แผนรับมือความปลอดภัยอาหารในภาวะฉุกเฉินของประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • จงกลนี วิทยารุ่งเรืองศรี สำนักส่งเสริมและสนับสนุนอาหารปลอดภัย สำนักงานปลัดกระทรวง สาธารณสุข
  • จุฑามาศ กลิ่นโซดา สำนักส่งเสริมและสนับสนุนอาหารปลอดภัย สำนักงานปลัดกระทรวง สาธารณสุข
  • วราลักษณ์ ตังคณะกุล สำนักโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข

คำสำคัญ:

แผนรับมือความปลอดภัยอาหารในภาวะฉุกเฉิน, ประเทศไทย, ทีมสอบสวนอาหารปลอดภัยแบบเคลื่อนที่เร็ว, เครือข่ายอาหารปลอดภัยฉุกเฉินระหว่างประเทศ, ความปลอดภัยด้านอาหาร

บทคัดย่อ

การรวมประชาคมเศรษฐกิจอาเชียนในปี พ.ศ. 2558 จะ ส่งผลให้มีสินค้าอาหารนำเข้า-ส่งออกข้ามพรมแดนระหว่างประเทศทั้งภายในประชาคมและจากประเทศอื่นๆ มากขึ้น กระทรวงสาธารณสุขและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในระบบควบคุมคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร จึงต้องวางแผนรับมือความปลอดภัยอาหาร ในภาวะฉุกเฉินที่อาจเกิดขึ้น จากสาเหตุการปนเปื้อนเชื้อจุลินทรีย์ สารเคมี และสารกัมมันตรังสี อันตรายในวัตถุดิบน้ำและอาหารทั้งที่ตั้งใจและไม่ตั้งใจ การศึกษาเชิงพรรณนาครั้งนี้ จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาแผนรับมือความปลอดภัยอาหารในภาวะฉุกเฉินของประเทศไทย ตามกรอบแนวทางสากลองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติและองค์การอนามัยโลก ระหว่าง พ.ศ. 2553-2555 แผนรับมือในภาวะฉุกเฉินด้านความปลอดภัยอาหาร สามารถใช้ตอบโต้เมื่อเผชิญเหตุการณ์ได้อย่างทันท่วงที่ ซึ่งจะช่วยให้หน่วยงานภาครัฐของไทยทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในทุกหน่วยของห่วงโซ่อาหารให้มีความพร้อมสามารถตรวจสอบ และเฝ้าระวังได้ รวมทั้งเสนอให้มีการเตรียมพัฒนา สมรรถนะของทีมสอบสวนอาหารปลอดภัยแบบเคลื่อนที่เร็ว ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค เพื่อช่วยสร้างระบบเครือข่ายการวิเคราะห์ปัญหาสำคัญจากอาหาร ที่มีความไวและมีความสามารถในการตรวจสอบทวนย้อนกลับ (Traceability) การใช้ข้อมูลทางระบาดวิทยา และการปนเปื้อนในอาหารในการเตือนภัย จะช่วยเสริมความร่วมมือกับเครือข่ายเฝ้าระวังสอบสวนโรคเคลื่อนที่เร็ว (Surveillance Rapid Response Team: SRRT) และเครือข่ายอาหารปลอดภัยฉุกเฉินระหว่างประเทศ (INFOSAN) ได้อย่างรวดเร็วทันเหตุการณ์ ป้องกันความเสี่ยงจากอาหารไม่ปลอดภัย รวมทั้งลดผลกระทบที่จะเกิดต่อสุขภาพผู้บริโภคและระบบการค้าของประเทศ ตลอดจนสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภคและนานาชาติ รวมทั้งประเทศไทยมีสมรรถนะด้านอาหารปลอดภัย ตามกำหนดของกฎอนามัยระหว่างประเทศ ปี 2548

References

อาทิชา วงศ์คำมา. โรคอาหารเป็นพิษ. ใน พจมาน ศิริอารยาภรณ์, บรรณาธิการ. สรุปรายงานการเฝ้าระวังโรคประจำปี 2555. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: ชุมนุมสหกรณ์แห่งประเทศไทย; 2556. หน้า 119-21.

Food and Agriculture Organization of the United Nation and World Health Organization. FAO/WHO Framework for developing national food safety emergency response plans. Rome 2010. [serial on line]. [Cited 2013 Dec 10].Available from URL: www.fao.org/docrep/013/i1686e/i1686e00.pdf.

องค์การอาหาร และเกษตรแห่งสหประชาชาติ, ศูนย์ปฏิบัติการความปลอดภัยด้านอาหาร สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการจัดทำแผนรับมือในภาวะฉุกเฉินความปลอดภัยด้านอาหารของประเทศไทย. ใน จงกลนี วิทยรุ่งเรืองศรี, วราลักษณ์ ตังคณะกุล, พจมาน ศิริอารยาภรณ์ และคณะบรรณาธิการ. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: อักษรกราฟฟิก แอนด์ดีไชด์; 2555. หน้า 1 - 42.

WHO. Overview of the International Food Safety Authority Network (INFOSAN) in the Member States of the WHO South-East Asia Region. India. New Deli: WHO; 2012.

กระทรวงสาธารณสุข. กรอบยุทธศาสตร์ด้านความปลอดภัย อาหารและโภชนาการ ปีงบประมาณ พ.ศ.2554-2556. [ออนไลน์]. [สืบค้นเมื่อ 10 ธันวาคม 2556]. เข้าถึงได้จาก http:/www.acfs.go.th/foodsafety/food_management.pdf

FAO and BFSES. Report of the ASEAN Regional Meeting “Developing National Food Safety Emergency Response Plans - Sharing Experiences and Lessons Learnt”. 27-28 June 2012, Bangkok, Thailand. 2012. [serial on line]. [Cited 2013 Dec 10]. Available from URL: http://www.fao.org/fileadmin/user_upload/agns/news_events/Report_FSER_final.pdf

WHO. IHR core capacity monitoring framework: Questionnaire for monitoring progress in the implementation of IHR core capacities in states parties. Geneva, WHO; 2013.

FAO/WHO Guide for Application of Risk Analysis Principles and Procedure during Food Safety Emergencies. [serial on line]. [Cited 2013 Dec 10]. Available from URL: http://whqlibdoc.who.int/publications/2011/9789241502474_eng.pdf

สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. กฎ อนามัยระหว่างประเทศ พ.ศ. 2548. ใน: พจมาน ศิริอารยาภรณ์, วราลักษณ์ ตังคณะกุล, ธีรศักดิ์ ชักนำ, ชวลิต ตันตินิมิตกุล, ศิริ ลักษณ์ รังสีวงษ์, พวงทิพย์ รัตนรัตน์ และคณะบรรณาธิการ. กฎอนามัยระหว่างประเทศ พ.ศ. 2548. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: ชุมนุมสหกรณ์แห่งประเทศไทย; 2556.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-07-10

ฉบับ

บท

บทความต้นฉบับ