การสอบสวนการระบาดโรคข้หวัดใหญ่ชนิด A/H1N1 2009 ในทหารใหม่กองร้อยอาวุธเบา ค่ายทหารแห่งหนึ่ง จังหวัดยโสธร เดือนพฤษภาคม 2560

ผู้แต่ง

  • กัญญาภัค ศิลารักษ์ โรงพยาบาลไทยเจริญ จังหวัดยโสธร
  • ถนอม นามวงศ์ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร
  • สุภาวรรณ เลิศทรัพย์พูลทวี ศูนย์สุขภาพชุมชนตำบลเดิด
  • แมน แสงภักดิ์ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร
  • สกุณา บัวเขียว สำนักงานสาธารณสุขอำเภอเมือง จังหวัดยโสธร
  • สุกัญญา คำพัฒน์ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร
  • จรรยา ดวงแก้ว สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร
  • มนต์ชัย ปรีชาพลสิทธิ์ ศูนย์สุขภาพชุมชนตำบลเดิด
  • ดิเรก โคตรวุฒิ ศูนย์สุขภาพชุมชนตำบลเดิด
  • ดารุณี ศรีวะโสภา ศูนย์สุขภาพชุมชนตำบลเดิด

คำสำคัญ:

การระบาด, ไข้หวัดใหญ่, ค่ายทหาร, จังหวัดยโสธร

บทคัดย่อ

บทนำ: วันที่ 15 พฤษภาคม 2560 เวลา 13.47 น. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร ได้รับแจ้งจากทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว (SRRT) อำเภอเมือง พบว่ามีทหารป่วยเป็นไข้หวัดจำนวนมากไปรับการตรวจรักษาที่ศูนย์สุขภาพชุมชนตำบลเดิด อำเภอเมือง ดังนั้น ทีม SRRT จังหวัดยโสธรจึงได้ออกสอบสวน และควบคุมโรคระหว่างวันที่ 15-31 พฤษภาคม 2560 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อยืนยันการระบาด อธิบายลักษณะการเกิดการกระจายของโรค ค้นหาสาเหตุและปัจจัยเสี่ยง พร้อมทั้งให้ข้อเสนอแนะแนวทางในการควบคุมและป้องกันโรค
วิธีการศึกษา: ใช้รูปแบบการศึกษาระบาดวิทยาเชิงพรรณนาและระบาดวิทยาเชิงวิเคราะห์ โดยวิธี Retrospective Cohort Study เพื่อหาปัจจัยเสี่ยงด้วยเทคนิค Unconditional Multiple Logistic Regression สัมภาษณ์และค้นหาผู้ป่วยในค่ายทหารศึกษาสิ่งแวดล้อม และศึกษาทางห้องปฏิบัติการด้วยการทำ throat swab
ผลการศึกษา: พบผู้ป่วยตามนิยาม 82 ราย อัตราป่วย ร้อยละ 50.3 อยู่ในหน่วยฝึกทหารใหม่ ค่ายทหารแห่งหนึ่งจังหวัดยโสธร ทั้งหมดเป็นเพศชายอายุเฉลี่ย 21 ปี (SD 0.9) อาการแสดงทางคลินิก คือ อาการไอ ร้อยละ 76.8 เจ็บคอ ร้อยละ 70.7 อ่อนเพลีย หรือปวดตามตัว ร้อยละ 64.6 ไข้ ร้อยละ 57.3 ปวดศีรษะ ร้อยละ 50.0 และคัดจมูกหรือมีน้ำมูก ร้อยละ 47. 6 มีผู้ป่วยที่ได้รับยาต้านไวรัส 17 ราย และรักษาในแผนกผู้ป่วยใน 10 ราย (ร้อยละ 12.2) ไม่มีผู้ป่วยเสียชีวิต ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการพบสารพันธุกรรมเชื้อ influenza A/H1N1 2009 ในผู้ป่วย 4 ราย ผลการศึกษาด้านสภาพแวดล้อม พบช่วงที่มีการระบาด อากาศค่อนข้างร้อนและมีฝนตกในบางวันทหารใหม่ฝึกตลอดทั้งวัน มีการคลุกคลีและใช้อุปกรณ์ในการฝึกร่วมกัน เรือนนอนเป็นห้องโถงใหญ่ นอนรวมกัน เตียงนอนห่างกัน 1 เมตร โดยหันศีรษะเข้าหากัน ผลการศึกษาระบาดวิทยาเชิงวิเคราะห์พบปัจจัยเสี่ยงของการระบาดในครั้งนี้ ได้แก่ "นอนเตียงติดกันกับผู้ป่วย" (OR.) = 10.6, 95%CI 1.9-58.0) และ "ฝึกหรือทำกิจกรรมหรือคลุกคลีกับผู้ป่วย" (ORadj = 13.1, 95%CI 3.7-45.8) มาตรการที่ดำเนินการ ได้แก่ การให้สุขศึกษาโรคไข้หวัดใหญ่แก่ครูฝึกและทหารใหม่ เน้นการล้างมือบ่อย ๆ ด้วยสบู่ สวมหน้ากากอนามัยหากป่วย และคัดกรองผู้ป่วยทุกๆ เช้าก่อนการฝึกแล้วคัดแยก ขยายระยะห่างเตียงนอนของทหารใหม่ให้มากขึ้น ผู้ป่วยรายสุดท้ายพบหลังสอบสวนโรคในพื้นที่ 14 วัน จากนั้นเฝ้าระวังไปอีก 7 วัน ไม่พบผู้ป่วยรายใหม่
สรุปและวิจารณ์: การระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่ในครั้งนี้ เกิดจากเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ที่พบได้ทั่วไปในท้องถิ่น ด้วยสภาพอากาศที่ร้อนและมีฝนตก ทหารใหม่ฝึกหนักทำให้เจ็บป่วยได้ง่าย และการฝึกที่สัมผัสคลุกคลีกันบ่อย ๆ เตี่ยงนอนอยู่ชิดกัน ทำให้เชื้อโรคแพร่ระบาดไปอย่างรวดเร็ว ทั้งนี้ควรฉีดวัคซึนป้องกันไข้หวัดใหญ่ให้กับทหารใหม่ก่อนเข้าประจำการอย่างน้อย 2 สัปดาห์ ครูฝึกควรมีการเฝ้าระวังผู้ป่วยโดยเฉพาะการฝึกในช่วงแรก และคัดแยกทันทีหากพบผู้ป่วยสงสัย

