การประเมินคุณภาพการรายงานข้อมูลโรคที่ต้องเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา ในช่วงการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

ผู้แต่ง

  • ศศิธันว์ มาแอเคียน กองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
  • บริมาศ ศักดิ์ศิริสัมพันธ์ กองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
  • ศุภณัฐ วงศานุพัทธ์ กองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข

DOI:

https://doi.org/10.59096/wesr.v55i9.3163

คำสำคัญ:

โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019, วัคซีนป้องกันโรคโควิด 19, รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา, รง.506, คุณภาพการรายงาน

บทคัดย่อ

บทนำ : รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์ (WESR) เป็นรายงานวิชาการที่จัดทำโดยกองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค ซึ่งมีการสรุปรายงานเฝ้าระวังโรคทางระบาดวิทยาที่ประมวลผลทุกสัปดาห์ วัตถุประสงค์ของการศึกษานี้เพื่อประเมินความล่าช้าของการรายงานข้อมูลโรคที่ต้องเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาที่สำคัญจากข้อมูลจำนวนผู้ป่วยที่ตีพิมพ์เผยแพร่ในรายงาน WESR ช่วงการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด 19) ในประเทศไทย

วิธีการศึกษา : เป็นการศึกษาภาคตัดขวาง โดยใช้ข้อมูลทุติยภูมิจากฐานข้อมูลรายงานโรคที่ต้องเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา (รง.506) ระหว่างปี พ.ศ. 2561–2565 ประกอบด้วยโรคที่ตีพิมพ์เผยแพร่ในรายงานการเฝ้าระวังโรคประจำสัปดาห์ (WESR) จำนวน 10 โรค โดยทำการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยความแตกต่างของจำนวนที่รับรักษาในสัปดาห์นั้น ๆ และส่งเข้าสู่ฐานข้อมูลในสัปดาห์นั้น ๆ กับจำนวนผู้ป่วยที่ถูกรายงานในสัปดาห์นั้น ๆ แต่ส่งข้อมูลเข้าสู่ฐานข้อมูลในสัปดาห์ถัด ๆ ไป ที่ 1, 2, 3, 4, 8, 12, และ 24 สัปดาห์ จำแนกรายโรค จำแนกช่วงก่อนการระบาดของโรคโควิด 19 (พ.ศ. 2561–2562) และช่วงระหว่างการระบาดของโรคโควิด 19 (พ.ศ. 2563–2565)

ผลการศึกษา : ช่วงก่อนการระบาดฯ มีรายงานเฉลี่ย 747,619 รายต่อปี ซึ่งมีรายงานมากกว่าช่วงระหว่างการระบาดฯ เฉลี่ย 366,600 รายต่อปี โดยลดลงร้อยละ 51.0 จำนวนการรายงานผู้ป่วยในช่วงก่อนการระบาดของโรคโควิด 19 มีจำนวนมากกว่าช่วงระหว่างการระบาดของโรคโควิด 19 ในทุกโรค โดยเฉพาะโรคติดต่อทางการหายใจ การเปรียบเทียบความแตกต่างของจำนวนรายงานที่จัดทำ ณ สัปดาห์นั้น กับรายงานที่เพิ่มเข้ามาใน 1, 2, 3, 4, 8, 28 สัปดาห์ถัดไป มีค่าเฉลี่ยความแตกต่างที่เพิ่มขึ้นในทุกสัปดาห์ เมื่อเวลาผ่านไป  1 สัปดาห์ และ 24 สัปดาห์ มีการรายงานผู้ป่วยเพิ่มขึ้นร้อยละ 266.91 และร้อยละ 478.66 ตามลำดับ สูงกว่าเมื่อเทียบกับช่วงระหว่างการระบาดของโรคโควิด 19 ที่มีการรายงานผู้ป่วยเพิ่มขึ้น ร้อยละ 93.04 และร้อยละ 236.94 ตามลำดับ

สรุปผลการศึกษา : จำนวนรายงานผู้ป่วยช่วงก่อนการระบาดของโรคโควิด 19 สูงกว่าช่วงระหว่างการระบาดของโรคโควิด 19 อาจเนื่องมาจากมาตรการป้องกันและควบคุมโรคโควิด 19 ที่ส่งผลต่อโรคติดต่อทางเดินหายใจ นอกจากนี้ ในช่วงระหว่างการระบาดของโรคโควิด 19 การรายงานย้อนหลังในช่วงก่อนการระบาดของโรคโควิด 19 มีจำนวนสูงกว่าช่วงระหว่างการระบาดของโรคโควิด 19 อาจเนื่องมาจากปริมาณงานของเจ้าหน้าที่เฝ้าระวังในช่วงการระบาดของโรคโควิด 19 ทั้งนี้ควรมีการประเมินระบบเฝ้าระวังทางระบาด-วิทยาเพื่อทราบสาเหตุของความล่าช้าและนำข้อมูลจากระบบเฝ้าระวังทางระบาดวิทยารูปแบบดิจิทัลมาใช้ตีพิมพ์

References

Department of Disease Control (TH), Division of Epidemiology. Weekly Epidemiological Surveillance Report (WESR). 2023 [cited 2024 FEB 14]. Available from: https://he05.tci-thaijo.org/index.php/WESR (in Thai)

Department of Disease Control (TH), Bureau of Epidemiology. Weekly Epidemiological Surveillance Report (WESR). 2021 [cited 2024 FEB 14]. Available from: http://www.ppho.go.th/webppho/dl_strat/F20171229090409.โรม (in Thai)

Department of Disease Control (TH), Bureau of Epidemiology. Reporting of priority diseases guideline, Thailand. Nonthaburi: Bureau of Epidemiology; 2012.

