การบริหารวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าและการประเมินความเสี่ยง บนเส้นทางการลักลอบค้าสนัขข้ามชาติ จังหวัดนครพนม ปี พ.ศ. 2556
คำสำคัญ:
โรคพิษสุนัขบ้า, การค้าสุนัขข้ามชาติ, จังหวัดนครพนมบทคัดย่อ
การลักลอบค้าสุนัขข้ามชาติเป็นปัญหาสำคัญของประเทศไทย อาจเป็นสาเหตุสำคัญที่นำไปสู่การเกิดโรคพิษสุนัขบ้าในพื้นที่ที่เป็นแหล่งรวบรวมสุนัข และพื้นที่ทางผ่านที่เคลื่อนย้ายในช่วงปี พ.ศ. 2554 - 2556 มีการจับกุมผู้ลักลอบเคลื่อนย้ายสุนัขข้ามชาติในพื้นที่จังหวัดนครพนมหลายครั้ง การศึกษาในครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเส้นทางการลักลอบเคลื่อนย้ายสุนัขข้ามชาติในเขตจังหวัดนครพนม รูปแบบและวิธีการบริหารจัดการวัคซีนป้องกันโรคทั้งในสัตว์และคน ประเมินความเสี่ยงการเกิดโรคพิษสุนัขบ้าในพื้นที่ดังกล่าว โดยการทบทวนข้อมูลติยภูมิการจับกุมสุนัข ระหว่างปี พ.ศ. 2554 - มกราคม 2557 การสัมภาษณ์เจ้าหน้าที่ และบุคคลที่เกี่ยวข้อง ประเมินความเสี่ยงด้วยวิธีเชิงคุณภาพ ผลการศึกษาพบว่า สุนัขที่ถูกลักลอบเพื่อการค้าข้ามชาติ จะถูกรวบรวมมาจากหลายแหล่ง หลายจังหวัด และถูกบรรจุใส่กรง ลำเลี้ยงขึ้นรถบรรทุกหรือรถปิคอัพขนส่งไปยังริมฝั่งแม่น้ำโขงที่ช่วงจังหวัดมุกดาหาร และนครพนม ในจังหวัดนครพนมมีพื้นที่อยู่บนเส้นทางการลักลอบขนส่ง 17 ตำบล ใน 6 อำเภอ จุดหมายปลายทางอยู่ที่ริมฝั่งแม่น้ำโขง ตำบลบ้านแพง อำเภอบ้านแพง สุนัขจะถูกส่งข้ามฝั่งไปประเทศลาว แล้วเดินทางไปตามถนนหมายเลข 8 สู่ด่านหลักซาว แขวงบอลิคำไซ ประเทศลาว และด่านกาวแจว เมือง Hating ของเวียดนาม สุนัขดังกล่าวไม่ทราบประวัติการได้รับวัคซีน และไม่ได้รับการตรวจสุขภาพโดยสัตวแพทย์ ส่วนการบริหารจัดการวัคซีนในสัตว์ของจังหวัดนครพนมเป็นการบูรณาการร่วมกันของกรมปศุสัตว์และองค์การบริหารส่วนท้องถิ่นให้การสนับสนุนในการจัดหาวัคซีน โดยสามารถจัดหาวัคซีนเพื่อฉีดให้กับสุนัขได้ร้อยละ 86.3 และจัดรณรงค์เพื่อฉีดวัคซีนให้กับสุนัขในพื้นที่โดยอาสาสมัคร ปศุสัตว์ที่ได้รับการฝึกอบรมสามารถฉีดวัคซีนได้ครอบคลุมร้อยละ 85.6 การบริหารจัดการวัคซีนในคนจะมีการจัดสรรวัคซีนตามระบบของสำนักงานหลักประกันสุขภาพ ซึ่งทำการเบิกจ่ายผ่านระบบ VMI ขององค์การเภสัชกรรม เพื่อให้มีวัคซีนเพียงพอต่อการใช้ในพื้นที่ ซึ่งจากรายงานพบผู้สัมผัสโรคพิษสุนัขบ้าคิดเป็นสัดส่วย 9.5 ต่อพันประชากร และผู้สัมผัสจะได้รับการฉีดวัคซีนโรคพิษสุนัขบ้าครบทุกราย การประเมินความเสี่ยงการระบาดของโรคพิษสุนัขบ้าในพื้นที่เส้นทางผ่านการลักลอบเคลื่อนย้ายสุนัขข้ามชาติของจังหวัด นครพนม พบว่าความเสี่ยงในการเกิดโรคพิษสุนัขบ้าในสัตว์อยู่ในระดับปานกลาง ลักษณะการเลี้ยงสุนัขในพื้นที่ และความครอบคุลมของการจัดหาวัคซีนในบางตำบลไม่เพียงพอ ส่วนความเสี่ยงในการมีผู้ป่วยเสียชีวิตด้วยโรคพิษสุนัขบ้าอยู่ในระดับต่ำ เนื่องจากสามารถฉีดวัคซีนและอิมมูโนโกลบุลินให้กับผู้สัมผัสโรคได้อย่างครอบคลุมทุกราย
References
Cliquet F, Picard-Meyer E. Rabies and rabies-related viruses: a modern perspective on an ancient disease. Rev Sci Tech 2004;23(2):625-42.
World Health Organization. World survey of rabies. No. 34 for the year 1998, Geneva, 2000.
T. E. Kienzle. Deadly Diseases and Epidemics; Rabies. New York: An imprint of Infobase Publishing, 2007.
Frederick J Simoons. Eat not this flesh: food avoidances from prehistory to the present. 2nd ed. Madison (Wis.): University of Wisconsin press, 1994.
Animal People, Greanville Associates LLC. How many dogs and cats are eaten in Asia [Online]. 2003 [cited 2014 February 18]. Available from URL: http://www.animalpeople news.org/03/9/dogs.catseatenAsia903.html
World Society for the Protection of Animals. The latest news on animal welfare and animal cruelty [Online]. June 2008 [cited 2014 February 18]. Available from URL: http://www.wspa.org.uk/Images/Pet%20ownership%20and%20trade%20-%20Global%20report_tcm9-10875.pdf
สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. ข้อมูลสถิติจำนวนประชากรกลางปีของปี 2535-2553 [ออนไลน์]. [สืบค้นวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2557J. เข้าถึงได้จาก http://bps.ops.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2014 รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงพิมพ์กับ WESR ถือเป็นข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ใน WESR ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่ง ส่วนใดไปเผยแพร่ กรุณาอ้างอิงบทความนั้น ๆ