การระบาดของโรคอาหารเป็นพิษในตำรวจที่ปฏิบัติหน้าที่ในทำเนียบรัฐบาล กรุงเทพมหานคร เดือนมีนาคม 2554
คำสำคัญ:
อาหารเป็นพิษ, การระบาดบทคัดย่อ
ความเป็นมา: วันที่ 16 มีนาคม 2554 สำนักระบาดวิทยาได้รับ รายงานมีกลุ่มผู้ป่วยด้วยโรคอาหารเป็นพิษ เป็นตำรวจสังกัด ก ที่ปฏิบัติหน้าที่ในสถานที่ราชการแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร ทีมสอบสวนโรคจึงได้ดำเนินการสอบสวนโรคในวันเดียวกัน โดยมีวัตถุประสงค์ในการสอบสวนโรคคือ เพื่อยืนยันการวินิจฉัยโรค อธิบายขนาดความรุนแรงของการระบาดของโรคค้นหาแหล่งโรค และวิเคราะห์หาปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรค และเพื่อเสนอแนะแนวทางในการป้องกันและควบคุมโรค
วิธีการศึกษา: ใช้วิธีการศึกษาแบบ retrospective cohort study ในกลุ่มตำรวจสังกัด ก ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ในสถานที่ราชการแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร โดยกำหนดนิยามผู้ป่วยสงสัย คือ ตำรวจสังกัด ก ที่ปฏิบัติหน้าที่ในสถานที่ราชการแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร ระหว่างวันที่ 16 - 18 มีนาคม 2554 ที่มีอาการท้องเสีย ร่วมกับอาการใดอาการหนึ่งต่อไปนี้ ได้แก่ ปวดท้องคลื่นส้ อาเจียน หรือมี และดำเนินการสอบสวนโรค คือ เพื่อยืนยันการวินิจฉัยโรค อธิบายขนาดความรุนแรงของการระบาดของโรค ค้นหาแหล่งโรคและวิเคราะห์หาปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรค และเพื่อเสนอแนะแนวทางในการป้องกันและควบคุมโรค
วิธีการศึกษา: ใช้วิธีการศึกษาแบบ retrospective cohort study ในกลุ่มตำรวจสังกัด ก ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ในสถานที่ราชการแห่งหนึ่ง ในกรุงเทพมหานคร โดยกำหนดนิยามผู้ป่วยสงสัย คือ ตำรวจสังกัด ก ที่ปฏิบัติหน้าที่ในสถานที่ราชการแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร ระหว่างวันที่ 16 - 18 มีนาคม 2554 ที่มีอาการท้องเสีย ร่วมกับอาการใดอาการหนึ่งต่อไปนี้ ได้แก่ ปวดท้องคลื่นไส้ อาเจียน หรือมี ไข้ และดำเนินการสำรวจสภาพแวดล้อมบริเวณประกอบอาหาร รวมทั้งเก็บตัวอย่างอุจจาระผู้ป่วยและผู้ประกอบอาหาร และตัวอย่างอาหารเพื่อส่งตรวจเพาะเชื้อโรคที่เป็นสาเหตุ
ผลการศึกษา: ตำรวจที่สามารถให้สัมภาษณ์ได้มีทั้งสิ้นร้อยละ 52.87 (92/174) โดยเป็นผู้ป่วยสงสัยตามนิยามจำนวน 51 ราย (อัตราป่วย ร้อยละ 55.43) ค่ามัธยฐานอายุ คือ 28 ปี (พิสัย 24 - 44 ปี) จากแผนภูมิการระบาดของโรคแสดงให้เห็นรูปแบบการระบาดว่าเป็นชนิดมีแหล่งโรคร่วม และมีค่ามัธยฐานของระยะฟักตัวของโรค คือ 13.15 ชั่วโมง (พิสัย 3 - 24 ชั่วโมง) อาการและอาการแสดงที่พบได้มากที่สุด คือ ท้องเสียและปวดท้อง (ร้อยละ 100) รองลงมา คือ คลื่นไส้ (ร้อยละ 35.30) และมีไข้ (ร้อยละ 17.60) ตามลำดับ ข้าวผัดปูเป็นอาหารสงสัยเพียงชนิดเดียวในการระบาดครั้งนี้ (RR=infinity, p-value <0.001) การตรวจตัวอย่างอุจจาระในผู้ป่วยสามรายจากทั้งหมดห้ารายและผู้ประกอบอาหารหนึ่งรายพบ ให้ผลบวกต่อ Vibrio parahaemolyticus ตัวอย่างเนื้อปูนึ่งที่ใช้ ในการทำข้าวผัดปูพบให้ผลบวกต่อ Aeromonas caviae และ E. coli พบการเก็บวัตถุดิบในการประกอบอาหารทุกชนิดไว้ในถังน้ำแข็งใบเดียวกัน เนื้อปูนึ่งมีการผ่านความร้อนอีกหนึ่งครั้งก่อนนำไปวางลงบนข้าวผัด และเตรียมเสร็จก่อนเวลารับประทาน อาหารประมาณ 2.5 ชั่วโมง นอกจากนี้ยังพบผู้ประกอบอาหารมี พฤติกรรมการใช้มือเปล่าในขณะประกอบอาหารอีกด้วย
สรุป: การระบาดของโรคในครั้งนี้น่าจะมีสาเหตุจากการติดเชื้อ Vibrio parahaemolyticus มากที่สุด โดยมีข้าวผัดปูและการประกอบอาหารที่ไม่ถูกสุขลักษณะเป็นแหล่งโรคที่สงสัยในการ ระบาด จึงได้มีการแนะนำเกี่ยวกับสุขอนามัยส่วนบุคคลและสุขาภิบาลอาหารที่ถูกต้องให้แก่ผู้ประกอบอาหารทุกคน
References
สุริยะ คูหะรัตน์, บรรณาธิการ. นิยามโรคติดเชื้อประเทศไทย. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์, 2546.
อมรรัตน์ ชอบกตัญญู. โรคอาหารเป็นพิษ ปี พ.ศ. 2553. รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์ 2552; 42:374-6.
พงษ์ศักดิ์ เสือมาก และคณะ. การสอบสวนโรคอาหารเป็นพิษ จากเชื้อ Vibrio parahaemolyticus วิทยาลัยพยาบาลบรม ราชชนนี สุราษฎร์ธานี สิงหาคม 2550. รร้ายงานการเฝ้าระวัง ทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์ 2552; 40: 413-7.
David L. Heymann, Control of Communicable Disease Manual. 19th Edition Washington DC., American Public Health Association 2008: 132-3.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2012 รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงพิมพ์กับ WESR ถือเป็นข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ใน WESR ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่ง ส่วนใดไปเผยแพร่ กรุณาอ้างอิงบทความนั้น ๆ