การสอบสวนการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุรถโดยสารตกเหว จังหวัดลำปาง วันที่ 25 - 27 ตุลาคม 2556
คำสำคัญ:
สอบสวน, การบาดเจ็บ, อุบัติเหตุ, รถโดยสาร, ลำปางบทคัดย่อ
เมื่อวันที่ 25 - 27 ตุลาคม 2556 ทีมสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว สำนักระบาดวิทยาร่วมกับเจ้าหน้าที่ในพื้นที่ได้ลงสอบสวนอุบัติเหตุ รถโดยสารตกเหวบนทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 120 จังหวัดลำปาง เพื่ออธิบายเหตุการณ์และระบบการส่งต่อผู้บาดเจ็บที่เกิดขึ้น และค้นหาปัจจัยที่ส่งผลต่อการบาดเจ็บและการเสียชีวิต สำหรับเป็นแนวทางป้องกันการเกิดเหตุและลดการสูญเสีย ทำการศึกษาเชิงพรรณนา โดยรวบรวมข้อมูลจากเอกสารทางการแพทย์ และการสัมภาษณ์ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์แล้ว ทำการวิเคราะห์เหตุการณ์ด้วยวิธีการของ Haddon matrix ผลการศึกษา พบผู้ประสบอุบัติเหตุทั้งสิ้น 39 ราย เสียชีวิต 22 ราย และรอดชีวิต 17 ราย มีอายุเฉลี่ย 59 ปี สัดส่วนเพศชายต่อเพศหญิงเท่ากับ 1 : 5.5 สาเหตุการเสียชีวิตส่วนใหญ่เกิดจากการบาดเจ็บรุนแรงที่ศีรษะ (ร้อยละ 63.6) ค่าคะแนนการบาดเจ็บ (ISS) ของผู้เสียชีวิตเฉลี่ยเท่ากับ 62.1 คะแนน (SD-18.6) ส่วนผู้รอดชีวิต เฉลี่ยเท่ากับ 8.6 คะแนน (SD-6.4) ปัจจัยที่สำคัญและส่งผลต่อการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุครั้งนี้ ได้แก่ 1) คนขับรถโดยสารที่ไม่มีความชำนาญมากพอในการควบคุมรถโดยสารถึงแม้ว่าจะได้รับใบอนุญาตขับรถทุกประเภท 2) ระบบความปลอดภัยในห้องโดยสารของรถคันดังกล่าวยังไม่เพียงพอ 3) สภาพแวดล้อมที่มืดและเป็นจุดอับสัญญาณโทรศัพท์เป็นอุปสรรคต่อการช่วยเหลือผู้รอดชีวิต และ 4) ระบบการช่วยเหลือผู้บาดเจ็บเป็นปัจจัยสำคัญต่อผลการรักษา สรุปผลการศึกษาและข้อเสนอแนะ การซักซ้อมแผนรับมืออุบัติเหตุ ระบบส่งต่อผู้บาดเจ็บ และการเตรียมอุปกรณ์ที่ดีเป็นสิ่งที่สำคัญต่อการช่วยเหลือผู้บาดเจ็บ นอกจากนี้ยังควรเพิ่มมาตรฐานในการออกใบอนุญาตขับรถโดยสาร และการตรวจสอบอุปกรณ์นิรภัยภายรถโดยสาร
References
World Health Organization. Global status report on road safety 2013: supporting a decade of action. Luxembourg: 2013.
Department of highways. The study of traffic accident cost in Thailand by faculty of engineering, prince of Songkla University. Sep 2007.
Thailand accident research institute. Cash investigation report no.070119-01: Doisaket. 2007 [cited 2013 Dec 31]. Available from: http://www.tarc.ait.ac.th/download/eng/070119- 01%20Report.pdf.
Tipsriraj A. Injury investigation of bus accident, Doisaket district, Chiang Mai province. Weekly Epidemiological Surveillance Report 2007; 38: 273-7.
Aubpapong T, KuntasimaN, Waiyanate N, Aimsirithaworn S, Rujiwipat V, Wathanasurakit W, et.al. Mass casualty causes by a bus accident in Saiyok district, Kanchanaburi province, 2006. Weekly Epidemiological Surveillance Report 2007; 38: 217-22.
MacKenzie EJ. Injury severity scales: overview and directions for future research. Am J Emerg Med. Nov 1986; 2(6): 537-49.
Baker SP, O’Neill B, Haddon W Jr, Long WB. The injury severity score: a method for describing patients with multiple injuries and evaluating emergency care. J Trauma. Mar 1974; 14 (3) : 187- 96.
Runyan C W. Using the Haddon matrix: introducing the third dimension. Inj Prev. 1998; 4: 302-7.
World Health Organization. Road traffic injury prevention: training manual. India. 2006. unit 2, risk factors for road traffic injuries; 21-36.
Ponboon S, Tanaboriboon Y, Kanitpong K, Islam M B, Boontob N. Contributing factors of road crashes in Thailand: Evidence from an accident in-depth study. Journal of the Eastern Asia society for transportation studies. 2010; 7: 1958-70.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2014 รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงพิมพ์กับ WESR ถือเป็นข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ใน WESR ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่ง ส่วนใดไปเผยแพร่ กรุณาอ้างอิงบทความนั้น ๆ