World Health Organization. Pneumonia of unknown cause–China [Internet]. 2020 [cited 2023 MAY 5]. Available from: https://www.who.int/csr/don/05-january-2020-pneumonia-of-unkown-cause-china/en/

Namwat C, Suphanchaimat R, Nittayasoot N, Iamsirithaworn S. Thailand’s response against Coronavirus disease 2019: challenges and lessons learned. OSIR. 2020;13(1):33–7.

BBC News Thai. COVID-19: Chronology of events, map, infographic, total number of infections and deaths in Thailand and around the world [Internet]. 2019 [cited 2024 FEB 14]. Available from: https://www.bbc.com/thai/thailand-52090088 (in Thai)

Ministry of Public Health (TH), Department of Disease Control. The situation of COVID-19 infected in the country. 2022 [cited 2024 FEB 24]. Available from: https://ddc.moph.go.th/covid19-dashboard/?dashboard=main (in Thai)

Digital Government Development Agency. Daily COVID-19 report, information for Thailand. 2020 [cited 2024 FEB 14]. Available from: https://data.go.th/dataset/COVID-19-daily (in Thai)

Ministry of Public Health (TH), Department of Disease Control. Emergency response operations document [Internet]. 2017 [cited 2023 JUN 13]. Available from: https://eventbased-doe.moph.go.th/ihr/wp-content/uploads/2017/06/13.-Emergency-Response-Operations.pdf (in Thai)

Asian-Pacific Parliamentarians’ Union Division, Bureau of Inter-Parliamentary Organizations, The Secretariat of the House of Representatives. Summary of measures and operations to deal with the spread of coronavirus disease 2019 in Thailand, Issue 5, between May–June 2021 [Internet]. [cited 2024 JUN 24]. Available from: https://www.parliament.go.th/ewtadmin/ewt/parliament_parcy/ewt_dl_link.php?nid=79830&filename=index

Leerapan B, Na Ranong V, Jitsuchon S. Disease control measures and economic and social impact relief measures to deal with the COVID-19 outbreak: Third wave of Thailand [Internet]. 2021 [cited 2024 JUN 24]. Available from: https://tdri.or.th/2021/05/covid-19-policy-dealing-third-wave/ (in Thai)

Tangchroensathien V, Patcharanarumon W, Vongmongkol V, Kaewkhankhaeng W. Synthesis of the government policies and measures to mitigate COVID-19 spreading based on the compliance of Thai people to those policies and measures [Internet]. [cited 2024 JUN 24]. Available from: https://kb.hsri.or.th/dspace/handle/11228/5273 (in Thai)

Roek Chai E. Implementation of the coronavirus disease 2019 prevention policy (COVID-19): A case study of Lam Sai Sub-District Administration Organization, Wangnoi District, Phra Nakhon Si Ayutthaya [Internet]. 2020 [cited 2023 JUN 13]. Available from: http://www3.ru.ac.th/mpa-abstract/files/2563_1614224045_6214830067.pdf (in Thai)

Ministry of Public Health (TH). Health Data Center Dashboard Version 1.10.4 report on standards for public health service use. [cited 2024 JUN 24]. Available from: https://hdcservice.moph.go.th/hdc/reports/page.php?cat_id=9d8c311d6336373d40437c4423508cad (in Thai)

Sadangharn P. Work from home adaptation of employees in the Eastern Economic Corridor during the COVID-19 crisis. Burapha J Bus Manag. 2020; 9(2): 14–33.

Mahidol University. Mahidol University announcement regarding guidelines for organizing teaching and learning work performed at the worker's home to enhance prevention and control of coronavirus disease 2019 (COVID-19). Dated 30 April 2021. Office of the President, Mahidol University; 2021.

Jitpeera C, Maeakhian S, Wongsanuphat S. Impact of COVID-19 pandemic on influenza cases in Thailand, 2020–2022: An interrupted time–series analysis. WESR. 2023; 54: 455–67. (in Thai)

Department of Disease Control (TH), Division of Epidemiology. Case definition for communicable diseases surveillance, Thailand. 2020 [cited 2024 JUN 15]. Available from: http://klb.ddc.moph.go.th/dataentry/handbook/form/113 (in Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-09-23

How to Cite

มาแอเคียน ศ., ศักดิ์ศิริสัมพันธ์ บ., & วงศานุพัทธ์ ศ. (2024). การประเมินคุณภาพการรายงานข้อมูลโรคที่ต้องเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา ในช่วงการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019. รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์, 55(9), 1–12. https://doi.org/10.59096/wesr.v55i9.3163

ฉบับ

บท

บทความต้นฉบับ