การศึกษาระบาดวิทยาโรคไข้เลือดออกในประเทศไทย การพยากรณ์ และแนวทางป้องกัน ควบคุมโรค
บทคัดย่อ
โรคไข้เลือดออกระบาดครั้งแรกในประเทศไทย ปี พ.ศ. 2501 ในเขตกรุงเทพ - ธนบุรี อัตราป่วย 10.6 / 100,000 ประชากร ตั้งแต่นั้นมาโรคได้แพร่ระบาดไปทั่วประเทศ และทุก ๆ ปี ในปี พ.ศ. 2530 อัตราป่วยสูงสุด 325 / 100,000 ประชากร ปัจจุบันโรคไข้เลือดออกเป็นโรคประจำถิ่นของประเทศไทย และเป็นปัญหาสาธารณสุขอันดับต้น ๆ การระบาดเป็นระยะเวลายาวนาน อาจทำให้ระบาดวิทยาของโรคไข้เลือดออกมีการเปลี่ยนแปลงการศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาโรคไข้เลือดออกที่อาจมีการเปลี่ยนแปลงไป ทำให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ ๆ อันจะนำไปสู่การพยากรณ์การระบาด และใช้วางแผนป้องกันควบคุมโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ วิธีการศึกษาโดยการรวบรวมข้อมูลการเฝ้าระวังของสำนัก (กอง) ระบาดวิทยา ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2501 - 2549 แล้วนำมาเรียบเรียง วิเคราะห์ และแปลผล
ผลการศึกษาพบว่า การระบาดรุนแรงในปี พ.ศ. 2501-2510 ลักษณะการระบาดเป็นแบบปีเว้นปี ระหว่างปี พ.ศ. 2511 -2520 เป็นแบบปีเว้นสองปี ระหว่างปี พ.ศ. 2521 - 2530 เป็นแบบปีเว้นสองปี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2531 - 2549 มีลักษณะไม่แน่นอน บางช่วงเป็นแบบปีเว้นปี และสองปีเว้นสองปี สัดส่วนโรคไข้เดงกี (DF) เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 10.18 ในปี พ.ศ. 2539 - 2540 เป็นร้อยละ 34.0 ในปี พ.ศ. 2549 สัดส่วนผู้ป่วย DHF มีแนวโน้มลดลง แต่ DSS คงที่ จำนวนและอัตราป่วยเพศชายสูงกว่าเพศหญิงเล็กน้อย กลุ่มอายุ 10 - 14 ปี อัตราป่วยสูงสุด และกลุ่มอายุต่ำกว่า 15 ปี สูงกว่ากลุ่มอายุสูงกว่า 15 ปี ระหว่างปี พ.ศ. 2530 - 2539 อัตราป่วยของภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือสูงกว่าภาคกลาง และภาคใต้ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2540 - 2549 ภาคกลางและภาคใต้สูงกว่า แต่ปีที่มีการระบาดรุนแรง ภาคใต้มีอัตราป่วยสูงสุด
ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2542 - 2549 ในเขตเทศบาล อัตราป่วยสูงกว่านอกเขตเทศบาล โรงพยาบาลของรัฐ โรงพยาบาลชุมชน และคลินิกเอกชนในกรุงเทพมหานคร รับรักษาผู้ป่วย (รายงานผู้ป่วย) เพิ่มขึ้นในขณะที่โรงพยาบาลชุมชนมีแนวโน้มลดลง การระบาดของโรคไข้เลือดออกยังคงเป็นไปตามฤดูกาล แต่บางจังหวัดอาจมีการระบาดในช่วงปลายปี และระบาดคร่อมปีแต่ไม่มากนัก
References
World Health Organization (1996), The world health report 1996: fighting disease - fostering development. Geneva: WHO; 1996. 137 pp.
Gubler, D. J., and Kuno, G., Eds., 1997: Dengue and dengue hemorrhagic fever. CAB International. 496 pp.
http://www.cdc.gov/neidod/dvbid/dengue
Gratz, N. G. (1991): Emergency control of Aedes aegypti as a disease vertor in urban areas. Journal of the American Mosquito Control Association, 7: 353 - 65.
Gubler, D. J. (1997): Chapt. 1. Dengue and dengue hemorrhagic fever: its history and resurgence as a global public health problem. In: Gubler, D. J., and Kuno, G., Eds. 1997: Dengue and dengue hemorrhagic fever. CAB International.
สุชาติ เจตนเสน, องอาจ เจริญสุข และชูวิทย์ ลิขิตยิ่งวรา (2545): ความรู้และทักษะที่จำเป็นต่อการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก. ใน รวมบทบรรยายการประชุมเชิงปฏิบัติการ เสนาธิการเพื่อการควบคุมโรค (ไข้เลือดออก), 21 - 23 มกราคม 2545 ณ โรงแรมพาวิลเลียนริมแคว รีสอร์ท จังหวัดกาญจนบุรี กองระบาดวิทยา สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข, หน้า 24 - 39.
ธวัช จายนียโยธิน: การใช้ระบาดวิทยาสำหรับนักบริหารในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในประเทศไทย. เอกสารประกอบคำบรรยาย.
องอาจ เจริญสุข (2545): ระบาดวิทยาของโรคไข้เลือดออกในประเทศไทย. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: กองระบาดวิทยา.
กองระบาดวิทยา สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข. รายงานประจำปี 2520-2548.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2007 รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงพิมพ์กับ WESR ถือเป็นข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ใน WESR ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่ง ส่วนใดไปเผยแพร่ กรุณาอ้างอิงบทความนั้น ๆ