References

สุทธนันท์ สุทธชนะ, สุหทัย พลทากลาง, ณัฐพล หอมหวน, คนึงนิจ เยื่อใย, อรยุดา เตารส, ฉันท์ชนก อินทร์ศรี และคณะ. สรุปการตรวจสอบข่าวการระบาดของโรคในรอบสัปดาห์. รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์. 2560; 48(12): 537-9.

ศิวพล บุญรินทร์ และอรวรรณ เรื่องสนาม. การสอบสวนการระบาดโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ชนิดเอ (H1 N1) ในสำนักงานแห่งหนึ่ง อำเภอเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด เดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ 2553. รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์. 2556; 43 (ฉบับพิเศษ): S8-14.

เอกชัย ยอดขาว, วาธี สิทธิ, อัครเดช อวัสดารักษ์, กิตติศักดิ์ ประ ครองใจ, นันทนา แต้ประเสริฐ, เอนก มุ่งอ้อมกลาง และคณะ. การสอบสวนการระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่ในบุคลากรทางการแพทย์โรงพยาบาลแห่งหนึ่ง จังหวัดบุรีรัมย์ เดือนสิงหาคม-ตุลาคม 2553. รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์. 2555; 43 (ฉบับพิเศษ): S23-8.

อภิญญา ดวงสิน, อนุพงศ์ สิริรุ่งเรือง และสุภาภรณ์ มิตรภานนท์. การระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่ชนิด A/H1N1 (2009) ในกองพันฝึกทหารใหม่ค่ายทหารแห่งหนึ่ง จังหวัดร้อยเอ็ด เดือนเมษายน- พฤษภาคม 2557. รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำ สัปดาห์. 2558; 46: 497-503.

ถนอม นามวงศ์, เพ็ญศิริ วิศิษฐ์ผจญชัย, สุกัญญา คำพัฒน์, สุนทร วิริยพันธ์, พิมพ์รพัช แห่งทองหลาง, เกษรินทร์ วงเวียน และคณะ. การสอบสวนการระบาดโรคไข้หวัดใหญ่ในกลุ่มนักเรียนมัธยมศึกษาของโรงเรียนแห่งหนึ่ง จังหวัดยโสธร วันที่ 19-22 กุมภาพันธ์ 2557. รายงาน การเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์. 2559; 47 : 786-91.

