การสอบสวนการระบาดของโรคไข้มาลาเรีย อำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี มิถุนายน 2566

ผู้แต่ง

  • ณัฏฐิภรณ์ เทพวิไล กองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
  • มัลลิตา กัณทาพันธุ์ กองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
  • ชลลดา ศิริ กองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
  • วิไล วงค์ขัติ กองโรคติดต่อนำโดยแมลง กรมควบคุมโรค
  • กวี โพธิ์เงิน สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 5 จังหวัดราชบุรี
  • ศิริวรรณ พูลพิพัฒน์ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 5 จังหวัดราชบุรี
  • วาสนา ลอยธง ศูนย์ควบคุมโรคติดต่อนำโดยแมลงที่ 5.1 จังหวัดกาญจนบุรี
  • ชัยณรงค์ สุขขำ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุพรรณบุรี

คำสำคัญ:

การระบาด, โรคไข้มาลาเรีย, เชื้อ Plasmodium vivax, อำเภอด่านช้าง, จังหวัดสุพรรณบุรี

บทคัดย่อ

ความเป็นมา : วันที่ 26 มิถุนายน 2566 กองระบาดวิทยาได้รับแจ้งจากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุพรรณบุรีว่า ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์–มิถุนายน 2566 มีรายงานผู้ป่วยไข้มาลาเรียมากผิดปกติรวม 11 ราย ในพื้นที่ที่ไม่มีการแพร่เชื้อมาลาเรีย ในตำบลองค์พระ และตำบลวังยาว อำเภอด่านช้าง ทีมสอบสวนโรคจากกองระบาดวิทยา ร่วมกับหน่วยงานของกองโรคติดต่อนำโดยแมลง สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 5 จังหวัดราชบุรี และสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุพรรณบุรี ได้ดำเนินการสอบสวนโรคระหว่างวันที่ 27–30 มิถุนายน 2566 เพื่อยืนยันการวินิจฉัยและการระบาด พรรณนาลักษณะการกระจายทางระบาดวิทยา ศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเกิดโรค และเสนอมาตรการควบคุมป้องกันโรค

วิธีการศึกษา : เป็นการศึกษาระบาดวิทยาเชิงพรรณนา โดยศึกษาสถานการณ์โรคไข้มาลาเรีย อำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี พ.ศ. 2561–มิถุนายน 2566 ทบทวนเวชระเบียนของผู้ป่วยโรคไข้มาลาเรียในการระบาดครั้งนี้ ซึ่งพบผู้ป่วยตั้งแต่เดือนธันวาคม 2565 ถึงมิถุนายน 2566 ค้นหาผู้ป่วยเพิ่มเติมในหมู่บ้าน ศึกษาผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ ศึกษาสภาพแวดล้อม และศึกษาโดยการสำรวจทางกีฏวิทยา

ผลการศึกษา: ในช่วงเดือนธันวาคม 2565–มิถุนายน 2566 พบผู้ป่วยรวม 43 ราย ไม่มีผู้เสียชีวิต โดยเป็นผู้ป่วยที่มารับการรักษาที่สถานบริการสาธารณสุขรวม 36 ราย และจากการค้นหาเพิ่มเติมในชุมชนรวม 7 ราย ผู้ป่วยเป็นชาวไทย 42 ราย (อัตราป่วย 1.53 ต่อประชากรพันคน) และชาวเมียนมา 1 ราย สำหรับผู้ป่วยชาวไทย พบเป็นเพศชาย (อัตราป่วย 1.78 ต่อประชากรพันคน) มากกว่าเพศหญิง (อัตราป่วย 1.28 ต่อประชากรพันคน) พบผู้ป่วยในทุกกลุ่มอายุ ผู้ป่วยกระจายอยู่ใน 4 ตำบล โดยอัตราป่วยสูงสุดพบในตำบลองค์พระ (อัตราป่วย 5.02 ต่อประชากรพันคน) รองลงมา คือ ตำบลวังยาว (อัตราป่วย 1.94 ต่อประชากรพันคน) การระบาดนี้เริ่มโดยมีรายงานผู้ป่วย 3 รายแรกในเดือนธันวาคม 2565 ซึ่งน่าจะติดเชื้อระหว่างไปทำเกษตรกรรมในพื้นที่แพร่เชื้อมาลาเรียในจังหวัดกาญจนบุรี และต่อมาในปี พ.ศ. 2566 ก็พบผู้ป่วยหลายรายตามมาในอำเภอด่านช้าง โดยน่าจะติดเชื้อในพื้นที่เอง ซึ่งจากการสำรวจทางกีฏวิทยาในหมู่บ้าน พบยุงก้นปล่องพาหะหลักนำเชื้อมาลาเรีย คือ Anopheles maculatus และ Anopheles minimus รวมทั้งพบว่าการตรวจจับการระบาดและการควบคุมโรคมีความล่าช้า ผู้ป่วยทั้งหมดได้รับการตรวจยืนยันว่าติดเชื้อ Plasmodium vivax (Pv) และมีผู้ป่วยเพียงร้อยละ 18.18 ที่มารับการตรวจติดตาม 4 ครั้งตามกำหนด

