การสำรวจความชุกโรคหนอนพยาธิในกลุ่มแรงงานต่างด้าวพื้นที่จังหวัดตราด ปี พ.ศ. 2564

ผู้แต่ง

  • ลออรัตน์ เวชกุล กองโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
  • อรนาถ วัฒนวงษ์ กองโรคติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
  • สุภัทรตา ศรีทองแท้
  • ทองรู้ กอผจญ
  • ฐิติมา วงศาโรจน์ กองโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข

DOI:

https://doi.org/10.59096/wesr.v55i8.2363

คำสำคัญ:

การสำรวจ, ความชุก, โรคหนอนพยาธิ, แรงงานต่างด้าว, จังหวัดตราด

บทคัดย่อ

บทนำ : จากปัญหาการตรวจพบความชุกสูงของโรคหนอนพยาธิในกลุ่มแรงงานต่างด้าวที่อยู่ในประเทศไทย จึงได้เร่งรัดสำรวจในพื้นที่ที่มีแรงงานต่างด้าวอาศัยอยู่จำนวนมากทั่วประเทศ อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีการสำรวจความชุกโรคหนอนพยาธิในแรงงานต่างด้าวพื้นที่ชายแดนประเทศกัมพูชา ดังนั้นในปี พ.ศ. 2564 จึงดำเนินการสำรวจในพื้นที่จังหวัดตราด เนื่องจากมีพรมแดนเชื่อมต่อกับประเทศกัมพูชา และมีแรงงานต่างด้าวเข้ามาทำงานจำนวนมาก มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์ของโรคหนอนพยาธิ และเพื่อกำหนดมาตรการแนวทางการดูแลสุขภาพของแรงงานต่างด้าวนำไปสู่การพัฒนาระบบเฝ้าระวังและควบคุมโรคหนอนพยาธิในประเทศไทย

วิธีการศึกษา : การศึกษาแบบตัดขวาง โดยสุ่มเลือกอำเภอเพื่อเก็บข้อมูลโดยใช้วิธี Simple random sampling และสุ่มคัดเลือกแรงงานต่างด้าวโดยใช้วิธี Convenience sampling จากนั้นทำการเก็บอุจจาระด้วยวิธีทำให้เข้มข้น (Formalin ether concentration technique หรือ FECT) และนำมาตรวจวินิจฉัยโรคหนอนพยาธิด้วยกล้องจุลทรรศน์ค้นหาไข่และตัวอ่อนหนอนพยาธิ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนาโดยคำนวณร้อยละ (%) สัดส่วน หาค่าความชุกของการติดโรคหนอนพยาธิ และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเปรียบเทียบโดยใช้การทดสอบ Chi square test หรือ Fisher’s exact test ชนิด 2-sided test โดยการมีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ P-value น้อยกว่า 0.05 เปรียบเทียบระหว่างข้อมูลทั่วไปของแรงงานต่างด้าวกับการติดโรคหนอนพยาธิ เพื่อค้นหาปัจจัยเสี่ยงที่มีความสัมพันธ์การติดโรคหนอนพยาธิ

ผลการศึกษา : ตัวอย่างอุจจาระจากแรงงานต่างด้าวที่มีสัญชาติกัมพูชาที่จำนวน 644 ตัวอย่าง ตรวจพบโรคหนอนพยาธิจำนวน 14 ตัวอย่าง (2.17%) จำแนกเป็นชนิดของพยาธิ พบพยาธิปากขอ (1.24%) พยาธิใบไม้ตับ (0.47%) พยาธิใบไม้ลำไส้ขนาดเล็ก (0.31%) และพยาธิตัวตืด (0.16%) ตามลำดับ ไม่พบตัวอย่างที่ตรวจพบพยาธิมากกว่า 1 ชนิด พบความชุกของการตรวจพบโรคหนอนพยาธิในเพศหญิง (2.78%) สูงกว่าเพศชาย (1.21%) คิดเป็นอัตราส่วนเพศหญิงต่อเพศชาย เท่ากับ 2 : 1 และพบโรคหนอนพยาธิในกลุ่มแรงงานต่างด้าวที่มีอายุน้อยเท่านั้น คือ อายุ 20–39 ปี (2.61%) และน้อยกว่า 20 ปี (2.43%) ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม เพศและอายุไม่พบว่ามีความสัมพันธ์ทางสถิติกับการติดเชื้อหนอนพยาธิ การประกอบอาชีพของแรงงานต่างด้าวมีโอกาสติดเชื้อใกล้เคียงกันโดยอาชีพรับจ้างทั่วไปพบการติดเชื้อสูงสุด (4.48%) รองลงมา คือ แรงงานในโรงโม่หิน (2.78%) และแรงงานประมง (1.96%) และไม่มีความสัมพันธ์กับการติดเชื้อ โดยสำหรับพื้นที่อำเภอบ่อไร่ (3.95%) และอำเภอเมืองตราด (3.15%) มีความชุกโรคหนอนพยาธิสูงกว่าอำเภอเขาสมิงและอำเภอคอลงใหญ่ประมาณ 2 เท่าตัว