Hosmer DW Jr, Lemashow S. Applied Logistic Regression. 2nd ed. New York: A Wiley Interscience Publication; 2000. 7. Hsieh FY, Block DA, Larsen MD. A simple method of sample size calculation for linear and logistic regression. Stat Med 1998;77:7623-34.

Peduzzi P, Concato J, Kember E, Holford RT and Feinstein RA. A simulation study of the number of events per variable in logistic regression analysis. J Clin Epidemiol. 1996; 49(12):1373-9.

บัณฑิต ถิ่นคำรพ. ความสำคัญและความจำเป็นในการวิเคราะห์ตัวแปรเชิงพหุในการวิจัยทางสาธารณสุข. วารสารวิทยาการระบาดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. 2541; 3: 1-13.

กรมอุตุนิยมวิทยา. สรุปลักษณะอากาศรายวัน [อินเตอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ; 2560 [สืบคั้นวันที่ 1 ก.ค. 2560]. เข้าถึงได้จาก: http://www.tmd.go.th/climate/climate.php.

สำนักโรคติดต่ออุบัติใหม่ กรมควบคุมโรค. โรคไข้หวัดใหญ่ (อินเตอร์เน็ต]. นนทบุรี; 2558 [สืบคั้นวันที่ 17 ก.ค. 2558]. เข้าถึงได้ จาก: http://beid.ddc.moph.go.th/beid_ 2014/th/diseases/253.

สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค. ระบบเฝ้าระวังโรคทางระบาดวิทยาของกลุ่มอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ [อินเตอร์เน็ต]. นนทบุรี: 2557 [สืบค้นวันที่ 10 เมษายน 2557]. เข้าถึงได้จาก: http://interfetpthailand.net/ili/index.php.

ดารินทร์ อารีย์โชคชัย, ฐิติพงษ์ ยิ่งยง, ธราวิทย์ อุปพงษ์, เสาวพักตร์ อิ้นจ้อย, วัชรี่ แก้วนอกเขา, สมเจตน์ ตั้งเจริญศิลป์ และคณะ. แนวทางการรายงานโรคที่มีความสำคัญสูงประเทศไทย. เล่ม 1. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย; 2555.

ภันทิลา ทวีวิกยการ, จิรภัทร กัลยาณพจน์พร, ชูพงศ์ แสงสว่าง, สุรเชษฐ์ อรุโณทอง, ศุภฤกษ์ ถวิลลาภ, พรเอือ บุญยไพศาลเจริญ และคณะ. การสอบสวนกรณีผู้ป่วยเสียชีวิตด้วยโรคไข้หวัดใหญ่ชนิด A (H1 N1) 2009 ในอำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ เดือนกุมภาพันธ์ 2557. รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์. 2558; 46: 545-51.

อัจฉรา ตั้งสถาพรพงษ์ และทวี โชติพิทยสุนนท์. วัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ [อินเตอร์เน็ต]. นนทบุรี; 2560 [สืบค้นวันที่ 15 มีนาคม 2560] เข้าถึงได้จาก: http://pidst.or.th/A370.html

CDC (Centers for Disease Control and Prevention). Key facts about seasonal flu vaccine [internet]. USA; 2017 [cited 2017 November 18]. Available from: https://www.cdc.gov/flu/protect/keyfacts.htm

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-03

How to Cite

ศิลารักษ์ ก., นามวงศ์ ถ., เลิศทรัพย์พูลทวี ส., แสงภักดิ์ แ., บัวเขียว ส., คำพัฒน์ ส., ดวงแก้ว จ., ปรีชาพลสิทธิ์ ม., โคตรวุฒิ ด., & ศรีวะโสภา ด. (2024). การสอบสวนการระบาดโรคข้หวัดใหญ่ชนิด A/H1N1 2009 ในทหารใหม่กองร้อยอาวุธเบา ค่ายทหารแห่งหนึ่ง จังหวัดยโสธร เดือนพฤษภาคม 2560. รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์, 48(52), 817–824. สืบค้น จาก https://he05.tci-thaijo.org/index.php/WESR/article/view/2284

ฉบับ

บท

บทความต้นฉบับ