การประเมินระบบเฝ้าระวังโรคไข้เลือดออกในโรงพยาบาลลำลูกกา อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี ปี พ.ศ. 2556

ผู้แต่ง

  • พชรมน กุลวัฒนาพร โรงพยาบาลลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี

คำสำคัญ:

ไข้เลือดออก, เฝ้าระวัง, ประเมิน, ลำลูกกา

บทคัดย่อ

โรคไข้เลือดออกเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของจังหวัดปทุมธานีและประเทศไทย จากข้อมูลรายงานสถานการณ์โรคไข้เลือดออก ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2551 - 2555 พบว่าจังหวัดปทุมธานีมีอัตราป่วยต่อประชากรแสนคนเท่ากับ 152.32, 68.37, 83.40, 79.40 และ 53.79 ตามลำดับ กลุ่มอายุที่พบอัตราป่วยสูงสุด คือ กลุ่มอายุ 10 - 14 ปี อาชีพที่พบอัตราป่วยสูงสุด คือ นักเรียน สำหรับอำเภอลำลูกกามีอัตราป่วยต่อประชากรแสนคนในปี พ.ศ. 2551 - 2555 คือ 62.45, 34.70, 61.12, 29.30 และ 21.56 ตามลำดับสถานการณ์ โรคของจังหวัดปทุมธานีปี พ.ศ. 2556 มีรายงานโรคไข้เลือดออกสะสม 1,112 ราย อัตราป่วย 118.18 ต่อประชากรแสนคนเพิ่มขึ้นกว่า 2 เท่าจากเดิมเมื่อเปรียบเทียบกับปี พ.ศ. 2555 มีรายงานผู้ป่วยเสียชีวิต 3 ราย ซึ่งเป็นการระบาดที่รุนแรงในรอบ 5 ปี ดังนั้นจึงมีความ เหมาะสมที่จะต้องทำการศึกษาระบบฝ้าระวังโรคไข้เลือดออก (รวมทั้งไข้เดงกีและไข้เลือดออกช็อก ทั้งในคุณลักษณะเชิงคุณภาพและปริมาณ เพื่อนำข้อมูลที่ได้มาวางแผนพัฒนาระบบการเฝ้าระวังโรคไข้เลือดออกให้มีความครบถ้วน ถูกต้อง ทันเวลา และสามารถนำข้อมูลไปกำหนดนโยบายและทิศทางดำเนินการแก้ไขปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป จากการศึกษาแบบภาคตัดขวาง ทบทวนข้อมูล ผู้ป่วยไข้เลือดออกที่มารับการรักษาระหว่างวันที่ 1 มกราคม - 31 ธันวาคม 2556 ที่โรงพยาบาลลำลูกกา โดยกำหนดนิยามผู้ป่วยสงสัย ผู้ป่วยเข้าข่าย และผู้ป่วยยืนยัน เพื่อใช้ในการทบทวนเวชระเบียนผู้ป่วยในของโรงพยาบาลลำลูกกาที่ได้รับการวินิจฉัยด้วยรหัส ICD-10 ซึ่งตรงกับโรค DF, DHF, DSS (รหัส ICD-10: A90-A92) และunspecified AFI, Febrile convulsions, Acute nasopharyngitis [common cold] (รหัส ICD -10: R50.8, R50.9 , R56.0) รวมจำนวน 169 ราย ผลการศึกษาพบว่ามีผู้ป่วยเข้าตามนิยามโรค ไข้เลือดออก ไข้เดงกีและไข้เลือดออกช็อกจำนวน 111 ราย ในจำนวนนี้มีการรายงานในระบบ รง. 506 จำนวน 102 ราย คิดเป็นความครบถ้วน ร้อยละ 80.18 มีค่าพยากรณ์บวก (Positive predictive value: PPV) ร้อยละ 87.25 ข้อมูลจากการรายงานสามารถเป็นตัวแทนผู้ป่วยได้ดี รายงานส่วนใหญ่ถูกส่งไปยังสำนักงานสาธารณสุขอำเภอทันกำหนดเวลา ระบบเฝ้าระวังไข้เลือดออกในโรงพยาบาลลำลูกกามีการดำเนินงานได้ในระดับดี มีข้อเสนอแนะควรมีการพัฒนาต่อยอดปรับปรุงขั้นตอนของกระบวนงานตามมาตรฐานงานระบาดวิทยาโดยเฉพาะการวินิจฉัยโรค เพื่อให้ระบบฝ้าระวังโรค มีคุณลัษณะที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างสมบูรณ์เต็มที่มีประสิทธิภาพดีขึ้น

References

ธนรักษ์ ผลิพัฒน์ แนวทางการประเมินระบบเฝ้าระวังทางสาธารณสุข. พิมพ์ครั้งที่ 3. นนทบุรี: สำนักระบาดวิทยา กระทรวงสาธารณสุข; 2551.

ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทยและสมาคมวิชาชีพ คณะทำงานจัดทำแนวทางการวินิจฉัยและดูแลรักษาโรคไข้เลือดออก. แนวทางการวินิจฉัยและดูแลรักษาโรคไข้เดงกีและไข้เลือดออกเดงกี ฉบับวันที่ 14 สิงหาคม 2556 สำหรับแพทย์ บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข. พิมพ์ครั้งที่ 1. นนทบุรี: กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข; 2556.

สำนักพัฒนาวิชาการแพทย์ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการวินิจฉัยและการรักษาโรคไข้เลือดออกในระดับโรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป. พิมพ์ครั้งที่ 1. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทยจำกัด; 2548.

สุริยะ คูหะรัตน์, บรรณาธิการ. นิยามโรคติดเชื้อประเทศไทย. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์; 2546.

ศิริเพ็ญ กัลยาณรุจ, มุกดา หวังวีรวงศ์, วารุณี วัชรเสวี, บรรณาธิการ. แนวทางการวินิจฉัยและการรักษาโรคไข้เลือดออกเดงกี ฉบับเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษามหาราชินี. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์กรุงเทพเวชสาร; 2556.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-07-10

ฉบับ

บท

บทความต้นฉบับ