การสอบสวนโรคลิชมาเนียชนิดผิวหนัง อำเภอขนอม จังหวัดนครศรีธรรมราช เดือนธันวาคม 2556
คำสำคัญ:
โรคลิชมานีย, การสอบสวนโรค, จังหวัดนครศรีธรรมราชบทคัดย่อ
โรคลิชมาเนีย (Leishmania) เป็นโรคติดต่อที่นำโดยแมลง ริ้นฝอยทราย (sandflies) เชื้อก่อโรคเป็นพวก Protozoa, Genus Leishmania spp. จังหวัดนครศรีธรรมราชเคยมีรายงานพบโรคลิชมาเนีย ในปี พ.ศ. 2550 จำนวน 1 ราย และ พ.ศ. 2555 จำนวน 1 ราย โดยพบผู้ป่วยรายที่ 3 ในปี พ.ศ. 2556 เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2556 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครศรีธรรมราช ได้รับแจ้งจากโรงพยาบาล A อำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราชว่าพบผู้ป่วยสงสัยโรคลิชมาเนียชนิดผิวหนัง จึงได้ทำการสอบสวนโรค เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2556 มีวัตถุประสงค์เพื่อยืนยันการเกิดโรค ค้นหาผู้ป่วยรายใหม่ ศึกษาแหล่งรังโรคแมลงพาหะนำโรค กำหนดมาตรการและดำเนินการควบคุมป้องกันโรคโดยทำการสอบสวนผู้ป่วยเฉพาะราย ศึกษาประวัติการเจ็บป่วยของผู้ป่วย ค้นหาผู้ป่วยเพิ่มเติม ศึกษาสภาพแวดล้อม สำรวจแหล่งรังโรคในคนและสัตว์ และสำรวจแมลงพาหะนำโรค ผลการสอบสวนโรค พบว่า ผู้ป่วยเป็นเพศหญิง อายุ 45 ปี อาศัยอยู่ในพื้นที่หมู่ที่ 9 ตำบลขนอม อำเภอขนอม จังหวัดนครศรีธรรมราช อาชีพรับเหมา ทำอาหารตามงานเลี้ยง สถานภาพสมรส มีบุตร 2 คน ผู้ป่วยเริ่มป่วย ประมาณเดือนมิถุนายน 2556 พบตุ่มน้ำใสๆ ที่โหนกแก้มด้านซ้ายเป็น ๆ หาย ๆ ไม่มีอาการปวด ได้รับการยืนยันจากโรงพยาบาล เอกชนในหาดใหญ่ จังหวัดสงขลาว่า พบ amastigotes Form ของเชื้อ Leishmania sp. จากชิ้นเนื้อโหนกแก้มด้านซ้าย ผู้ป่วยไม่มีประวัติการเดินทางไปต่างประเทศ จากการค้นหาผู้สัมผัสในชุมชน ด้วยการสัมภาษณ์ผู้ที่อยู่รอบบ้านผู้ป่วย 80 ราย พบผู้ป่วยรายใหม่ เข้าได้ตามนิยามผู้ป่วยสงสัย 5 รายและเก็บตัวอย่างเลือดได้ 5 ราย ตรวจหาสารพันธุกรรมด้วยวิธี Polymerase Chain Reaction (PC R) พบว่า ทุกรายให้ผลลบ ทำการเจาะเลือดสัตว์รังโรคจำนวน 36 ตัวอย่าง ผลตรวจ DAT ให้ผลลบทุกตัวอย่าง เก็บตัวอย่างริ้นฝอยทรายเพศเมียได้ 46 ตัว ชนิดที่พบมากที่สุด คือ Sergentomyia gammea แต่ตรวจไม่พบเชื้อ Leishmania spp. ในริ้นฝอยทรายชนิดนี้ ทีมสอบสวนโรคได้ให้สุขศึกษาแก่ประชาชน ปรับปรุงสิ่งแวดล้อมให้สะอาดไม่เป็นที่อยู่ของสัตว์รังโรคและพาหะ เฝ้าระวังอาการและติดตามอาการในผู้ป่วยสงสัยตามนิยามของโรคต่อไปอย่างน้อย 2 ปี รวมทั้งสร้างเครือข่ายในการป้องกันและเฝ้าระวังโรคทั้งในคนและปศุสัตว์ให้มีความเข้มข้นมากขึ้น
References
ธีรยุทธ สุขมี. โรคลิชมาเนีย. รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์ 2553: 41; 549-63.
กอบกาญจน์ กาญจโนภาศ, สุวิช ธรรมเปาโล, โชคช่วง พน โสภณกุล, ชำนาญ อภิวัฒนศร และยุทธนา สามัง. ริ้นฝอยทราย และโรคลิชมาเนีย. นนทบุรี: สำนักโรคติดต่อนำโดยแมลง; 2546.
สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค. บันทึกเหตุการณ์สำคัญทางด้านระบาดวิทยา 2550. การสัมมนาระบาดวิทยาแห่งชาติ ครั้งที่ 19. ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา กรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ ห้างหุ้นส่วนจำกัด พรีวัน; 2550. 224 หน้า.
บวรวรรณ ดิเรกโภค, ดารินทร์ อารีย์โชคชัย, ธีรศักดิ์ ชักนำ, สิทธิโชค วงศ์ประยูร, ยุทธนา สามัง, สำเริง พรหมมงคล และคณะ. การสอบสวนผู้ป่วยเฉพาะรายโรค Visceral Leishmaniasis ซึ่ง ติดเชื้อภายในประเทศรายที่ 4 ของประเทศไทย ตำบลทอนหงส์ อำเภอพรหมคีรี จังหวัดนครศรีธรรมราช เดือนมิถุนายน - กรกฎาคม 2550. รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำ สัปดาห์ 2551: 39; 321-4.
วิรัลวิชญ์ รู้ยิ่ง, ประจักษ์ ชูแก้ว.รายงานเสนอผู้บริหาร การ สอบสวนผู้ป่วยเฉพาะรายโรค Visceral Leishmaniasis รายที่ 1 ของอำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช. กรมควบคุมโรค. นนทบุรี. 2555. (ยังไม่ได้ตีพิมพ์)
ปราโมทย์ เกิดผล, ไพศาล เกื้ออรุณ, วิชัย สว่างวัน, เชษฐ ทอง ขำดี, นันทเดช กลางวัง, เลิศวุฒิ บัวเลิศ. การสอบสวนผู้ป่วยโรคลิชมาเนียผิวหนังในผู้ติดเชื้อไวรัสเอชไอวีเสียชีวิต ตำบลกะลาเส อำเภอสิเกา จังหวัดตรัง. รายงานเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา ประจำสัปดาห์ 2554; 42: 497-503.
รักษิณา พลสีลา. ริ้นฝอยทรายและโรคอุบัติใหม่: โรคลิชมาเนีย. ธรรมศาสตร์เวชสาร 2555: 12 (1); 77-96.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2014 รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงพิมพ์กับ WESR ถือเป็นข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ใน WESR ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่ง ส่วนใดไปเผยแพร่ กรุณาอ้างอิงบทความนั้น ๆ