การสอบสวมผู้ป้ายมาลหรียเสียชีวิตในพื้นที่ที่ไม่มีใช้มางหรืยเป็นโรกประจำถิ่น ตำบลดอนทราย อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี กันยายน พ.ศ. 2549
บทคัดย่อ
เมื่อวันที่ 17 กันยายน 2549 เวลา 14.00 น. งานระบาดวิทยา กลุ่มงานเวชกรรมสังคม โรงพยาบาลโพธาราม ได้รับแจ้งจากหอผู้ป่วยอาธุรกรรมชายว่า พบผู้ป่วยไข้มาลาเรือเสียชีวิต 1 ราย ซึ่งอำเภอโพธารามนี้ไม่เป็นที่เสี่ยงต่อโรคประจำถิ่นของไข้มาลาเรีย ทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว(SRRT) อำเภอโพราราม จึงได้ออกสอบสวนโรค ในวันที่ 15 กันยายน 2549 (เวลา 09.00 น. เพื่อยืนอันการวินิจฉัยโรค ค้นหาแมลงนำโรค แหล่งรังโรค และวิธีถ่ายทอดโรค รวมทั้งหาแนวทางในศารควยคุมและป้องกันโรคต่อไป
ศึกษาระบาดวิทยนชิงพรรณนาโดยการสอบสวนผู้ป่วยเฉพาะราย เริ่มจากการยืนยันการวินิจฉัยโรค โดยทบทวนแฟ้มประวัติผู้ป่วย สัมภาษณ์ญาติเกี่ยวกับประวัติการเจ็บป่วยในครั้งนี้ รวมทั้งสถานที่ที่มีการเดินทางภายใน 60 วัน ค้นหาผู้ป่วยเติมในพื้นที่เกิดโรคหมู่ 3 ตำบลดอนทราย อำเภอโพธาราราม จังหวัดราชบุรี ระหว่างวันที่ 9 กรกฎาคม-18 กันยายน 2549 ศึกษาสภาพบาดล้อม เพื่อหาเหล่งแพร่โรค สำรวจแมลงนำโรคในบ้านและละแวกบ้านของผู้ป่วย เฝ้าระผู้อาศัยร่วมบ้านและชมชุนชน ภายใน 60 วัน หลังจากผู้ป่วยเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล
ผลการสอบสวนผู้ป่วยชายไทย อายุ 74 ปี มีอาการไข้ ไอ มีเสมหะ หายใจเหนื่อย หนาวสั่น เมื่อวันที่ 9 กันยายน 2549 เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลโพรารามในวันที่ 12 กันยายน 2549 วินิจฉัยครั้งแรกไข้เลือดออก ต่อมาตรวจพบเชื้อ Plasmodium falciparum ring form เปลี่ยนการวินิจฉัยปืนใช้มาลาเรียเข้ารับการรักษาเป็นระยะเวลา 5 วัน และเสียชีวิตในวันที่ 17 กันยายน 2549 ด้วยไข้มาลาเรียรุนแรง ร่วมกับไตวายเฉียบพลัน ทีม SRRT อำเภอโพธารามร่วมกับทีม SRRT จังหวัดราชบุรี และศูนย์ควบคุมโรคติดต่อน้ำโดยแมลงที่ 4.4 จังหวัดราชบุรี ออกสอบสวนและสุ่มตรวจเลือดหาเชื้อไข้มาสาเรียชาวบ้านที่อยู่ในพื้นที่นั่น จำนวนวน 66 ราย วันที่ 9 - 10 ตุลาคม 2519 ผลการตรวจเลือดไม่พบเชื้อ ไม่พบผู้ป่วยรายอื่นอีก และพบยุงกันปล่องที่ไม่ได้เป็นตัวนำไข้มาลาเรีย โดยผ่ายุงหาเชื้อมาลาเรีย ผลไม่พบเชื้อ สอบถามญาติผู้ป่วยพบว่า ผู้ป่วยไม่ได้เดินทางไปในพื้นที่เสี่องในการเกิดโรคมาลาเรียและไม่เคยรับโลหิตใด ๆ แต่มีรถบรรทุกหกล้อเดินทางเข้าไปในพื้นที่ที่มีไข้มาลารียเป็นโรคประจำถิ่น เพื่อบรรทุกต้นทอมมาส่งให้ชาวบ้านในพื้นที่เกิดโรคเพื่อคัดเลือกต้นหอมส่งขาย ซึ่งคาดว่ายุงก้นปล่องน่าจะติดมากับรถบรรทุกดังกล่าวได้
ผู้ป่วยรายนี้เป็นไข้มาลาเรีย พบเชื้อ Plasmodium falciparum ไม่พบผู้ป่วยเพิ่มเติม และไม่พบยุงกันปล่องที่เป็นแมลงนำโรค มีความเป็นไปได้เพียงประเด็นเดียว คือ ยุงก้นปล่องที่มีเชื้ออาจจะติดมากับรถบรรทุกต้นหอมที่มาส่ง
References
กระทรวงสาธารณสุข. นิยามโรคติดเชื้อประเทศไทย พิมพ์ครั้งที่ 2. โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุ (ร.ส.พ.) กรุงเทพ: 2546.
กรมควบคุมโรคกับมูลนิธิสุชาติ เจตนเสน. รายงานทางวิชาการและแผนที่การศึกษาวิจัย กรมควบคุมโรค ปี พ.ศ 2548 - 2550 3 กลุ่มโรคติดต่อนำโดยแมลง. กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข, 2548.
กองระบาดวิทยา กระทรวงสาธารณสุข. โรคติดต่อที่เป็นปัญหาใหม่ แนวทางการเฝ้าระวังและสอบสวนโรคติดต่อที่เป็นปัญหาใหม่. กองระบาดวิทยา สำนักปลัดกระทรวงสาธารณสุข, 2541.
นายแพทธ์สุรเกียรติ อาชานานุภาพ. ตำราการตรวจรักษาโรคทั่วไป. พิมพ์ครั้งที่ 2. พิมพ์ดี; กรุงเทพ:2538.
นายแพทย์สมทัศน์ มะลิกุล มาลาเรียวิทยา 2542 เนื่องในโอกาสครบรอบ 50 ปี ของการควบคุมไข้มาลาเรียในประเทศ ไทย (พ.ศ.2492-2542). กองมาลาเรียกรมควบคุมโรคติดต่อ. กรุงเทพ: โรงพิมพ์ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย. 2543
นิภา จรูญเวสม์ และคณะ. โรคเขตร้อน. พิมพ์ครั้งที่ 2 กรุงเทพ: เรือนแก้วการพิมพ์. 2534
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2007 รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงพิมพ์กับ WESR ถือเป็นข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ใน WESR ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่ง ส่วนใดไปเผยแพร่ กรุณาอ้างอิงบทความนั้น ๆ