สรุปผลการศึกษาและข้อเสนอแนะ : การศึกษาครั้งนี้พบว่าความชุกของการติดเชื้อโรคหนอนพยาธิในกลุ่มแรงงานต่างด้าวจังหวัดตราดมีความชุกต่ำ อย่างไรก็ตามยังคงมีปัญหาในบางกลุ่ม เช่น แรงงานเพศหญิง และแรงงานอายุน้อยกว่า 40 ปี ซึ่งจะต้องมีการศึกษาพฤติกรรมสุขภาพ เช่น การบริโภคอาหารและการสวมรองเท้า เป็นต้น เพื่อกำหนดมาตรการควบคุมและป้องกันเฉพาะกลุ่มอย่างเหมาะสม รวมทั้งหน่วยงานสาธารณสุขในพื้นที่ควรมีการสำรวจในเขตอำเภอที่พบความชุกโรคหนอนพยาธิสูง และอำเภอที่เหลืออื่น ๆ เพื่อคัดกรองค้นหาผู้ติดโรคหนอนพยาธิและให้ยารักษาเป็นระยะ พร้อมกับรณรงค์ให้ความรู้เรื่องโรคหนอนพยาธิด้วยการสื่อสารที่เข้าใจได้ง่ายในกลุ่มแรงงานต่างด้าว

References

Department of Disease Control (TH), Division of General Communicable Diseases. Report on the study of the situation of worm and intestinal protozoan diseases in Thailand 2019. Nonthaburi: Division of General Communicable Diseases, Department of Disease Control; 2019. (in Thai)

Hotez PJ, Bottazzi ME, Strych U, Chang LY, Lim YA, Goodenow MM, et al. Neglected tropical diseases among the Association of Southeast Asian Nations (ASEAN): overview and update. PLoS Negl Trop Dis. 2015 Apr 16;9(4): e0003575.

Peanumlom P, Swaddiwudhipong W, Umphong T, Jaiyake P. Prevalence of helminthiasis among myanmar migrants in the municipality of mae sot, tak province, 2008. Journal of Health Science. 2011;20:31–7. (in Thai)

Nuchprayoon S, Sanprasert V, Kaewzaithim S, Saksirisampant W. Screening for intestinal parasitic infections among Myanmar migrant workers in Thai food industry: a high-risk transmission. J Immigr Minor Health. 2009 Apr;11(2):115–21.

Ngrenngarmlert W, Kritsiriwuthinan K, Nilmanee N. Prevalence of intestinal parasitic infections among myanmar workers in Bangkok and Samut Sakhon. Asia J Public Health. 2012;3(2):53–8.

Sagnuankiat S, Wanichsuwan M, Bhunnachet E, Jungarat N, Panraksa K, Komalamisra C, et al. Health status of immigrant children and environmental survey of child daycare centers in Samut Sakhon Province, Thailand. J Immigr Minor Health. 2016;18(1):21–7.

Kaewpitoon S, Sangwalee W, Kujapun J, Norkaew J, Chuatanam J, Ponphimai S, et al. Active screening of gastrointestinal helminth infection in migrant workers in Thailand. Journal of International Medical Research. 2018;46(11):4560–8.

Olsen A, van Lieshout L, Marti H, Polderman T, Polman K, Steinmann P, et al. Strongyloidiasis—the most neglected of the neglected tropical diseases? Trans R Soc Trop Med Hyg. 2009;103(10):967–72.

Forrer A, Khieu V, Scha¨r F, Hattendorf J, Marti H, Neumayr A, et al. Strongyloides stercoralis is associated with significant morbidity in rural Cambodia, including stunting in children. PLoS Negl Trop Dis. 2017 Oct 23;11(10):e0005685. doi: 10.1371/journal.pntd.0005685. eCollection 2017 Oct.

Schär F, Inpankaew T, Traub RJ, Khieu V, Dalsgaard A, Chimnoi W, et al. The prevalence and diversity of intestinal parasitic infections in humans and domestic animals in a rural Cambodian village. Parasitol Int. 2014;63(4):597–603.

Chesnaye N, Sinuon M, Socheat D, Koporc K, Mathieu E. Treatment coverage survey after a school-based mass distribution of mebendazole: Kampot Province, Cambodia. Acta Trop. 2011;118(1):21–6.

Miyamoto K, Kirinoki M, Matsuda H, Hayashi N, Chigusa Y, Sinuon M, et al. Field survey focused on Opisthorchis viverrini infection in five provinces of Cambodia. Parasitol Int. 2014 Apr;63(2):366–73.

Ministry of Public Health (TH), Office of the Permanent Secretary, Division of Health Economics and Health Insurance. Health examination and health insurance measures for foreign workers. Nonthaburi: Ministry of Public Health; 2020. (in Thai)

Sota P, Andityas M, Kotepui M, Sripa B. Prevalence estimates of Opisthorchis viverrini and Clonorchis sinensis infection in the Greater Mekong subregion: a systematic review and meta-analysis. Infect Dis Poverty. 2024;13(1):33.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-08-28

How to Cite

เวชกุล ล., วัฒนวงษ์ อ., ศรีทองแท้ ส., กอผจญ ท., & วงศาโรจน์ ฐ. (2024). การสำรวจความชุกโรคหนอนพยาธิในกลุ่มแรงงานต่างด้าวพื้นที่จังหวัดตราด ปี พ.ศ. 2564. รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์, 55(8). https://doi.org/10.59096/wesr.v55i8.2363

ฉบับ

บท

บทความต้นฉบับ