การประเมินระบบเฝ้าระวังโรคหัด จังหวัดตาก ปี พ.ศ. 2554
คำสำคัญ:
การประเมิน, การเฝ้าระวัง, โรคหัดบทคัดย่อ
องค์การอนามัยโลกและประเทศสมาชิก รวมทั้งประเทศไทย มีพันธะสัญญาร่วมกันในการกำจัดโรคหัด โดยมีเป้าหมายที่จะกำจัดโรคหัด โดยประเทศไทยมีเป้าหมายที่จะกำจัดโรคหัดให้ได้ใน ปี พ.ศ. 2563 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดตาก ได้มีการจัดประชุมชี้แจงแนวทางการดำเนินงานโครงการกำจัดโรคหัดในเดือนสิงหาคม 2554 ให้แก่เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องในระดับอำเภอ ดังนั้น สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่จังหวัดพิษณุโลก ร่วมกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดตาก และสำนักระบาดวิทยา ได้ประเมินการเฝ้าระวังโรคหัด โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณสมบัติของระบบเฝ้าระวังโรคหัดในเชิงปริมาณ และให้ข้อเสนอแนะในการปรับปรุงระบบเฝ้าระวังโรคหัด เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา (Descriptive study) จากการทบทวนเวชระเบียนผู้ป่วยตามรหัส ICD 10 ที่เข้า มารับบริการจากโรงพยาบาลทั้ง 8 แห่ง ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม - 31 ธันวาคม 2554 ทั้งหมดจำนวน 465 ราย ผู้ป่วยที่เข้าได้ตามนิยามผู้ป่วยสงสัยโรคหัดทั้งหมด 67 ราย แต่ไม่มีในรายงาน 506 ทั้งหมด จำนวน 37 ราย ค่าความไว ร้อยละ 49.8 ค่าพยากรณ์บวก ร้อยละ 66.7 ความเป็นตัวแทนของระบบเฝ้าระวัง พบอัตราส่วนเพศชายต่อเพศหญิง ในผู้ป่วยรายงาน 506 เท่ากับ 1:1 จากข้อมูล จากเวชระเบียน เท่ากับ 0.7 : 1 ด้านอายุ พบว่า จากรายงาน 506 ค่ามัธยฐานอายุ 7 ปี (พิสัย 2 เดือน - 49 ปี) ข้อมูลจากเวชระเบียน ค่ามัธยฐานอายุ 2.5 ปี (พิสัย 1 - 30 ปี) ความถูกต้องของการบันทึกข้อมูลเฝ้าระวัง (Accuracy) โรคหัด จังหวัดตาก มีความถูกต้องของการบันทึกข้อมูลอยู่ในระดับมากกว่า ร้อยละ 90 ด้านความทันเวลา (Timeliness) ของระบบเฝ้าระวัง มีความทันเวลา ร้อยละ 86.7 จากผลการประเมินค่พยากรณ์วกของระบบเฝ้าระวัง เมื่อพิจรณาตามกลุ่มโรงพยาบาล ส่วนใหญ่อยู่ในระดับพอใช้ถึงควรปรับปรุง ทั้งนี้พบว่าแพทย์บางโรงพยาบาลมีการใช้นิยามในการวินิจฉัยที่ค่อนข้างมีความจำเพาะสูง ดังนั้นจึงควรใช้นิยามตามการเฝ้าระวังโรคหัด เพื่อให้เกิดการรายงานและสอบสวนผู้ป่วยสงสัยโรคหัดทุกราย
References
สรุปรายงานการเฝ้าระวังโรคในเขตตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุขที่ 17, กลุ่มระบาดวิทยาและข่าวกรอง สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 9 จังหวัดพิษณุโลก; 2550-2554.
ปียนิตย์ ธรรมาภรณ์พิลาศ. โครงการกำจัดโรคหัดในประเทศไทยตามพันธะสัญญานานาชาติ. ใน: ปิยนิตย์ ธรรมาภรณ์พิลาศ, พร ทิพย์ จอมพุก, เลิศฤทธิ์ ลีลาธร, บรรณาธิการ. แนวทางการเฝ้า ระวังควบคุมโรค การตรวจรักษาและส่งตัวอย่างตรวจทางห้องปฏิบัติการเพื่อการกำจัดโรคหัดตามโครงการกำจัดโรคหัดตาม พันธะสัญญานานาชาติ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย; 2555. หน้า 1-6.
ดารินทร์ อารีย์โชคชัย และ สมเจตน์ ตั้งเจริญศิลป์. แนวทางการเฝ้าระวังสอบสวนทางระบาดวิทยาและการรายงานโรคหัด. ใน: ปิยนิตย์ ธรรมาภรณ์พิลาศ, พรทิพย์ จอมพุก, เลิศฤทธิ์ ลีลาธร, บรรณาธิการ. แนวทางการเฝ้าระวังควบคุมโรคการตรวจรักษา และส่งตัวอย่างตรวจทางห้องปฏิบัติการเพื่อการกำจัดโรคหัดตามโครงการกำจัดโรคหัดตามพันธะสัญญานานาชาติ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคระโรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศ ไทย; 2555. หน้า 13-24.
ธนรักษ์ ผลิพัฒน์, บรรณาธิการ. แนวทางการประเมินระบบเฝ้าระวังทางสาธารณสุข. พิมพ์ครั้งที่ 3 นนทบุรี: สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข; 2551.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2012 รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงพิมพ์กับ WESR ถือเป็นข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ใน WESR ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่ง ส่วนใดไปเผยแพร่ กรุณาอ้างอิงบทความนั้น ๆ