สรุปผลการศึกษา : การระบาดของเชื้อมาลาเรีย Pv ในอำเภอด่านช้างครั้งนี้ เกิดในพื้นที่ที่เดิมเป็นพื้นที่ไม่มีการแพร่เชื้อมาลาเรีย โดยผู้ป่วย 3 รายแรก น่าจะติดเชื้อมาจากพื้นที่แพร่เชื้อมาลาเรียในจังหวัดกาญจนบุรี และต่อมาระบาดในพื้นที่เอง เนื่องจากมียุงพาหะหลัก และมีการตรวจจับการระบาดและการควบคุมโรคที่ล่าช้า ดังนั้นการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคที่เข้มแข็ง และมีระบบติดตามผู้ป่วยที่ดี เป็นสิ่งจำเป็นในพื้นที่

References

Department of Disease Control (TH). Malaria, cerebral malaria [Internet]. 2022 [cited 2023 AUG 30]. Available from: https://ddc.moph.go.th/disease_detail.php?d=17 (in Thai)

Department of Disease Control (TH), Division of Vector Borne Disease. Guidelines for the treatment of malaria in Thailand 2021. Nonthaburi: Bureau of Vector Borne Disease, Department of Disease Control; 2021. (in Thai)

Department of Disease Control (TH), Bureau of Vector Borne Disease. National malaria elimination strategy Thailand 2017-2026. Nonthaburi: Bureau of Vector Borne Disease, Department of Disease Control; 2016. (in Thai)

Thailand Malaria Elimination Program. Malaria cases in Thailand, fiscal year 2018 - June 2023 [Internet]. 2024 [cited 2024 JAN 3]. Available from: https://malaria.ddc.moph.go.th/malariaR10/index_newversion.php (in Thai)

Rattanarithikul R, Harrison BA, Harbach RE, Panthusiri P, Coleman RE, Panthusiri P. Illustrated keys to the mosquitoes of Thailand. IV. Anopheles. Southeast Asian J Trop Med Public Health. 2006; 37 Suppl 2: 1–128.

World Health Organization. Malaria surveillance assessment toolkit: implementation reference guide [Internet]. 2022 [cited 2023 SEP 1]. Available from: https://iris.who.int/bitstream/handle/10665/361178/9789240055278-eng.pdf?sequence=1

Department of Disease Control (TH), Bureau of Vector Borne Disease. Guide to malaria elimination for public health officials at the sub-district and district levels. Nonthaburi: Bureau of Vector Borne Disease, Department of Disease Control; 2019. (in Thai)

Department of Disease Control (TH), Bureau of Vector Borne Disease. Guide to malaria elimination for medical and public health personnel in Thailand. Nonthaburi: Bureau of Vector Borne Disease, Department of Disease Control; 2019. (in Thai)

Department of Disease Control (TH), Bureau of Vector Borne Disease. Guide to malaria elimination for Thailand’s local administrative government organizations and the health networks. Nonthaburi: Bureau of Vector Borne Disease, Department of Disease Control; 2019. (in Thai)

Department of Disease Control (TH), Bureau of Vector Borne Disease. Manual for monitoring treatment of malaria patients in Thailand 2019. Nonthaburi: Bureau of Vector Borne Disease, Department of Disease Control; 2019. (in Thai)

Department of Disease Control (TH), Division of Vector Borne Disease. Malaria hazard specific plan [Internet]. 2022 [cited 2023 AUG 30] Available from: https://malaria.ddc.moph.go.th/downloadfiles/MalariaHazardSpecificPlan.PDF

World Health Organization. Global technical strategy for malaria 2016-2030 [Internet]. 2021 [cited 2023 SEP 1]. Available from: https://www.who.int/publications/i/item/9789240031357

World Health Organization. Regional Office for the Eastern Mediterranean. Guidelines on prevention of the reintroduction of malaria [Internet]. 2007 [cited 2023 AUG 18]. Available from: https://apps.who.int/iris/handle/10665/119851

Aboobakar S, Tatarskv A, Cohen JM, Bheecarry A, Boolaky P, Gopee N, et al. Eliminating malaria and preventing its reintroduction: the Mauritius case study. Malar J. 2012;11(S1):11–2.

World Health Organization. Word malaria report 2021 [Internet]. 2021 [cited 2023 SEP 1]. Available from: https://www.who.int/teams/global-malaria-programme/reports/world-malaria-report-2021

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-08-15

ฉบับ

บท

บทความต้นฉบับ