การสอบสวนโรคอาหารเป็นพิษในการประชุม ASEAN Plus Three Field Epidemiology Training Network [ASEAN +3 FETN] กระทรวงสาธารณสุข วันที่ 28 มกราคม 2556
คำสำคัญ:
โรคอาหารเป็นพิษ, การประชุม ASEAN +3 FETN, Aeromonas veronii biovar sobriaบทคัดย่อ
การสอบสวนโรคอาหารเป็นพิษในผู้เกี่ยวข้องกับการจัดงาน และผู้เข้าร่วมประชุม ASEAN Plus Three Field Epidemiology Training Network (ASEAN +3 FETN) กระทรวงสาธารณสุข เมื่อ วันที่ 28 มกราคม 2556 มีวัตถุประสงค์เพื่อยืนยันการระบาดของโรค ระบุเชื้อก่อโรคที่เป็นสาเหตุของการระบาดและแหล่งที่มาของเชื้อสาเหตุนั้น และหาขั้นตอนที่ทำให้เกิดการปนเปื้อนของเชื้อทำการเก็บข้อมูลชนิดและปริมาณอาหารที่รับประทานจากการประชุม ดังกล่าวและอาการป่วยด้วยแบบสอบถาม รวมถึงทำการสำรวจแหล่งประกอบอาหารและส่งตัวอย่างสิ่งส่งตรวจ พร้อมทั้งตัวอย่างอาหารและน้ำ เพื่อตรวจทางห้องปฏิบัติการ ณ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข
ผลจากการสอบสวนโรคพบผู้ป่วยเข้าตามนิยาม 16 ราย ผู้ป่วยส่วนใหญ่มีอาการ มวนท้อง ถ่ายเหลว ถ่ายเป็นน้ำและไข้ นอกจากนี้ยังพบว่าผู้ป่วยทุกรายรับประทานอาหารมื้อเที่ยงที่จัดไว้สำหรับการประชุมดังกล่าว ระยะฟักตัวของโรคจากมื้อเที่ยงจะอยู่ ระหว่าง 5.5 - 44.5 ชั่วโมง (ค่ามัธยฐาน 14.5 ชั่วโมง) โดยลักษณะของการระบาดเป็นแบบ common point source ผลการวิเคราะห์ ความสัมพันธ์ระหว่างรายการอาหารกับการป่วย พบว่า น้ำพริกซึ่งเสริ์ฟพร้อมผักสด มีความสัมพันธ์กับการป่วยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value = 0.016) ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการพบเชื้อ Aeromonas caviae ร่วมกับเชื้อ Vibrio cholerae non 01/non 0139 ในผู้ป่วย 1 ราย พบเชื้อ Salmonella group C จำนวน 1 รายและพบเชื้อ Aeromonas veronii biovar sobria จำนวน 1 ราย โดยทั้ง 3 ราย เป็นผู้ป่วยตามนิยามและไม่พบเชื้อแบคที่เรียลำไส้ (Enteropathogenic bacteria) ในผู้ที่ไม่ป่วยและผู้ประกอบอาหาร ผลการตรวจอาหารและน้ำพบเชื้อ Aeromonas veronii biovar sobria ในเนื้อปูและพบเชื้อ Aeromonas hydrophila ในน้ำดิบที่ใช้เพื่อการประกอบอาหารจึงเป็นไปได้ว่า การระบาดครั้งนี้เกิดขึ้นจากเชื้อ Aeromonas veronii biovar sobria
References
กรมการแพทย์ทหารเรือ. แนวทางการดำเนินงานด้าน สุขาภิบาลอาหารและน้ำ หลังจากน้ำท่วม. [สืบค้นเมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2556] เข้าถึงได้จาก http://www.nmd.go.th/preventmed/flood/foodafterwaterfail.pdf
วราลักษ์ณ์ ตังคณะกุล. การควบคุมโรคติดต่อทางอาหารและน้ำ. วารสารวิชาการสาธารณสุข 2556; 22: 370-9.
CENTERS FOR DISEASE CONTROL AND PREVENTION. COMPENDIUM OF ACUTE FOODBORNE AND WATERBORNE DISEASES. 2003 [cited 2013 April 21]. Available from URL: http://www.cdc.gov/eis/casestudies/xoswego.401.303.compendium.pdf
Robert D, Greenwood M. Practical Food Microbiology. 3rdEdition. Blackwell Publishing Ltd: 2008. [cited 2013 October 7]. Available from URL: http://onlinelibrary.wiley.com/doi/10.1002/9780470 757512.app2/pdf
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2013 รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงพิมพ์กับ WESR ถือเป็นข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ใน WESR ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่ง ส่วนใดไปเผยแพร่ กรุณาอ้างอิงบทความนั้น ๆ