การระบาดของโรคหัดในผู้ต้องขังชาย เรือนจำแห่งหนึ่ง จังหวัดมหาสารคาม เดือนมีนาคม - มิถุนายน 2556

ผู้แต่ง

  • สมชายโชติ ปียวัชร์เวลา โรงพยาบาลเชียงยืน
  • วงษ์กลาง กุดวงษา สำนักงานสาธารณสุขอำเภอเชียงยืน จังหวัดมหาสารคาม
  • สุรสิทธิ์ ศรีวิรัตน์ โรงพยาบาลมหาสารคาม
  • เอมอร สุทธิสา สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม
  • ชยานนท์ สุคุณา สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม

คำสำคัญ:

การระบาด, โรคหัด, เรือนจำ, ปัจจัยเสี่ยง, ประเทศไทย

บทคัดย่อ

เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2556 งานระบาดวิทยา โรงพยาบาลมหาสารคาม พบผู้ป่วยสงสัยโรคหัด 1 ราย หลังรับรักษาต่อจากเรือนจำแห่งหนึ่ง และพบผู้ป่วยไข้ออกผื่นหลายราย สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคามร่วมกับทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว อำเภอเมืองมหาสารคาม, อำเภอเชียงยืน, สำนักงาน ป้องกันควบคุมโรคที่6 ขอนแก่น และกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ดำเนินการสอบสวนควบคุมการระบาดและติดตามเฝ้าระวังโรค ระหว่างวันที่ 30 พฤษภาคม - 21 มิถุนายน 2556 เพื่อยืนยันการวินิจฉัยการระบาดของโรค ประเมินสถานการณ์ ขนาดปัจจัยเสี่ยงของการระบาด ดำเนินมาตรการควบคุมป้องกันการระบาดที่เหมาะสม และตรวจหาแอนติบอดีต่อเชื้อหัดด้วยวิธี DBS ทำการศึกษาระบาดวิทยาเชิงพรรณนาและเชิงวิเคราะห์แบบ Matched Case-Control study สุ่มเก็บข้อมูลตัวอย่าง 100 คน (ป่วย 25 คน ไม่ป่วย 75 คน) ใช้แบบ ME2 form แบบสอบถามที่สร้างขึ้น วิเคราะห์ข้อมูลสถิติเชิงพรรณนา หาค่า Odds Ratio, 95%CI และ Multiple logistic regression analysis ผลการศึกษาพบการระบาดแบบแหล่งโรคแพร่กระจายของโรคหัดในผู้ต้องขังชาย เรือนจำแห่งหนึ่ง จังหวัดมหาสารคาม ระหว่างวันที่ 25 มีนาคม - 5 มิถุนายน 2556 ผู้ป่วย ทั้งสิ้น 25 ราย อัตราป่วย 18.1 ต่อประชากรพันคน เป็นผู้ป่วยยืนยัน3 ราย (12.0%) ผู้ป่วยเข้าข่าย 10 ราย (40.0%) ผู้ป่วยสงสัย 12 ราย (48.0% มัธยฐานอายุเท่ากับ 25 ปี (19-34 ปี) พบที่มากสุดใน กลุ่มอายุ 20-24 ปี เท่ากับ 7.9 ต่อประชากรพันคน มีอาการแทรกซ้อนไม่รุนแรง 5 ราย ไม่พบผู้เสียชีวิต ปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญ คือ การ ใช้ผ้าห่มร่วมกัน ค่า OR 28.2 (95%CI 3.63-220.01) การสัมผัสใกล้ชิดผู้ป่วย ค่า OR 5.5 (95% CI 1.75-17.28) ประวัติการเดิน ทางเข้าออกเรือนจำภายใน 2 สัปดาห์ก่อนป่วย ค่า OR 4.0 (95%CI 1.14-14.70) วิเคราะห์แบบพหุปัจจัยพบเพียงการใช้ผ้าห่มร่วมกัน ORAd 24.8 (95%CI 2.79-219.83) การตรวจ DBS ให้ค่าความไว ความจำเพาะ และค่าทำนายผลบวก เท่ากับร้อยละ 100 ค่าความสอดคล้อง 96 % การระบาดของโรคหัด genotype D8 จากชุมชนภายนอกเข้ามา ผู้ต้องขังไม่มีภูมิคุ้มกันโรคมาก่อน ประวัติการรับวัคซีนที่ไม่ชัดเจน การควบคุมและเฝ้าระวังโรคอย่างต่อเนื่อง การให้สุขศึกษาที่เน้นให้ความรู้ในการป้องกันการติดเชื้อ การแยกผู้ป่วย การฉีดวัคซีน MMR แก่ผู้ต้องขังและเจ้าหน้าที่ในเรือนจำร้อยละ 100 รวมทั้งการคัดกรองและรายงานโรคต่อทีม SRRT ทันที ทำให้การระบาดของโรคหัดในเรือนจำแห่งนี้สงบลง การป้องกันโรคครั้งต่อไป เรือนจำต้องเพิ่มผ้าห่มในผู้ต้องขัง มีระบบรายงานที่มีการคัดกรองผู้ต้องขังแรกรับทุกราย และไม่มีการส่งตัวผู้ต้องขังขณะที่ยังป่วย

