ความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพกับพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากโรคเลปโตสไปโรสิสของประชาชน อำเภอเมืองกระบี่ จังหวัดกระบี่

ผู้แต่ง

  • สมศรี สามารถ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกระบี่

DOI:

https://doi.org/10.59096/wesr.v55i7.2933

คำสำคัญ:

โรคเลปโตสไปโรสิส, ความรอบรู้ด้านสุขภาพ, พฤติกรรมการป้องกันตนเอง

บทคัดย่อ

บทนำ : โรคเลปโตสไปโรสิสเป็นโรคติดต่อระหว่างสัตว์และคน เกิดจากเชื้อแบคทีเรียเลปโตสไปราที่ติดต่อมาจากสัตว์หลายชนิด การติดเชื้อมีได้ตั้งแต่ไม่ปรากฏอาการ อาการเล็กน้อย รุนแรง หรือเสียชีวิต โรคนี้พบได้บ่อยที่สุดในประเทศเขตร้อนหรือกึ่งเขตร้อน และพบได้ทั่วไปทั้งในเขตเมือง และชนบท สถานการณ์โรคเลปโตสไปโรสิสในจังหวัดกระบี่ตั้งแต่ปี 2562–2566 มีรายงานจำนวนผู้ป่วยเท่ากับ 40, 33, 11, 46, 17 ราย คิดเป็นอัตราป่วย เท่ากับ 8.48, 7.00, 2.33, 9.59, 3.54 ต่อประชากรแสนคน ตามลำดับ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความรอบรู้ด้านสุขภาพโรคเลปโตสไปโรสิสของประชาชนในอำเภอเมืองกระบี่ จังหวัดกระบี่ 2) ประเมินพฤติกรรมสุขภาพในการป้องกันตนเองจากโรคเลปโตสไปโรสิสของประชาชนในอำเภอเมืองกระบี่ จังหวัดกระบี่ 3) วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพกับพฤติกรรมสุขภาพในการป้องกันตนเองจากโรคเลปโตสไปโรสิส

วิธีการศึกษา : การวิจัยนี้เป็นการศึกษาระบาดวิทยาเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ จำนวนทั้งหมด 294 คน คือ ประชาชนอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป ทั้งเพศหญิงและเพศชาย ที่พำนักอาศัยในอำเภอเมืองกระบี่ จังหวัดกระบี่ สถิติที่ใช้คือสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน หรือ สถิติสเปียร์แมน กรณีข้อมูลมีการกระจายแบบไม่ปกติ

ผลการศึกษา : กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาครั้งนี้ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อัตราส่วนเพศชาย:หญิง เท่ากับ 1 : 2.3 กลุ่มอายุวัยทำงาน ร้อยละ 88.4 การศึกษาสูงสุดส่วนใหญ่จบปริญญาตรีขึ้นไปและประถมศึกษา ร้อยละ 56.5 สถานะทางสังคมเป็นอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน/อาสาสมัครประจำครอบครัว ร้อยละ 47.6 อาชีพรับจ้าง ร้อยละ 32.3 รายได้ต่อเดือน 10,000–29,999 บาท ร้อยละ 38.4 ผลการประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพในด้านการรับรู้ ความรู้สึก ความเชื่อมั่น ความสามารถหรือทักษะด้านสุขภาพของตนเอง พบว่า ประเด็นคำถามความรอบรู้ด้านสุขภาพอยู่ในระดับมากทุกประเด็น ความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพในทุกประเด็น (X1–X6) มีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากโรคเลปโตสไปโรสิส (X7) ดังนี้ การเข้าถึงข้อมูลและบริการสุขภาพ (X1) ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ 0.218 (P < 0.01) ความเข้าใจข้อมูลและบริการสุขภาพที่เพียงพอต่อการปฏิบัติ (X2) ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ 0.252 (P < 0.01) การโต้ตอบซักถามเพื่อเพิ่มความรู้ความเข้าใจ (X3) ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ 0.208 (P < 0.01) การตัดสินใจด้านสุขภาพ (X4) ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ 0.289 (P < 0.01) การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพตนเอง (X5) ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ 0.234 (P < 0.01) การบอกต่อข้อมูลด้านสุขภาพ (X6) ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ 0.327 (P < 0.01)

สรุปผลการศึกษาและข้อเสนอแนะ : ความรอบรู้ด้านสุขภาพในทุกประเด็นมีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากโรคเลปโตสไปโรสิส องค์ความรู้ที่ได้จากการวิจัยสามารถใช้ในการพัฒนาแนวทาง คู่มือ ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเกี่ยวกับความรอบรู้ด้านสุขภาพ พฤติกรรมสุขภาพในการป้องกันตนเองจากโรคเลปโตสไปโรสิส สำหรับผู้บริหาร บุคลากรสาธารณสุข และผู้ที่เกี่ยวข้อง

References

Ministry of Public Health Thailand, Department of Disease Control. Leptospirosis, Weil Disease [Internet]. 2024 [cited 2024 Mar 9]. Available from: https://ddc.moph.go.th/disease_detail.php?d=16 (in Thai)

World Health Organization. Human leptospirosis: Guidance for diagnosis, surveillance and control. Geneva: World Health Organization; 2003.

Haake DA, Levett PN. Leptospirosis in humans. Curr Top Microbiol Immunol. 2015;387:1–33.

