การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสเอนเตอโร 71 ที่มีอาการรุนแรงในเด็กแบบเป็นกลุ่มก้อน อำเภอทรายทองวัฒนา จังหวัดกำแพงเพชร เดือนกรกฎาคม 2557
คำสำคัญ:
ไวรัสเอนเตอโร 71, สมองอักเสบ, การระบาด, กำแพงเพชรบทคัดย่อ
วันที่ 11 กรกฎาคม 2557 กลุ่มงานเวชกรรมสังคม โรงพยาบาลกำแพงเพชรได้รับรายงานจากกุมารแพทย์ว่า พบผู้ป่วยเด็กสงสัยติดเชื้อไวรัสเอนเตอโรไวรัสที่มีอาการรุนแรง 2 ราย ซึ่งทั้งสองรายถูกส่งตัวมารักษาต่อจากโรงพยาบาลทรายทองวัฒนา ทีมสอบสวนเคลื่อนที่เร็วโรงพยาบาลกำแพงเพชรและอำเภอทรายทองวัฒนา สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 8 นครสวรรค์ สำนักระบาดวิทยา ร่วมกันสอบสวนโรคระหว่างวันที่ 11 - 14 กรกฎาคม 2557 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อยืนยันการวินิจฉัยโรค ยืนยันการระบาดทราบขอบเขตของการระบาด ศึกษาสาเหตุและพฤติกรรมเสี่ยงของผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสเอนเตอโรที่มีอาการรุนแรง พร้อมทั้งลงควบคุมและป้องกันโรค ทำการศึกษาระบาดวิทยาเชิงพรรณนาโดยทบทวนเวชระเบียนผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยในของผู้ป่วย และผลตรวจทางห้องปฏิบัติการ จากโรงพยาบาลกำแพงเพชรและโรงพยาบาลทรายทองวัฒนา รวมทั้งสัมภาษณ์แพทย์ผู้รักษาผู้ปกครองและผู้สัมผัส ค้นหาผู้ป่วยเพิ่มเติมในชุมชน เก็บสิ่งส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการจากผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงทั้งหมด และผู้สัมผัสใกล้ชิดในครอบครัว รวมทั้งผู้ป่วยในชุมชนส่งตรวจไวรัสเอนเตอโร 71 (EV71) โดยวิธี RT-PCR ณ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข รวมทั้งการศึกษาสภาพสิ่งแวดล้อมบ้านผู้ป่วย โรงเรียนและชุมขน ผลการศึกษาพบ ผู้ป่วยยืนยันติดเชื้อ EV71 ที่มีอาการรุนแรง 1 ราย และผู้ป่วยเข้า ข่ายติดเชื้อ EV71 ที่มีอาการรุนแรงอีก 1 ราย ทั้งสองรายอาศัยอยู่ในหมู่บ้านใกล้เคียงกันในอำเภอทรายทองวัฒนา จังหวัดกำแพงเพชร ได้รับการวินิจฉัยเป็นสมองอักเสบ โดยไม่มีรอยโรคมือ เท้า หรือปาก ทุกรายได้รับการรักษาด้วย Intraveneous Immunoglobulin (IVIG) หลังการรักษาผู้ป่วยทุกรายหายดีไม่มีภาวะแทรกซ้อน นอกจากนี้ มีผู้สัมผัสร่วมบ้านที่ติดเชื้อ EV 71 โดยไม่แสดงอาการ อีก 1 ราย ผลการค้นหาผู้ป่วยเพิ่มเติมในชุมชนของผู้ป่วยยืนยัน พบผู้ที่มีอาการของโรคมือเท้าปาก 3 ราย Herpangina 2 ราย และอีก 19 ราย มีอาการไข้ ไอ น้ำมูก หรือท้องเสีย รวมผู้มีอาการป่วย 24 ราย สาเหตุของการระบาดครั้งนี้ ยืนยันเกิดจากเชื้อ EV71 การถ่ายทอด โรคติดต่อจากคนสู่คน ลักษณะการกระจายของโรคเป็นแบบ แพร่กระจาย ผู้ป่วยส่วนใหญ่มีผื่นหรือแผลในช่องปาก ผลการตรวจอุจจาระและเชื้อในลำคอทางห้องปฏิบัติการไม่พบเชื้อ EV71 มาตรการป้องกันควบคุมโรค ประชุมกลุ่มผู้เกี่ยวข้องให้ทราบถึงโรค วิธีการควบคุมป้องกัน และผลการเฝ้าระวังโรคต่อเนื่อง 2 สัปดาห์ หลังเฝ้าระวังไม่พบผู้ป่วยรายใหม่ชุ่มชน สรุป พบการระบาดของโรคสมองอักเสบจากเชื้อ EV71 ที่มีอาการรุนแรง 2 ราย โดยทุกรายไม่มีรอยโรคที่มือ เท้า หรือปาก ผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยและได้รับ IVG อย่างรวดเร็ว ทำให้ผู้ป่วยรอดชีวิตโดยไม่มีภาวะแทรกซ้อน จากการค้นหาผู้ป่วยในชุมชนพบเด็กป่วยด้วยกลุ่มโรคมือเท้าปากอีกจำนวนหนึ่ง ซึ่งยืนยันการระบาดในชุมชน
References
สำนักระบาดวิทยา. นิยามโรคติดเชื้อประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์; 2546.
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการปฏิบัติงาน โรค มือ เท้า ปากและโรคติดเชื้อเอนเทอโรไวรัส 71 สำหรับบุคลากรการแพทย์และสาธารณสุข. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย; 2551.
สุภาวรรณ ชั้นประดับ, ทวี โชติพิทยสุนนท์. พยาธิวิทยาโรคมือ เท้า และปาก และโรคติดเชื้อเอนเทอโรไวรัส 71: The Pathology of Enterovirus 71 Infection. รายงานการเฝ้า ระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์ 2551; 39: 115-8.
Buathong R, Hanshoaworakul W, sutdan D, lamsirithaworn S, Pongsuwanna Y, Puthawathana P , et al. Cluster of fatal cardiopulmonary failure among children caused by an emerging strain of enterovirus 71, Nakhorn Ratchasima Province, Thailand, 2006. OSIR. 2008 Aug;1(1):1-3.
พัชรินทร์ ตันติวรวิทย์, โรม บัวทอง, ไผท สิงห์คำ, วิศวะ ปานศรี พงศ์, ธนพล หวังธีระประเสริฐ, นวลปราง ประทุมศรี, Liao QH, Jiang L, Darnel JB, Tang XF, Sayavong C, รติกร กัณฑะพงศ์, พจมาน ศิริอารยาภรณ์. การสอบสวนผู้ป่วยเด็ก สมองอักเสบเสียชีวิตจากเชื้อเอนเตอโรไวรัส 71 จังหวัดลพบุรี ประเทศไทย เดือนสิงหาคม - กันยายน 2554. รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์ 2556; 44: 289-97.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2014 รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงพิมพ์กับ WESR ถือเป็นข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ใน WESR ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่ง ส่วนใดไปเผยแพร่ กรุณาอ้างอิงบทความนั้น ๆ