การสอบสวนโรคไอกรนในชุมชนบ้านโคกเม ตำบลท่าช้าง อำเภอบางกล่ำ จังหวัดสงขลา วันที่ 7 - 26 มิถุนายน 2557
คำสำคัญ:
ไอกรน, ทารก, พาหะ, สงขลาบทคัดย่อ
ทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว (SRRT) อำเภอบางกล่ำ และโรงพยาบาลปาดังเบซาร์ ได้สอบสวนโรคไอกรในชุมชนบ้านโคกเมา หมู่ที่ 7 ตำบลท่าช้าง อำเภอบางกล่ำ จังหวัดสงขลา โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อยืนยันการวินิจฉัยและการระบาดของโรค หาสาเหตุของการระบาดและการแพร่กระจายของโรค เพื่อหา แนวทางในการควบคุมและป้องกันโรค ใช้การศึกษาระบาดวิทยาเชิงพรรณนา และค้นหาผู้ป่วยเพิ่มเติมจากสมาชิกในบ้าน รวมทั้งในกลุ่มเด็กทารกในชุมชนที่มีอายุน้อยกว่า 1 ปี และสำรวจความครอบคลุมวัคซีนในบ้านโคกเมา หมู่ที่ 7 ตำบลท่าช้าง ผลการศึกษา พบว่าพบผู้ป่วยยืนยัน 1 รายเป็นเด็กทารกเพศชายอายุ 1 เดือน คลอดที่โรงพยาบาลหาดใหญ่ ในวันที่ 16 เมษายน 2557 ไม่มีภาวะแทรกซ้อนหลังคลอด ต่อมาวันที่ 2 พฤษภาคม 2557 เริ่มมีอาการป่วย วันที่ 5 พฤษภาคม 2557 มารดาพาไปรักษาที่โรงพยาบาลหาดใหญ่ แพทย์รับไว้เป็นผู้ป่วยในได้รับการวินิจฉัยเป็นปอดอักเสบ และผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการพบสารพันธุกรรมของเชื้อไอกรน Bordetella pertussis ให้การรักษาด้วยยาปฏิชีวนะAzithromycin ผลการรักษาหายเป็นปกติ และไม่มีภาวะแทรกซ้อน นอกจากนี้ พบผู้ที่เป็นพาหะในบ้านเดียวกับผู้ป่วย 2 ราย โดยเป็นยายและน้าชายของผู้ป่วย ความครอบคลุมของการได้รับวัคซีนใน หมู่ที่ 7 ตำบลท่าช้าง เท่ากับร้อยละ 92 ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการในเด็กทารก 14 ราย และผู้ที่มีอาการไอเรื้อรัง 1 ราย ที่อาศัยในชุมชน ไม่พบสารพันธุกรรมต่อเชื้อไอกรน B. pertussis ในผู้ป่วยทารกได้รับเชื้อได้รับเชื้อหลังจากคลอดแต่ไม่สามารถระบุได้ชัดเจนว่าได้รับเชื้อมาจากแหล่งใด ซึ่งอาจจะเป็นได้ 2 กรณี กรณีแรกผู้ป่วยอาจได้รับเชื้อหลังเกิดจากโรงพยาบาลหาดใหญ่ แล้วมาแพร่เชื้อให้กับยายและน้าชายผู้ป่วย หรือกรณีที่สองผู้ป่วยได้รับเชื้อจากพาหะรายที่ 1 (ยายผู้ป่วย) หรือรายที่ 2 (น้าชาย) ตั้งแต่แรกเกิด ซึ่งอาศัยอยู่บ้านเดียวกัน หลังดำเนินการควบคุมป้องกันโรค และติดตามเฝ้าระวังต่ออีก 3 สัปดาห์ ไม่พบผู้ป่วยรายใหม่ เกิดขึ้นอีก ดังนั้นในการป้องกันโรคไอกรนควรเพิ่มการติดตามเด็กที่ได้รับวัคซีนไม่ครบตามเกณฑ์ให้ได้รับวัคซีน
References
สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. นิยามโรคติดเชื้อประเทศไทย 2546. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์; 2546. หน้า 40-1.
สำนักระบาดวิทยา. มาตรฐานและแนวทางปฏิบัติงานทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว (SRRT) ฉบับปรับปรุงใหม่ 2555.
สำนักโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. โรคไอกรน. [สืบค้นวันที่ 12 มิถุนายน 2557] เข้าถึงได้จาก http://thaigcd.ddc.moph.go.th/knowledges/view/30
David L. Heymann. Control of Communicable Diseases Manual, 19thEd. Washington, DC:American Public Health Association, 2008.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2014 รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงพิมพ์กับ WESR ถือเป็นข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ใน WESR ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่ง ส่วนใดไปเผยแพร่ กรุณาอ้างอิงบทความนั้น ๆ