References

ปิยนิตย์ ธรรมาภรณ์พิลาศ. โครงการกำจัดโรคหัดในประเทศไทย ตามพันธะสัญญานานาชาติ. ใน: ปิยนิตย์ ธรรมาภรณ์พิลาศ, พรทิพย์ จอมพุก, เลิศฤทธิ์ ลีลาธร, บรรณาธิการ. แนวทางการเฝ้าระวังควบคุมโรค การตรวจรักษาและส่งตัวอย่างทางห้องปฏิบัติการเพื่อการกำจัดโรคหัดตามโครงการกำจัดโรคหัดตามพันธะสัญญานานาชาติ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย; 2555. หน้า 1-6.

เอมอร ราษฎร์จำเริญสุข. แนวทางป้องกันและควบคุมโรคหัด. ใน: พรศักดิ์ อยู่เจริญ, บรรณาธิการ. การสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคสำหรับเจ้าหน้าที่สาธารณสุข 2547. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์องค์การ สงเคราะห์ทหารผ่านศึก; 2547. หน้า 69-9.

งานระบาดวิทยา สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม. อัตราป่วย และอัตราตาย โรคในระบบเฝ้าระวัง จำแนกรายปี จังหวัดมหาสารคาม พ.ศ.2551-2555 [เอกสารอัดสำเนา]. มหาสารคาม: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด; 2556.

สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. รายงานโรค ในระบบเฝ้าระวัง 506 [ออนไลน์]. 2556 [เข้าถึงเมื่อ 31 กรกฎาคม 2556]. เข้าถึงได้จาก http://www.boe.moph.go.th/boedb/surdata/506wk/y56/d21 3256.pdf

กองระบาดวิทยา สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือการดำเนินงานทางระบาดวิทยา. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์; 2542.

เอกชัย ยอดขาว, อรรถเกียรติ กาญจนพิบูลย์วงศ์, นิภา รุ่งประทีป พิบูล, ฐิติมา เปลี่ยนเจริญ, ต่อศักดิ์ เกษนาค, ประสพชัย อร่ามรุ่งโรจน์ และคณะ. การสอบสวนและควบคุมการระบาดของโรคหัดในเรือนจำแห่งหนึ่ง จังหวัดสมุทรปราการ เดือนมกราคม - มีนาคม 2554. รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์ 2555;43:97-104.

สุรสิทธิ์ ศรีวิรัตน์, ณัฐจิรา อัปปะมะโน. รายงานการสอบสวนโรค เฉพาะรายผู้ป่วยโรคหัด ในโครงการกำจัดโรคหัดโรงพยาบาลมหาสารคาม มิถุนายน 2554 [เอกสารอัดสำเนา]. มหาสารคาม: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด; 2554.

Helfand F, Keyserling HL, Williams I, et al. Comparative detection of measles and rubella IgM and IgG derived from filter paper blood and serum samples. Journal of Medical Virology 2001;65:751-7.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-07-13

ฉบับ

บท

บทความต้นฉบับ