สถานการณ์โรคระบบทางเดินหายใจส่วนล่างในชุมชนรอบบ่อขยะเทศบาล A โดยอาศัยฐานข้อมูล 43 แฟ้ม (HDC) จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ปี พ.ศ. 2557
คำสำคัญ:
โรคระบบทางเดินหายใจส่วนล่าง, ฐานข้อมูล 43 แฟ้ม, บ่อขยะชนิดเทกองเปิดบทคัดย่อ
บทนำ: บ่อขยะชนิดเทกองเปิดเป็นหนึ่งวิธีการกำจัดขยะที่มักมีปัญหาการจัดการไม่เหมาะสมและเป็นแหล่งกำเนิดมลพิษ เป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคระบบทางเดินหายใจ ซึ่งในปัจจุบันยังไม่มีการเฝ้าระวังสุขภาพของประชาชนกลุ่มดังกล่าว การศึกษาครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะทางระบาดวิทยาของโรคระบบทางเดินหายใจส่วนล่างในชุมชนที่อยู่รอบบ่อขยะ และหาความสัมพันธ์ระหว่างอุบัติการณ์ของการเกิดโรคระบบทางเดินหายใจส่วนล่างในพื้นที่ระดับหมู่บ้านกับระยะทางจากบ่อขยะ
วิธีการศึกษา: ใช้การศึกษาระบาดวิทยาเชิงพรรณนาสำหรับข้อมูลบุคคลและเชิงวิเคราะห์จากข้อมูลทุติยภูมิ โดยใช้ข้อมูลจากฐานข้อมูลสุขภาพ 43 แฟ้ม (HDC) ครอบคลุมสถานพยาบาลทั้งจังหวัดพระนครศรีอยุธยาที่มีคนไข้ทั้ง 6 ตำบลมารับบริการ โดยศึกษาในประชาชนที่อาศัยใน 6 ตำบลที่อยู่ห่างจากบ่อขยะ A ใน รัศมี 3 กิโลเมตร และได้รับการวินิจฉัยโรคระบบทางเดินหายใจส่วนล่างแบบฉับพลัน (รหัส ICD-10: J20-22) และโรคระบบทางเดินหายใจส่วนล่างแบบเรื้อรัง (รหัส ICD-10: J40-47) ระหว่าง เดือนมกราคมถึงธันวาคม 2557 และคำนวณอุบัติการณ์การเกิดโรคดังกล่าวโดยใช้วิธีปรับค่ามาตรฐานโครงสร้างอายุและเพศราย หมู่บ้าน และหาความสัมพันธ์ระดับกลุ่มประชากรระหว่างอุบัติการณ์ของโรคในแต่ละหมู่บ้านกับระยะทางจากบ่อขยะ
ผลการศึกษา: ในภาพรวม พบว่ามีการวินิจฉัยว่าเป็นโรคระบบทางเดินหายใจส่วนล่างแบบฉับพลันจำนวน 1,128 ครั้ง จากจำนวนผู้ป่วย 608 คน คิดเป็นอัตราป่วย 2,458 ต่อประชากรแสนคนและมีการวินิจฉัยโรคระบบทางเดินหายใจส่วนล่างแบบเรื้อรัง จำนวน 1,980 ครั้ง จากจำนวนผู้ป่วย 1,152 ราย คิดเป็นอัตรา ป่วย 4,658 ต่อแสนประชากร และจากการศึกษาความสัมพันธ์ พบว่า เมื่อระยะทางที่ห่งจากบ่อขยะเทศบาลเพิ่มขึ้น อุบัติการณ์แบบปรับมาตรฐานอายุและเพศของโรคระบบทางเดินหายใจส่วนล่างแบบฉับพลันที่ระดับหมู่บ้านลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P-value= <0.001) ในขณะที่อุบัติการณ์ของโรคระบบทางเดินหายใจส่วนล่างแบบเรื้อรังมีแนวโน้มลดลง แต่ไม่พบความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P-value=0.25)
สรุปผลการศึกษา: ในการศึกษาครั้งนี้พบความสัมพันธ์ระหว่างอุบัติการณ์ของโรคระบบทางเดินหายใจส่วนล่างแบบฉับพลันในพื้นที่ระดับหมู่บ้านกับระยะทางจากบ่อขยะ ซึ่งมีความจำเป็นที่จะต้องเฝ้าระวังติดตามการป่วยโดยการใช้ข้อมูล 43 แฟ้ม นอกจากนี้ควรการเฝ้าระวังสิ่งแวดล้อม เพื่อที่จะลดผลกระทบทางสุขภาพที่อาจเกิดขึ้น
References
Rushton L. Health hazards and waste management. British Medical Bulletin. 2003;68(1):183-97.
Carpenter DO, Ma J, Lessner L. Asthma and infectious respiratory disease in relation to residence near hazardous waste sites. Annals of the New York Academy of Sciences. 2008;1140:201-8.
กรมควบคุมมลพิษ. สถานการณ์ของเสียและอันตราย. รายงานสถานการณ์มลพิษของประเทศไทย ปี 2556;2557:2-10.
สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัด พระนครศรีอยุธยา. แผนบริหารจัดการขยะมูลฝอยจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ปี 2558-2562; 1-42.
Giusti L. A review of waste management practices and their impact on human health. Waste Management. 2009;29(8):2227-39.
Soto-Martinez M, Sly PD. Relationship between environmental exposures in children and adult lung disease: the case for outdoor exposures. Chronic respiratory disease. 2010;7(3):173-86.
Heinrich J, Slama R. Fine particles, a major threat to children. International journal of hygiene and environmental health. 2007;210(5):617-22.
Pukkala, E., Ponka, A. Increased incidence of cancer and asthma in houses built on a former dump area. Environmental Health Perspectives. 20 0 1:1 09 (11);1121.
Porta D, Milani S, Lazzarino A, Perucci C, Forastiere F. Systematic review of epidemiological studies on health effects associated with management of solid waste. Environmental Health. 2009;8(1):60.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2017 รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงพิมพ์กับ WESR ถือเป็นข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ใน WESR ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่ง ส่วนใดไปเผยแพร่ กรุณาอ้างอิงบทความนั้น ๆ