเล็กหรือศูนย์เด็กเล็ก
References
สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค. แนวทางการดำเนินงานป้องกัน ควบคุมการระบาดของโรคมือ เท้า ปาก [อินเทอร์เน็ต). 2555 [สืบค้น เมื่อ 1 ส.ค. 2559]. เข้าถึงได้จาก: http://thaigcd.ddc.moph.go.th/uploads/pdf/baby/13.7.58/Measure_HFM.pdf
กระทรวงสาธารณสุข. รายงานสถานการณ์โรคมือ เท้า ปากในประเทศ ไทย [อินเทอร์เน็ต]. 2559 สืบค้นเมื่อ 20 ม.ค. 2560]. เข้าถึงได้จาก: http://www.amno.moph.go.th/amno_new/attachments/3958disease%20.pdf
รายงานสถานการณ์โรคมือ เท้า ปากในกรุงเทพมหานคร ปี 2558. กรุงเทพฯ: กลุ่มงานระบาดวิทยา กองควบคุมโรคติดต่อ สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร; 2558.
กรกช วิจิตรจรัสแสง, พงษ์นิกร ธรรมลังกา, โรม บัวทอง. การระบาด ของโรคมือ เท้า ปาก และ Herpangina จากเชื้อไวรัส Coxsackies A16 ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลวอแก้ว อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง เดือนมิถุนายน-กรกฎาคม 2557. รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา ประจำสัปดาห์ 2558; 46: S84-91.
สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค. สรุปรายงานการเฝ้าระวังโรค ประจำปี 2555 [อินเทอร์เน็ต]. 2555 [สืบค้นเมื่อ 1 ส.ค. 2559. เข้าถึงได้จาก: http://www.boe.moph.go.th/AnnuaV/AESR2012/main/AESR55_Part1/file8/4155_HFM.pdf
สำนักสารนิเทศ กระทรวงสาธารณสุข. ข่าวเพื่อสื่อมวลชน ประจำวันที่ 10 กรกฎาคม 2559 [อินเทอร์เน็ต). 2559 [สืบค้นเมื่อ 1 ส.ค. 2559]. เข้าถึงได้จาก: http://pr.moph.go.th/iprg/include/admin_hotnew/show_hotnew.php?idHot_new=84584
Centers for Disease Control and Prevention. Year in Review: Measles Linked to Disneyland [อินเทอร์เน็ต]. 2559 [เข้าถึงเมื่อ 1 ส.ค. 2559]. เข้าถึงได้จาก: https://blogs.cdc.gov/publichealthmatters/2015/12/year-in-review-measles-linked-to-disneyland/
Baby Center community. Grizwold's Disneyland Family Vacation. 2558 [cited 2016 Aug 1]. Available from: https://community.babycenter.com/post/a56990839/grizwolds_disneyland_family_vacation.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2017 รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงพิมพ์กับ WESR ถือเป็นข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ใน WESR ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่ง ส่วนใดไปเผยแพร่ กรุณาอ้างอิงบทความนั้น ๆ