การประเมินผลระบบเฝ้าระวังการบาดเจ็บ และระบบรายงาน 19 สาเหตุ ของสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 11 นครศรีธรรมราช
คำสำคัญ:
ระบบเฝ้าระวังการบาดเจ็บ, การประเมินบทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้ เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาเพื่อประเมินผลระบบเฝ้าระวังการบาดเจ็บ และระบบรายงาน 19 สาเหตุของ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 11 นครศรีธรรมราช (สคร.11) โดยประเมินปัจจัยนำเข้ากระบวนการและผลผลิต ของระบบเฝ้าระวังการบาดเจ็บ โดยสัมภาษณ์เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานในระบบเฝ้าระวังการบาดเจ็บของโรงพยาบาลเครือข่าย 9 โรงพยาบาล รวม 171 ราย และเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงานระบบเฝ้าระวังการบาดเจ็บระดับจังหวัดจำนวน 6 ราย และศึกษารายงานการนิเทศระบบเฝ้าระวังการบาดเจ็บประจำ ปี พ.ศ. 2557 จำนวน 9 โรงพยาบาลเครือข่าย ผลการศึกษาพบปัจจัยนำเข้าเรื่องบุคลากรไม่เพียงพอในการดำเนินงาน ส่วนคู่มือการบันทึกข้อมูลในแบบฟอร์ม IS คู่มือการลงรหัสแบบบันทึกข้อมูลคู่มือในการลงรหัสโรค แบบฟอร์ม IS และคอมพิวเตอร์มี ความเพียงพอในการดำเนินงาน โปรแกรม ISWIN มีความสะดวกในการใช้งาน เจ้าหน้าที่ส่วนใหญ่รับทราบว่ามีตัวแทนของโรงพยาบาลเข้าร่วมประชุมวิชาการหรือศึกษาดูงานที่จัดโดยสำนักระบาดวิทยา หรือ สคร.11 และการนิเทศงานช่วยสนับสนุนการดำเนินงานระบบเฝ้าระวังการบาดเจ็บในโรงพยาบาล และเจ้าหน้าที่ส่วนใหญ่เห็นว่า ไม่ได้รับกำลังใจจากผู้บริหารของโรงพยาบาล ส่วนกระบวนการดำเนินงานพบว่า เจ้าหน้าที่ส่วนใหญ่เห็นว่ารูปแบบการไหลเวียนของสำนักระบาดวิทยามีความเหมาะสม เจ้าหน้าที่ส่วนใหญ่ใช้คู่มือในการดำเนินงาน และมีการตรวจสอบความครบถ้วนถูกต้องของข้อมูลทุกขั้นตอน และเห็นว่าระบบเฝ้าระวังการบาดเจ็บช่วยลดความซ้ำซ้อน ในการทำรายงานในแผนกอุบัติเหตุฉุกเฉินและส่งรายงาน 19 สาเหตุ สำหรับผลผลิต คือ ข้อมูลจากระบบเฝ้าระวัง พบว่า 8 โรงพยาบาลมี ความครอบคลุมของการรายงานผู้บาดเจ็บมากกว่าร้อยละ 90 มี 6 โรงพยาบาลที่ความทันเวลาในการบันทึกข้อมูลร้อยละ 100 ทุก โรงพยาบาลกรอกข้อมูลในแบบฟอร์ม IS ไม่ครบถ้วน ตัวแปรที่กรอกไม่ครบถ้วนมากที่สุด คือ เหตุการณ์กิจกรรมขณะเกิดเหตุ และมี 6 โรงพยาบาลที่กรอกข้อมูลไม่ถูกต้อง ตัวแปรที่กรอกไม่ถูกต้องมาก ที่สุด คือ ประวัติความรู้สึกตัว (ที่เกิดเหตุ) มี 5 โรงพยาบาล ให้รหัส โรคครบถ้วน มี 5 โรงพยาบาลที่บันทึกข้อมูลในโปรแกรม ISWIN ไม่ถูกต้องและตัวแปรที่บันทึกไม่ถูกต้องมากที่สุด คือ ตัวแปร Spint /slab และ Immobilize C - spine และมี 5 โรงพยาบาลที่ใช้ ประโยชน์จากข้อมูล ดังนั้นในการดำเนินงานระบบเฝ้าระวังการบาดเจ็บของโรงพยาบาลควรมีการตรวจสอบความครบถ้วนถูกต้อง ของข้อมูลในการกรอกแบบฟอร์ม IS การให้รหัสโรค การบันทึกข้อมูลในโปรแกรม ISWIN และควรใช้ประโยชน์จากข้อมูล ส่วนในการสนับสนุนการดำเนินงานระบบเฝ้าระวังการบาดเจ็บ และระบบรายงาน 19 สาเหตุของ สคร.11 ควรมีการนิทศงานระบบเฝ้าระวังการบาดเจ็บในทุกโรงพยาบาลทุกปี ควรมีการจัดอบรมฟื้นฟูความรู้แก่ผู้ปฏิบัติงานระบบเฝ้าระวังการบาดเจ็บในระดับโรงพยาบาลและระดับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอย่างน้อยปีละ 1 ครั้งเน้นความรู้ ในการดำเนินงานระบบเฝ้าระวังการบาดเจ็บและการนำเสนอข้อมูล เพื่อใช้ประโยชน์และควรมีประเมินระบบเฝ้าระวังการบาดเจ็บในโรงพยาบาลที่ดำเนินงานมากกว่า 10 ปี
References
สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการดำเนินงานเฝ้าระวังการบาดเจ็บ 19 สาเหตุ. กรุงเทพฯ: องค์การรับส่ง สินค้าและวัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.); 2548.
สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือการใช้แบบบันทึกข้อมูลเฝ้าระวังการบาดเจ็บระดับจังหวัด. ม.ป.ท.. 2550.
บุญเกื้อ ควรหาเวช. วิธีระบu (System Approach). [สืบคั้นวันที่ 21 มิถุนายน 2557] เข้าถึงได้จากhttp://www.st.ac.th/av/inno_system.htm
กองระบาดวิทยา กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือการนิเทศงานระบบเฝ้าระวังการบาดเจ็บในระดับจังหวัด. นนทบุรี: กองระบาดวิทยา กระทรวงสาธารณสุข; 2545.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2014 รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงพิมพ์กับ WESR ถือเป็นข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ใน WESR ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่ง ส่วนใดไปเผยแพร่ กรุณาอ้างอิงบทความนั้น ๆ