Department of Disease Control Thailand, Bureau of General Communicable Diseases. Academic Manual of Leptospirosis. Nonthaburi: Department of Disease Control; 2019. (in Thai)

Department of Disease Control Thailand, Division of Epidemiology. Leptospirosis Situation [Internet]. 2024 [cited 2024 April 13]. Available from: https://dvis3.ddc.moph.go.th/t/DDC_CENTER_DOE/views/DDS2/sheet34_1?%3Aembed=y&%3AisGuestRedirectFromVizportal=y (in Thai)

Thuainan P, Sutisa A, Sukhuna C, Prungklong S, Punanu A, Nomaya S, et al. Investigation of Leptospirosis death Nachuak district Mahasarakham province, June 9-30, 2015. Office of Disease Prevention and Control Region 7 Khon Kaen. 2011; 23 (3):86–96. (in Thai)

Chantee K, Phavirut N, Midtrapanon S, Trimanee T, Sarut M. An Investigation of Leptospirosis death Maung srung district Roy-Et Province 23rd May 2012. Office of Disease Prevention and Control Region 6 Khon Kaen. 2011; 20 (1):52–64. (in Thai)

Rafizah AAN, Aziah BD, Azwany YN, Imran MK, Rusli AM, Nazri SM, et al. A hospital-based study on seroprevalence of leptospirosis among febrile cases in northeastern Malaysia. International Journal of Infectious Diseases. 2013; 17(6):e394–7.

Mohan ARM, Chadee DD. Knowledge, attitudes and practices of Trinidadian households regarding leptospirosis and related matters. International Health. 2011; (3):131–7.

Prabhu N, Meera J, Bharanidharan G, Natarajaseenivasan K, Ismail M, Uma A. Knowledge, Attitude and Practice towards Leptospirosis among municipal workers in Tiruchirappalli, India. International Journal of Pharma Research and Health Sciences. 2014; 2(3):246-54.

Samarakoon YM, Gunawardena N. Knowledge and self-reported practices regarding leptospirosis among adolescent school children in a highly endemic rural area in Sri Lanka. Rural Remote Health. 2013 Oct–Dec;13(4):1–12.

Nozmi N, Samsudin S, Sukeri S, Shafei MN, Wan Mohd WMZ, Idris Z, et al. Low Levels of Knowledge, Attitudes and Preventive Practices on Leptospirosis among a Rural Community in Hulu Langat District, Selangor, Malaysia. Int J Environ Res Public Health. 2018;15(4):1–15.

Chirawatkul A, Laopaiboon M, Kheawyoo J, Thawornpitak Y, Chokkanapitak J, Thinkumrop B, et al. Biostatistics. 4th ed. Khon Kean: Nanawittaya Publishing; 2008. (in Thai)

Department of Health Service Support Thailand, Division of Health Education. Guidelines, Knowledge and Research [Internet]. 2024 [cited 2024 April 14]. Available from: https://hed.go.th/guideline/# (in Thai)

Glass GV, Hopkins KD, editors. Statistical Methods in Education and Psychology. 3rd Edition. New Jersey: Prentice Hall College Div. Allyn & Bacon; 1984.

Best JW. Research in Education. 3rd Edition. India: Prentice Hall;1977.

Ngasangsai P, Sornseeyon P, Phattarabenjapol S. A Case Study of Health Literacy of Village Health Volunteers. Isan Journal of Pharmaceutical Sciences. 2014;9(Suppl):82–7. (in Thai)

Sukeri S, Idris Z, Zahiruddin WM, Shafei MN, Idris N, Hamat RA, et al. A qualitative exploration of the misconceptions, knowledge gaps and constructs of leptospirosis among rural and urban communities in Malaysia. PLoS One. 2018 Jul 18;13(7):1–12.

Ontario Agency for Health Protection and Promotion (Public Health Ontario). Health literacy and health promotion. Toronto, ON: King's Printer for Ontario; 2024.

U.S. Department of Education. National Assessment of Adult Literacy. Status among Older Adult. Jama Internal Medicine.2003; 165(17): 1946-52.

Baker DW, Wolf MS, Feinglass J, Thompson JA, Gazmararian JA, Huang J. Health Literacy and Mortality AmongElderlyPersons. ARCH INTERN MED. 2007; 167(114):1503-9.

Tipwong A, Numpol J. The Association between Health Literacy related to obesity and health behavior : Eating and Exercise in over nutritional children. Journal of Public Health Nursing. 2014; 28(2): 1-11. (in Thai).

Tansila N. Factors related to Leptospirosis prevention and control behavior of people Nonghang Subdistrict, Benjalak District Sisaket Province. Research and Community Health Innovation Journal 2023; 2(1): 1–12. (in Thai)

Bangpimai W, Sugaravetsiri P. Factors related with leptospirosis in Roi-Et province. Office of Disease Prevention and Control 7 Khon Kean. 2017;24(2):19–28. (in Thai)

Naksila W, Junprasert S, Leelukkanaveera Y. Factors Related to Preventive Behaviors for Leptospirosis of the Farmers in Chainart Province. The Journal of Faculty of Nursing Burapha University. 2014;22(1):61–72. (in Thai)

Sota C, Charerntayaruk L, Pookarbkoaw A, Chanrek D, Rojanai S, Three-Ost Y, et al. Leptospirosis Prevention Behavior of The Farmer in the Northeast of Thailand. KKU Res J. 2001;6(1):48–54. (in Thai)

Tachavijitjaru C. Health Literacy: A key Indicator towards Good Health Behavior and Health Outcomes. Journal of The Royal Thai Army Nurses. 2018;9(Supplement):1–11. (in Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-07-27

How to Cite

สามารถ ส. (2024). ความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพกับพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากโรคเลปโตสไปโรสิสของประชาชน อำเภอเมืองกระบี่ จังหวัดกระบี่ . รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์, 55(7), 1–15. https://doi.org/10.59096/wesr.v55i7.2933

ฉบับ

บท

บทความต้นฉบับ